Page 77 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 77

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-67

       3. 	ผู้รับการปรึกษาที่ผ่านการรับการปรึกษาจากผู้อื่น
       	 ผู้ให้การปรึกษาที่กำ�ลังให้บริการกับผู้รับการปรึกษา เมื่อทราบว่าผู้รับการปรึกษาเคยผ่านการ
ปรึกษาจากผู้อื่น ด้วยความยินยอมจากผู้รับการปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาต้องแจ้งให้ผู้นั้นทราบ เพื่อเกิดความ
เข้าใจและตกลงร่วมกันที่จะไม่สร้างความสับสนและความขัดแย้งกับผู้รับการปรึกษา
       4. 	ความต้องการและค่านิยมส่วนบุคคล

            4.1 ความต้องการส่วนบุคคล: ในสัมพันธภาพของการปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาพึงตระหนัก
ถึงความใกล้ชิดสนิทสนมและความรับผิดชอบในการรักษา โดยเคารพผู้รับการปรึกษาและหลีกเลี่ยงการมี
พฤติกรรมที่ตอบสนองความต้องการส่วนตน

            4.2 ค่านิยมส่วนบุคคล: ผู้ให้การปรึกษาพึงตระหนักรู้ถึงค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อ และ
พฤตกิ รรมของตนตอ่ สงั คมทีม่ คี วามหลากหลาย และหลกี เลีย่ งการยดั เยยี ดคา่ นยิ มเหลา่ นีแ้ กผ่ ูร้ บั การปรกึ ษา

       5. 	สัมพันธภาพสองสถานะ
            5.1 	หลกี เลีย่ งถา้ เปน็ ไปได:้ ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาพงึ ตระหนกั ถงึ อทิ ธพิ ลทีม่ ตี อ่ ผูร้ บั การปรกึ ษาหลกี

เลี่ยงการใช้ประโยชน์จากความไว้วางใจและพึ่งพิงของผู้รับการปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาพึงกระทำ�อย่างเต็ม
ที่เพื่อหลีกเลี่ยงสัมพันธภาพ 2 สถานะกับผู้รับการปรึกษาเพราะอาจส่งผลต่อการตัดสินใจทางวิชาชีพ หรือ
มีความเสี่ยงที่จะทำ�ให้ผู้รับการปรึกษาเสียหาย สัมพันธภาพอื่นที่นอกจากให้การปรึกษา เช่น สัมพันธภาพ
ทางสังคม ในฐานะเป็นครอบครัว ในเชิงการเงิน ธุรกิจ หรือความใกล้ชิดส่วนตัว ในกรณีที่สัมพันธภาพ 2
สถานะไมอ่ าจหลกี เลี่ยงได้ ผู้ให้การปรกึ ษาพงึ เพิม่ ความระมัดระวงั ต่อการใหก้ ารปรึกษาโดยการปรกึ ษาหารอื
หรือขอคำ�แนะนำ�ผู้อื่น โดยมีหลักฐานการให้การปรึกษา หรือมีผู้ปกครองแสดงความยินยอม ทั้งนี้เพื่อความ
มั่นใจถึงการปฏิบัติหน้าที่ ว่าการหาประโยชน์จากผู้รับการปรึกษาจะไม่เกิดขึ้น

            5.2 	สมั พนั ธภาพในฐานะหวั หนา้ หรอื ลกู นอ้ ง: ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาตอ้ งไมร่ บั ผูร้ บั การปรกึ ษาทีเ่ ปน็
หัวหน้าหรือลูกน้องของตน หรือไม่รับผู้ที่ตนต้องประเมินสัมพันธภาพ

       6. 	ความสนิทสนมทางเพศกับผู้รับการปรึกษา
            6.1 	ผูร้ บั การปรกึ ษาปจั จบุ นั : ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาพงึ หลกี เลีย่ งการมคี วามสมั พนั ธท์ างเพศกบั ผูร้ บั

การปรึกษาทุกรูปแบบ และไม่ให้การปรึกษากับผู้ที่ตนมีความสัมพันธ์ทางเพศด้วย
            6.2 	อดีตผู้รับการปรึกษา: ผู้ให้การปรึกษาพึงหลีกเลี่ยงการมีความสนิทสนมทางเพศกับ

อดีตผู้รับการปรึกษาที่ยุติการให้การปรึกษาไปแล้วน้อยกว่า 2 ปี กรณียุติการปรึกษามากกว่า 2 ปี หากทั้งคู่
มีสัมพันธภาพทางเพศ ผู้ให้การปรึกษาพึงความรับผิดชอบที่จะตรวจสอบว่า สัมพันธภาพนั้นมีพื้นฐานจาก
ความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้เป็นผลจากการเอาเปรียบหรือปัจจัยอื่นๆ เช่น ช่วงเวลาของการปรึกษา สถานการณ์
เอื้ออำ�นวย สภาวะจิตใจของผู้รับการปรึกษา หรือประวัติส่วนตัว นั่นคือสัมพันธภาพต้องไม่ส่งผลลบกับ
ผู้รับการปรึกษา และไม่เป็นสัมพันธภาพที่เกิดจากการวางแผนของผู้ให้การปรึกษาที่เจตนาจะทำ�ขึ้นหลังยุติ
การปรึกษา
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82