Page 35 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 35

เทคนิควิธีและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 10-25

คุยกันในปัญหาที่ผู้วิจัยกำ�หนดไว้ กลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเช่น เป็นเกษตรกรเหมือนกัน เป็นผู้บริหาร
เหมือนกัน ถ้ามีการปะปนกันทำ�ให้ไม่ได้ข้อสรุปเพราะความคิดเห็นแตกต่างกันมาก

       ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2545: 20) กล่าวถึงแนวคำ�ถามในการสนทนากลุ่ม 3 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
       5.1 	คำ�ถามหลัก (main question) เป็นคำ�ถามกว้าง ๆ ที่ถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยแต่ละ
ข้อ ผู้ดำ�เนินการสนทนากลุ่ม (moderator) ใช้คำ�ถามนี้เป็นคำ�ถามนำ�เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสนทนาตอบ
อย่างอิสระตามความรู้และประสบการณ์ของแต่ละคน แต่คำ�ถามหลักนี้ อาจไม่ครอบคลุมสาระสำ�คัญตาม
กรอบแนวคิดของการศึกษา ผู้วิจัยจึงจำ�เป็นต้องมีคำ�ถามในลักษณะที่สอง คือ คำ�ถามรองหรือคำ�ถามย่อย
เพื่อเก็บรายละเอียดให้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษาต่อไป
       5.2 	คำ�ถามรองหรือคำ�ถามย่อย (sub question) เป็นคำ�ถามที่ถามตามประเด็นย่อย ๆ ของแต่ละ
เรื่องโดยคำ�ถามจะครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษาตามกรอบแนวคิดทฤษฎี ผู้ดำ�เนินการสนทนากลุ่มใช้คำ�ถาม
เหล่านี้ต่อจากการใช้คำ�ถามหลัก โดยมุ่งถามในประเด็นย่อยอื่น ๆ ที่ยังไม่มีผู้ตอบในคำ�ถามหลัก วิธีการ
ถามไม่จำ�เป็นต้องเรียงตามลำ�ดับตามข้อคำ�ถามที่เขียนแต่เน้นความครอบคลุมครบถ้วนและพยายามให้
การสนทนาเป็นไปอย่างธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการถามคำ�ถามหลักและคำ�ถามรองก็อาจไม่ได้ข้อมูลจาก
ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ทั้งนี้อาจมาจากความไม่สะดวกในการตอบ หรือคำ�ถามยังไม่กระตุ้นให้อยากตอบ
ดังนั้นผู้วิจัยอาจต้องใช้คำ�ถามประเภทที่สาม คือ คำ�ถามตะล่อม (probe question)
       5.3 	คำ�ถามตะล่อม (probe question) นักวิชาการบางท่านอาจเรียกคำ�ถามประเภทนี้ว่า คำ�ถาม
ตะล่อมกล่อมเกลา คำ�ถามยั่ว หรือคำ�ถามแหย่ เป็นต้น คำ�ถามประเภทนี้ถูกใช้ในกรณีที่ใช้คำ�ถามหลักและ
คำ�ถามรองแล้ว ผู้เข้าร่วมสนทนายังไม่ตอบ หรือตอบไม่ลึกไม่ละเอียดพอ ผู้ดำ�เนินการสนทนากลุ่มจึงอาจ
ต้องใช้คำ�ถามเชิงสร้างสถานการณ์สมมติ หรือคำ�ถามยั่วให้ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มกล้าตอบ โดยทั่วไปผู้วิจัย
ไม่จำ�เป็นต้องเขียนคำ�ถามลักษณะนี้ไว้ในแนวคำ�ถามการสนทนากลุ่ม แต่ใช้ปฏิภาณไหวพริบในการสร้าง
ประเด็นคำ�ถามขึ้นตามสถานการณ์
       จากหลักการข้างต้น ขอเสนอตัวอย่างการสร้างแนวคำ�ถามการสนทนากลุ่ม 2 ลักษณะ คือ 1) ตาราง
แสดงแนวคำ�ถามการสนทนากลุ่ม และ 2) แนวคำ�ถามการสนทนากลุ่มที่ใช้ในสนามวิจัย ซึ่งเป็นเครื่องมือใน
งานวิจัย เรื่อง “ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ดประจำ�ปี 2553”
ของพิชิต ฤทธิ์จรูญ และคณะ (2553) ดังรายละเอียดในตารางที่ 10.2 และ 10.3 ต่อไปนี้
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40