Page 15 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 15
เทคนิควิธีและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 10-5
จากการใช้ระบบเครือข่ายเพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อกับสำ�นักงานเขตพื้นที่มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการ
วเิ คราะหแ์ ละพฒั นาชอ่ งทางทีเ่ หมาะสมเพือ่ การประสานงานระหวา่ งส�ำ นกั งานเขตพืน้ ทีก่ บั สถานศกึ ษา เปน็ ตน้
การใช้ “ผู้รู้” หรือ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” เป็นอีกเทคนิควิธีหนึ่งของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่ง
ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว โดยที่ “ผู้รู้” หรือ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” นี้อาจเป็นบุคลากรในสถานศึกษา หรือนอกสถาน
ศึกษาก็ได้ เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา อาจทำ�วิจัยเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา หรือต้นตอของสถานศึกษา
ของตน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการระดมทรัพยากร และสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในโอกาสต่อ ๆ ไป
ซึ่งการวิจัยลักษณะนี้ “ผู้รู้” ทั้งจากในและนอกสถานศึกษา เช่น คุณครูอาวุโสผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา
แห่งนั้นมานาน หรือคนเฒ่าคนแก่ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ สถานศึกษาอาจเข้ามาเกี่ยวข้องได้ในหลาย ๆ ระยะของ
งานวิจัย
สิ่งที่สำ�คัญสำ�หรับเทคนิควิธีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วนั้นอยู่ที่การออกแบบเครื่องมือเพื่อการเก็บ
รวบรวมขอ้ มลู อยา่ งเหมาะสม โดยนกั วจิ ยั จะตอ้ งดำ�เนนิ การอยา่ งเปน็ ระบบ และมกี ารวางแผนอยา่ งรอบคอบ
และชัดเจน
ขอ้ ดขี องการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู จากแหลง่ ทีม่ อี ยูแ่ ลว้ คอื เรือ่ งของความประหยดั ทัง้ ในรปู แบบของตวั
เงินและเวลา อย่างไรก็ตามการใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วซึ่งเป็นข้อมูลขั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (secondrary
data) อาจมีจุดอ่อนในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำ�หรับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการ
แบบนี้ และในบางกรณี ข้อมูลที่ได้อาจมีปริมาณน้อย ไม่สมบูรณ์ หรือขาดการจัดหมวดหมู่ ทำ�ให้ยุ่งยากต่อ
การใช้งาน อีกประการหนึ่ง นักวิจัยบางกลุ่มอาจมีความเชื่อว่า การวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ
อาจเป็นงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือน้อย ซึ่งในทางทฤษฎี สามารถวิพากษ์ได้อย่างกว้างขวาง เพราะอาจไม่ใช่
เรื่องจริงเสมอไป
ตัวอย่างข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น สถิติการเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ระหว่าง
ปี 2550-2555
จำ�นวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสตูล ปี 2554 ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ของ
มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2555 เป็นต้น
2. การสังเกต
การสังเกต เป็นเทคนิควิธีหนึ่งของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งผู้ให้ข้อมูลโดยตรงนับว่าเป็น
ข้อมูลปฐมภูมิที่มีความสำ�คัญต่อการวิจัยอย่างมากเพราะเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ตรงตามความต้องการของ
ผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่เกิดจากการเฝ้าดู และการจดบันทึกลักษณะ พฤติกรรม หรือความเป็นไปของสิ่งหรือ
เรื่องที่เราศึกษาอย่างเป็นระบบ
การสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์จัดเป็นเทคนิควิธีหนึ่งของการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การสังเกต
พฤติกรรมของผูบ้ รหิ ารสถานศกึ ษา ของครูผูส้ อน หรือของนกั เรียนในสถานศกึ ษาในประเดน็ ใดประเด็นหนึง่
เป็นต้น โดยทั่วไปการสังเกตพฤติกรรมสามารถดำ�เนินการได้หลายวิธี ดังนี้