Page 96 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 96
4-86 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา
4.3 กลุ่มตัวแปรลักษณะการวิจัย เป็นการระบุคุณลักษณะการวิจัยจากเอกสารวิจัยของผู้สำ�เร็จการ
ศึกษาหลักสูตรการทัพอากาศ และนโยบายด้านการวิจัยของกองทัพอากาศเกี่ยวกับแบบการวิจัยหรือวิธีการ
ดำ�เนินการวิจัย และผลการวิจัยที่ได้รับ ซึ่งกำ�หนดได้เป็น 2 ตัวแปร คือ ตัวแปรแบบการวิจัย และตัวแปรผล
การวิจัย แต่ละตัวแปรมีความหมาย ดังนี้
1) ตัวแปรแบบการวิจัย หมายถึง ลักษณะการวิจัยของเอกสารวิจัยเกี่ยวกับวิธีดำ�เนินการ
วิจัย หรือแบบการวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 12 แบบ ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงบรรยาย 2) การวิจัยเชิงสำ�รวจ 3) การ
วิจัยเชิงสัมพันธ์ 4) การวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ 5) การวิจัยเชิงทดลอง 6) การวิจัยเชิงประเมิน 7) การ
วิจัยและพัฒนา 8) การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ 9) การวิจัยอนาคต 10) การสังเคราะห์งานวิจัย 11) การวิจัย
เชิงคุณภาพ และ 12) การวิจัยผสมเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ
2) ตัวแปรผลการวิจัย หมายถึง ลักษณะการวิจัยของเอกสารวิจัยเกี่ยวกับผลการวิจัยที่เป็น
ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ โดยข้อค้นพบ ประกอบด้วย 5 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้พื้นฐาน ความรู้ประยุกต์
นวัตกรรมขั้นการประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมขั้นการทดลองใช้ และนวัตกรรมขั้นการนำ�ไปใช้ทั่วไป ส่วน
ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติ
ข้อเสนอแนะทำ�วิจัยต่อยอด และไม่ให้ข้อเสนอแนะ
5. ตัวแปรส�ำ หรับการวิจัยประเมนิ ความต้องการจำ�เป็นพฒั นาหลักสูตรวจิ ยั
จากคำ�สำ�คัญของการวิจัยครั้งนี้คือ ความต้องการจำ�เป็นพัฒนาหลักสูตรวิจัย ซึ่งหมายถึง ความ
แตกต่างหรือช่องว่างระหว่างสภาพที่เป็นอยู่ กับสภาพที่ควรจะเป็นของสิ่งที่จำ�เป็นต้องพัฒนาของหลักสูตร
วิจัย สามารถแบ่งเป็นความต้องการจำ�เป็นที่ต้องได้รับการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความต้องการจำ�เป็น
พฒั นาหลกั สตู รวจิ ยั ดา้ นสภาพการเรยี นการสอน 2) ความตอ้ งการจ�ำ เปน็ พฒั นาหลกั สตู รวจิ ยั ดา้ นคณุ ลกั ษณะ
การวิจัย 3) ความต้องการจำ�เป็นพัฒนาหลักสูตรวิจัยด้านทักษะการวิจัย และ 4) ความต้องการจำ�เป็นพัฒนา
หลักสูตรวิจัยด้านคุณลักษณะการให้คำ�ปรึกษา
6. เครอ่ื งมอื วิจัยสำ�หรับการวจิ ัยเชงิ ส�ำ รวจ
การวิจัยในส่วนของการวิจัยเชิงสำ�รวจมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการ
ด�ำ เนนิ การหลกั สตู รวจิ ยั ของหลกั สตู รการทพั อากาศ 2) เพือ่ ศกึ ษาระดบั คณุ ภาพงานวจิ ยั ของผูส้ �ำ เรจ็ การศกึ ษา
3) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการส่งเสริมการวิจัยของหลักสูตรการทัพอากาศ
และ 4) เพื่อศึกษากลยุทธ์หรือแนวทางการส่งเสริมการวิจัยของหลักสูตรการทัพอากาศ โดยใช้วิธีการสำ�รวจ
เชิงคุณภาพ (qualitative survey) 2 วิธี ประกอบด้วย การสนทนากลุ่ม (focus group interview) และ
การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)
6.1 การสนทนากลุ่ม (focus group interview) เป็นวิธีการสำ�รวจเพื่อศึกษาปัญหาการดำ�เนินการ
หลักสูตรวิจัยของหลักสูตรการทัพอากาศ ตามมุมมองของผู้สำ�เร็จการศึกษา และนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้คือ
แนวคำ�ถามการสนทนากลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้คำ�ถามเดียวกันทั้งสองกลุ่ม ยกเว้นคำ�ถามที่เกี่ยวข้องกับ