Page 14 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 14
10-4 การวิจัยการบริหารการศึกษา
เรอื่ งที่ 10.1.1 เทคนคิ วธิ ีการเก็บรวบรวมขอ้ มูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลจัดเป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำ�การวิจัยที่มีความสำ�คัญ และสามารถสะท้อนให้
เห็นถึงคุณภาพของงานวิจัยชิ้นนั้น ๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องใส่ใจและให้ความสำ�คัญกับเทคนิควิธี และขั้นตอน
ต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยอย่างมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลช่วยให้นักวิจัยสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อน�ำ ไปใช้ประโยชน์ใน
งานวิจัยของตนได้อยา่ งเปน็ ระบบ การเก็บรวบรวมขอ้ มลู อยา่ งเปน็ ระบบ ทำ�ให้เราสามารถได้ข้อมูลที่เกีย่ วกับ
สิง่ ทีเ่ ราก�ำ ลงั ศกึ ษา ซึง่ อาจจะเปน็ คน วตั ถุ ปรากฏการณ์ หรอื สภาพทีเ่ ราก�ำ ลงั ศกึ ษา ในการท�ำ วจิ ยั หากขอ้ มลู
ถูกเก็บรวบรวมมาได้ด้วยวิธีการที่ไม่มีระบบระเบียบ หรือแบบแผนที่ดี ก็เป็นการยากที่ผู้วิจัยจะสามารถนำ�
ข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการตอบคำ�ถามของงานวิจัยที่เราตั้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง
ผู้วิจัยต้องการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มครูผู้สอน และกลุ่ม
ผู้ปกครองนักเรียน แต่การกระจายแบบสอบถาม ผู้วิจัยไม่ได้มีวางระบบข้อคำ�ถามว่า แบบสอบถามฉบับใด
ให้ใครเป็นผู้ตอบ ดังนั้น เมื่อทีมงานเก็บรวบรวมเครื่องมือกลับคืนมาได้ ผู้วิจัยจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่า
แบบสอบถามฉบับใดเป็นของผู้ตอบกลุ่มใด เมื่อนำ�มาวิเคราะห์จึงไม่สามารถวิเคราะห์จำ�แนกเป็นรายกลุ่มได้
แต่สามารถวิเคราะห์ผลในภาพรวมได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
โดยทั่วไป เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการทำ�วิจัยมีหลายวิธี จะกล่าวเฉพาะ 6 วิธี
ที่สำ�คัญได้แก่
1. การใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว
2. การสังเกต
3. การสัมภาษณ์
4. การสอบถาม
5. การสนทนากลุ่ม
6. การทดสอบ
1. การใช้ขอ้ มลู เดิมท่ีมอี ยู่แล้ว
ในสถานการณท์ �ำ งานทัว่ ไป เราสามารถพบไดว้ า่ มขี อ้ มลู เดมิ มากมายทีเ่ ราสามารถน�ำ มาใชศ้ กึ ษาวจิ ยั
ได้โดยไม่จำ�เป็นต้องออกสำ�รวจหรือเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หรือบ่อยครั้งที่อาจมีผู้ที่ได้ทำ�การเก็บรวบรวม
ข้อมูลบางประการไว้แล้วภายใต้ภารกิจหรือบทบาทหน้าที่ของพวกเขา โดยที่พวกเขาไม่ได้นำ�ข้อมูลเหล่านั้น
มาทำ�การศึกษาวิเคราะห์หรือเผยแพร่แต่อย่างใด ดังนั้น นักวิจัยมือใหม่ อาจเริ่มต้นจากการมองหาข้อมูลใน
ลักษณะดังกล่าวนี้ เพื่อนำ�มาพัฒนาเป็นงานวิจัยของตนเอง เช่น การนำ�ผลการประเมินสถานศึกษาของ สมศ.
มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานการวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์การ หรือการนำ�ปัญหา และสถิติของความขัดข้องที่เกิด