Page 58 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 58
1-48 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
เรอื่ งที่ 1.2.3 ทฤษฎีการปรกึ ษาท่สี �ำ คญั ในการให้การปรึกษา
เชิงจติ วทิ ยา
ในเรื่องที่ 1.2.3 จะนำ�เสนอประเด็นต่อไปนี้ คือ 1) กลุ่มทฤษฎีการปรึกษา 2) ทฤษฎีการปรึกษาที่
ใช้ในการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา
1. กลุม่ ทฤษฎกี ารปรกึ ษา
จากการสำ�รวจตำ�ราภาษาอังกฤษเกี่ยวกับทฤษฎีการปรึกษาที่มีอยู่ในรอบทศวรรษนี้ (ค.ศ. 1990-
ค.ศ. 2000) พบว่าตำ�ราดังกล่าวมีการกล่าวถึงทฤษฎีการปรึกษาต่างๆ ไว้ดังนี้
1. ทฤษฎีการปรึกษา ตามแนวคิดของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ที่เรียกว่าจิตวิเคราะห์
(Psychoanalysis)
2. ทฤษฏีการปรึกษาตามแนวคิดของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) ที่เรียกว่า แอดเลอเรียน
(Adlerian)
3. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคดิ ของคารล์ กสุ ตาฟ จงุ (Carl Gustav Jung) ทีเ่ รียกว่า การปรกึ ษา
เชิงวิเคราะห์ (Analytical Psychotherapy)
4. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดของคาร์ล อาร์ โรเจอร์ส (Carl R. Rogers) ที่เรียกว่า การปรึกษา
แบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Therapy)
5. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดของอัลเบิร์ต เอลลิส (Albert Ellis) ที่เรียกว่า การปรึกษาโดย
พิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy (REBT))
6. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เช่น อีวาน พาพลอฟ,
บี เอฟ สกินเนอร์, อัลเบิร์ต แบนดูรา และ โจเซฟ วอลเป้ (Ivan Pavlov, B.F. Skinner, Albert Bandura,
Joseph Wolpe) ที่เรียกว่า การปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม (Behavior Therapy)
7. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดของ เฟรเดอริค โซโลมอน เพิร์ลส์ (Frederick Solomon Perls)
ที่เรียกว่า การปรึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt Therapy)
8. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดทางปัญญานินม (Cognitivism) ที่เรียกว่า การปรึกษาที่เน้น
กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Therapy)
9. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดของเอ็ดมันต์ จี วิลเลียมสัน (Edmund G. Williamson) ที่เรียก
ว่า การปรึกษาแบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ (Trait-Factor Counseling)
10. ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดของรอลโล เมย์ และ ไอวิน ยาโลม (Rollo May & Irvin Yalom)
ที่เรียกว่า การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบภวนิยม (Existential psychotherapy)