Page 21 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 21
เทคนิควิธีและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 10-11
เร่อื งท่ี 10.1.3 การตรวจสอบคุณภาพขอ้ มลู
การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล จัดเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความจำ�เป็นในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของงานวิจัย ส่วนหนึ่งอาจมาจากขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพข้อมูล ซึ่งหาก
ผู้วิจัยไม่ได้ให้ความสนใจกับขั้นตอนนี้ ข้อมูลที่นำ�ไปวิเคราะห์ก็อาจไม่แตกต่างจากคำ�ว่า “การนำ�ขยะไป
วิเคราะห์” นั่นเอง ซึ่งในหลักการสำ�หรับงานสารสนเทศ มีคำ�กล่าวเป็นภาษาอังกฤษสั้น ๆ ว่า GIGO (อ่านว่า
กิโก)้ ซึ่งยอ่ มากคำ�เตม็ ว่า Garbage In, Garbage Out หมายความว่า หากเราน�ำ ขยะเขา้ ไปวิเคราะห์ ผลลัพธ์
ที่ได้ออกมาก็ย่อมเป็นขยะ นั่นเอง
การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล ครอบคลุมขั้นตอนสำ�คัญ 2 ขั้นตอน คือ
1. การตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อมูล (data validation) เป็นการตรวจสอบดูว่า ข้อมูลที่
เราเก็บรวบรวมได้นั้น มีลักษณะสอดคล้องหรือตรงกับวัตถุประสงค์หรือชนิดของข้อมูลหรือไม่ เช่น กรณีที่
แบบสอบถามระบุให้ผู้ตอบตอบเป็นตัวอักษร ข้อมูลที่ได้ก็จะต้องมีแต่ตัวอักษร หรือหากเป็นตัวเลข ข้อมูล
ที่ได้ก็จะต้องเป็นตัวเลขเท่านั้น
การจัดทำ�คู่มือการลงรหัส (coding guide) หรือพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) โดยปกติ
ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีการแปลงคำ�ตอบที่เป็นข้อความให้เป็นตัวเลข เช่น
กำ�หนดให้เพศชาย มีค่าตัวเลข 1 เพศหญิง มีค่าตัวเลข 2 ตอบว่าใช่ กำ�หนดเป็นตัวเลข 1 ตอบ ไม่ใช่ กำ�หนด
ให้เป็นตัวเลข 2 จากนั้นก็บันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยบันทึกคำ�ตอบเป็นตัวเลข
และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทำ�งานจะอ่านค่าตัวเลขเข้าไปในระบบและจะแปลงตัวเลขเป็นเลขฐานสองซึ่งเป็น
ภาษาที่เครื่องอ่านเข้าใจเพราะเลขฐานสอง เช่น 100 110 101 ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและจะประมวลผล
ส่งผลคืนกลับมาเป็นตัวเลข และหน้าที่ผู้วิจัยจะต้องอ่านผลจากตัวเลขกลับไปสู่ข้อความตัวอักษรใหม่ซึ่งเป็น
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การลงรหัสจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาความคลาดเคลื่อนของข้อมูลในลักษณะ
นี้ ซึ่งคู่มือการลงรหัส หรือพจนานุกรมข้อมูล ควรกำ�หนดช่วงขอบเขตค่าความเป็นจริงของข้อมูล (logical
range) ที่อยู่ในเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันค่าที่ไม่ปกติ (extreme value) ไว้
ยกตัวอย่างเช่น หากผู้วิจัยต้องการเก็บข้อมูลกับผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีคำ�ถามข้อหนึ่งถาม
ถึงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรับราชการจนถึงปัจจุบัน และมีผู้ตอบคำ�ถาม 1 รายตอบว่า มีระยะเวลาตํ่ากว่า 5 ปี
ผู้วิจัยก็ควรตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลนี้ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีระยะเวลาการรับ
ราชการมากกว่า 5 ปี อย่างแน่นอน แสดงว่ามีความผิดพลาดในขั้นตอนจากการตอบ หรือการลงรหัส หรือ
หากแบบสอบถามของเรา เป็นแบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าตํ่าสุด คือ 1 และ
สูงสุด คือ 5 เราย่อมจะคาดหมายได้ทันที่ว่า ข้อมูลที่เก็บได้ จะต้องมีลักษณะเป็นตัวเลข 1 หลัก โดยไม่มีค่า
เป็นลบ หรือทศนิยมใด ๆ เท่านั้น ดังนั้น หากมีเลขติดลบ เลขทศนิยม ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ปะปน
เข้ามาในกลุ่มข้อมูลเหล่านี้ ย่อมจะต้องเป็นที่น่าสงสัยได้ทันทีว่า เกิดอะไรกับข้อมูลหรือไม่ นอกจากนี้ เรายัง