Page 82 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 82

1-72 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

ทราบว่า บิดามารดาเอาใจใส่บุตรมากน้อยแค่ไหนก็อาจใช้คำ�ถามว่า “บุตรคุณอายุเท่าไหร่” “บุตรคนที่เรียน
ชั้นมัธยมศึกษามีเพื่อนมากน้อยเท่าใด” “คุณมักจะให้บุตรพูดคุยกับเสมอ” เป็นต้น ถ้าหากถามคำ�ถาม
อย่างอ้อมค้อมไม่ได้ก็ใช้คำ�ถามตรง โดยยํ้าจุดมุ่งหมายของการทดสอบให้ผู้รับการทดสอบเกิดความมั่นคง
ปลอดภัยในการตอบ

            4) 	ควรให้ความมั่นใจแก่ผู้รับการทดสอบว่าจะรักษาข้อมูลเป็นความลับและจะนำ�ไปใช้
ประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

            5) 	ก่อนจะแจกแบบทดสอบให้แก่ผู้รับการทดสอบคนใด ควรได้ตรวจสอบดูความเรียบร้อย
เพื่อให้แน่ใจว่าแบบทดสอบอยู่ในสภาพสมบูรณ์และอยู่ในสภาพเรียบร้อย

            6) 	ไม่ควรนำ�แบบทดสอบบางลักษณะที่สมบูรณ์ตีพิมพ์ในหนังสือ เอกสาร หรือหนังสือพิมพ์
เพราะจะทำ�ให้แบบทดสอบนั้นแพร่หลายจนเป็นที่คุ้นเคยแก่คนทั่วไป ทำ�ให้เกิดผลต่อการวัดลักษณะบาง
อย่าง เช่น แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา หรือไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับการทดสอบยืมไปทดสอบเพื่อประเมินตนเอง
ซึ่งทำ�ให้เกิดความผิดพลาดและทำ�ให้แบบทดสอบไม่เป็นความลับอีกต่อไป

       4. 	ประเด็นสำ�คัญทางจรรยาวิชาชีพในวิชาชีพแนะแนวบางประเด็นที่มีผลกระทบต่อวิชาชีพ
            4.1 	การรักษาความลับ เป็นจรรยาวิชาชีพของผู้ให้การปรึกษาที่ให้สัญญากับผู้รับการปรึกษา

ว่า เรื่องราวและเหตุการณ์ที่พูดคุยกันในชั่วโมงการให้บริการปรึกษาจะไม่มีการเปิดเผยต่อบุคคลอื่น ถ้าหาก
ผู้ให้การปรึกษาไม่รักษาความลับของผู้รับการปรึกษา อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับการปรึกษา และ
ทำ�ใหผ้ ูร้ บั การปรกึ ษาไม่ไว้วางใจต่อผู้ใหก้ ารปรึกษาและกระบวนการช่วยเหลือทางจิตวิทยาการให้การปรึกษา
ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพการให้บริการปรึกษาในภาพรวมทั้งหมดได้ ยกเว้นในบางกรณีที่ผู้ให้การ
ปรึกษาต้องเปิดเผยข้อมูลบางประการของผู้รับการปรึกษา เช่น ในบางกรณีพฤติกรรมของผู้รับการปรึกษาที่
ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเองและบุคคลอื่น หรือเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย เช่น คำ�สั่งศาล เป็นต้น

                แนวปฏิบัติในการป้องกันปัญหา
                1. 	ผู้ให้การปรึกษาจะต้องแจ้งให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจอย่างชัดเจนว่าการให้การปรึกษา
จะถูกเก็บเป็นความลับ และมีการยกเว้นในกรณีไหนบ้างที่จะต้องเปิดเผยความลับของผู้รับการปรึกษา
                2. 	ผู้ให้การปรึกษาจะต้องจัดเก็บข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการปรึกษาไว้
ในที่ปลอดภัย
                3. 	ผู้ให้การปรึกษาไม่ไปพูดคุยเรื่องของผู้รับการปรึกษากับบุคคลอื่น ยกเว้นกับทีม
ผู้ให้การปรึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาเท่านั้น
                4. 	ผู้ให้การปรึกษาจะต้องทำ�ลายเทปบันทึก (ถ้ามี) ในการให้บริการปรึกษาหลังจาก
ยุติการให้ความช่วยเหลือในกรณีนั้น
            4.2 	ความสมั พนั ธท์ างเพศกบั ผูร้ บั การปรกึ ษา จรรยาวชิ าชพี ทีส่ �ำ คญั มากทีส่ ดุ อกี ประการหนึง่
ในการให้บริการปรึกษาก็คือ การห้ามมิให้ผู้รับการปรึกษามีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้รับการปรึกษา ผล
กระทบในข้อนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อน หากเกิดขึ้นอาจทำ�ให้ผู้รับการปรึกษาไม่ไว้วางใจ และขาดการนับถือ
เชื่อถือต่อผู้ให้การปรึกษา ส่วนผู้ให้การปรึกษาก็จะเกิดความรู้สึกผิด วิตกกังวล และไม่มีความมั่นใจในการ
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87