Page 22 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 22

10-12 การวิจัยการบริหารการศึกษา

สามารถตรวจสอบลึกลงไปได้อีกว่า ตัวเลขที่สามารถเป็นไปได้ในข้อมูลชุดนี้ จะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 1 ถึง
5 เท่านั้น ดังนั้น หากพบช่องว่าง หรือเลข 0 หรือเลขที่มีค่ามากกว่า 5 ผู้วิจัยย่อมต้องสันนิษฐานไว้ด้วยว่า
มีความคลาดเคลื่อนบางอย่างเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

       2. 	การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (data verification) เป็นการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่นำ�ไป
วิเคราะห์นั้นถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับต้นฉบับหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันขั้นตอนนี้มีความสำ�คัญมาก เนื่องจาก
โครงการวิจัยในปัจจุบันนิยมใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล และจะต้องมีการบันทึกลงสู่ระบบก่อน
การวิเคราะห์ต่อไป การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล สามารถดำ�เนินการได้ 2 รูปแบบ คือ

            2.1 	การตรวจสอบด้วยสายตา (visual check) เป็นวิธีการตรวจสอบที่ง่าย อย่างไรก็ตาม หาก
ข้อมูลมีปริมาณมาก ๆ การตรวจสอบด้วยสายตาก็อาจจะมีประสิทธิภาพน้อยลง และจะต้องใช้เวลานาน
เนือ่ งจากผูว้ จิ ยั หรอื ผูท้ ีท่ �ำ หนา้ ทีต่ รวจสอบอาจจ�ำ เปน็ ตอ้ งกลบั ไปพจิ ารณาทบทวนเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วขอ้ งกบั ขอ้ มลู
ก่อนจึงจะสามารถระบุได้ว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือไม่อย่างไร

            โดยทั่วไป ความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการบันทึกข้อมูลมักเกิดจากความ
ไม่ชัดเจนของตัวอักษร หรือลายมือ ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้

                  ภาพที่ 10.1 ตัวอยา่ งลายมือตัวเลขท่ีมกั ถกู ตคี วามหมายคลาดเคล่อื น

            จากภาพที่ 10.1 	 ตัวเลขตัวแรก อาจหมายถึงเลข 4 หรือเลข 9 หรือเลข 1 ก็ได้
            	 ตัวเลขตัวที่ 2 อาจหมายถึงเลข 1 หรือเลข 7 ก็ได้
            	 ตัวเลขตัวที่ 3 อาจหมายถึงเลข 0 หรือเลข 6 ก็ได้
            	 ตัวเลขตัวสุดท้าย อาจหมายถึงเลข 4 หรือเลข 7 หรือเลข 9 ก็ได้
            2.2 	การบันทึกซํ้า (double keying) เป็นการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้
เจ้าหน้าที่ 2 คน จากนั้นจึงนำ�ข้อมูลที่บันทึกได้ทั้ง 2 ชุดมาทำ�การเปรียบเทียบกันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่แตกต่างกันก็จะถูกรายงานออกมาเพื่อให้ผู้วิจัย หรือผู้บันทึกข้อมูลตรวจสอบต่อไป การบันทึกซํ้า
เป็นวิธีที่นิยมใช้ในกรณีที่จำ�เป็นต้องได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด หรือความคลาดเคลื่อนของข้อมูล แม้เพียงเล็ก
น้อยก็อาจจะส่งผลเสียหายร้ายแรง อย่างไรก็ตามวิธีการนี้อาจสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เนื่องจากต้องใช้พนักงาน
บันทึกข้อมูลถึง 2 คน ในแต่ละชุดของข้อมูล

              หลงั จากศึกษาเนื้อหาสาระตอนที่ 10.1 แล้ว โปรดปฏิบัตกิ จิ กรรม 10.1
                          ในแนวการศกึ ษาหน่วยท่ี 10 ตอนท่ี 10.1
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27