Page 81 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 81
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-71
หมวดที่ 3 ความสามารถและบูรณภาพทางวิชาชีพ (Professional and lntegrity) ผู้ให้การ
ปรึกษาครอบครัวและคู่สมรสจะต้องดำ�รงไว้ซึ่งมาตรฐานระดับสูงของความสามารถและบูรณภาพทางวิชาชีพ
หมวดที่ 4 ความรับผิดชอบต่อนักเรียน ลูกจ้าง และผู้ที่อยู่ในความดูแล (Responsibility to
Students, Employees and Supervisees) ผู้ให้การปรึกษาครอบครัวและคู่สมรสจะต้องไม่ทำ�ลายความ
ไว้วางใจ และความเป็นที่พึ่งของนักเรียน ลูกจ้าง และผู้ที่อยู่ในความดูแล
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนร่วมในงานวิจัย (Responsibility ot Research
Participants) ผู้ทำ�การวิจัยต้องเคารพในเกียรติและปกป้องความผาสุก ปลอดภัยของผู้มีส่วนร่วมในงาน
วิจัย และตระหนักถึงกฎหมายของประเทศและของรัฐ กฎเกณฑ์ต่างๆ ตลอดจนมาตรฐานวิชาชีพที่ควบคุม
การปฏิบัติงานวิจัย
หมวดที่ 6 ความรับผิดชอบต่ออาชีพ (Responsibility ot the Profession) ผู้ให้การปรึกษา
ครอบครัวและคู่สมรสต้องเคารพในสิทธิและความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ และร่วมในกิจกรรมซึ่ง
สร้างความก้าวหน้าให้กับเป้าหมายของวิชาชีพ
หมวดที่ 7 การจัดการเรื่องการเงิน (Financial Arrangement) ผู้ให้การปรึกษาครอบครัว
และคู่สมรสต้องตกลงเรื่องการเงินกับผู้รับการปรึกษา บุคคลที่สามที่ทำ�หน้าที่เป็นผู้จ่ายเงินและผู้ที่อยู่ใน
ความดูแลด้วยความเข้าใจอย่างชัดเจน และยินยอมที่จะรับการให้บริการทางวิชาชีพ
หมวดที่ 8 การโฆษณา (Advertising) ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาครอบครวั และคูส่ มรสจะตอ้ งเกีย่ วขอ้ ง
กับกิจกรรมการให้ข่าวสารข้อมูลอย่างเหมาะสม รวมทั้งการให้บุคคลทั่วไปสามารถเลือกใช้บริการวิชาชีพจาก
ข้อมูลที่ถูกต้อง
3. จรรยาวิชาชีพของผู้ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา ในการให้การปรึกษานั้น ในบางครั้งผู้ให้การ
ปรึกษาจำ�เป็นต้องใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาในการช่วยเหลือผู้มารับการปรึกษา ซึ่งเป็นงานใช้แบบทดสอบ
อกี งานหนึง่ ของผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาทีจ่ ำ�เปน็ ตอ้ งมจี รรยาวชิ าชพี เปน็ แนวปฏบิ ตั ิ ซึง่ สมาคมจติ วทิ ยาอเมรกิ นั ไดว้ าง
กฎเกณฑ์ในการใช้แบบทดสอบไว้ดังนี้ (สมพร สุทัศนีย์ 2544: 192-194)
1) การให้บริการแบบทดสอบทางจิตวิทยาแก่ผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นการให้ยืมหรือจำ�หน่ายจะต้อง
คำ�นึงว่าบุคคลนั้นมีความสามารถในการด�ำ เนินการทดสอบ ตรวจให้คะแนน แปลความหมายหรือนำ�ผลการ
ทดสอบไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบ
ทดสอบรายบุคคล และการทดสอบเป็นกลุ่ม ซึ่งต้องใช้บุคคลที่มีความสามารถเฉพาะด้าน
2) การแปลความหมายของคะแนน ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะด้าน
นอกจากนี้ผู้ที่มีความสามารถในการแปลความหมายของคะแนน ควรมีความรู้ด้านการแนะแนวด้วย เพื่อว่า
จะได้ช่วยชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหา เมื่อผู้รับการทดสอบเกิดความไม่สบายใจ หรือสามารถพูดให้ผู้รับ
การทดสอบเกิดทางเลือกจากผลการทดสอบได้
3) การทดสอบบุคลิกภาพบางอย่าง ต้องการถามข้อมูลที่ผู้ตอบไม่อาจจะตอบตรงๆ ได้
ผู้ทำ�การทดสอบ ควรระบุเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า จะนำ�ข้อมูลไปใช้ในเรื่องใดอย่างไร ผลจากการตอบจะ
ไม่กระทบกระเทือนต่อสวัสดิภาพของผู้ตอบ บางครั้งอาจจำ�เป็นต้องถามคำ�ถามที่อ้อมค้อม เช่น ต้องการ