Page 16 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 16
10-6 การวิจัยการบริหารการศึกษา
2.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เป็นการสังเกตที่ผู้วิจัยหรือผู้ที่ทำ�หน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจะต้อง
เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ที่เราต้องการจะสังเกต เช่น ผู้บริหารสถานศึกษาเข้าไปสังเกตพฤติกรรม
การสอนของคุณครูในขณะปฏิบตั หิ นา้ ทีภ่ ายใตบ้ ทบาทหนา้ ที่การให้การนเิ ทศภายในสถานศกึ ษาของผู้บรหิ าร
แล้วนำ�ข้อมูลที่ได้ไปใช้ในงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของคุณครูในสถานศึกษา ฯลฯ
2.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เป็นการสังเกตที่ผู้วิจัยหรือผู้ที่ทำ�หน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อ
เข้าไปเฝ้ามองอยู่ห่าง ๆ ในสภาพเปิดทั่ว ๆ ไป โดยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างนักเรียนด้วยกันของคุณครู
ฝ่ายปกครอง เพื่อนำ�มาเป็นข้อมูลการวิจัยเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างนักเรียน
ด้วยกันของสถานศึกษา ฯลฯ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต อาจดำ�เนินการโดยเปิดเผยหรือซ่อนเร้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับ
วัตถุประสงค์และเรื่องที่กำ�ลังศึกษา อย่างไรก็ตาม การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบซ่อนเร้น ใน
บางกรณีอาจมีปัญหาด้านจริยธรรมและข้อกฎหมายเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การสังเกตอาจถูกใช้เป็นวิธีเสริม
สำ�หรับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคอื่น ๆ เช่น นักวิจัยอาจใช้การสังเกตควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์
หรือการสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ
เหล่านั้น ซึ่งผลที่ได้จากการสังเกตนี้ สามารถนำ�มาใช้เป็นข้อมูลในการวิจารณ์ผลที่ได้จากการศึกษาด้วยเช่น
กัน อย่างไรก็ตาม หากจำ�เป็นต้องเก็บข้อมูลเป็นจำ�นวนมาก นักวิจัยก็อาจจะไม่สามารถใช้การสังเกตร่วมได้
ในทกุ กรณี จงึ มคี �ำ แนะน�ำ วา่ นกั วจิ ยั ควรจดั สดั สว่ นของการสงั เกตทีเ่ ปน็ สว่ นเสรมิ ของการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู
แบบอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับงาน
3. การสมั ภาษณ์
การสัมภาษณ์ เป็นเทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ
โดยต้องอาศัยการเผชิญหน้า (face-to-face) โดยอาจเป็นการสัมภาษณ์แบบเดี่ยวเป็นรายบุคคล หรืออาจ
สัมภาษณ์เป็นกลุ่มก็ได้ แต่ผู้ให้ข้อมูลจะให้ข้อมูลจากปากของตนเอง ในยุคปัจจุบัน การสัมภาษณ์อาจ
ดำ�เนินการโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศช่วย เช่น การสัมภาษณ์ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video
Conference) แต่สิ่งที่สำ�คัญคือ จะต้องมีการเผชิญหน้ากันเสมอ และผู้ถูกสัมภาษณ์จะต้องทำ�หน้าที่เป็น
ผู้ให้ข้อมูลด้วยตนเองเสมอ
การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ อาจทำ�การจดบันทึกคำ�ตอบไว้บนกระดาษ หรืออาจใช้การบันทึก
เสียงของผู้ให้สัมภาษณ์โดยตรงเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยมารยาทและจรรยาบรรณของนักวิจัย หากมีการ
บันทึกเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์ นักวิจัยหรือผู้สัมภาษณ์ควรต้องขออนุญาตผู้ถูกสัมภาษณ์ก่อนเสมอ
สิ่งที่นักวิจัยควรให้ความสำ�คัญเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ คือ การเก็บข้อมูลอย่าง
เป็นระบบ เนื่องจากในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจมีการตอบนอกประเด็นไปบ้าง ด้วยเหตุนี้
การจัดเตรียมลำ�ดับและการตั้งคำ�ถามไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น