Page 20 - นโยบาย การวางแผน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 20
10-10
ตอนที่ 10.1 หลกั การและแนวคิดเกย่ี วกบั การประกันคณุ ภาพ
การศกึ ษา
สาระสังเขป
คุณภาพและการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นประเด็นท่ีสังคมปัจจุบันให้ความส�ำคัญ ไม่ว่าจะเป็น
วงการทางธุรกิจและวงการทางการศึกษา โดยคุณภาพมีความหมายเก่ียวกับความดีเลิศ การมีประสิทธิภาพ
การได้มาตรฐานตามวัตถุประสงค์ท่ีก�ำหนดไว้โดยค�ำนึงถึงความต้องการหรือความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
และต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเน่ือง ส�ำหรับการประกันคุณภาพ หมายถึง การวางแผนและการปฏิบัติ
ของหน่วยผลิตที่มุ่งจะผลิตส่ิงที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้ใช้ผลผลิต ซึ่งการด�ำเนินการประกัน
คุณภาพเป็นกระบวนการท่ีต่อเน่ือง เน้นการป้องกันและการตรวจสอบ และการปรับปรุงคุณภาพ เพ่ือจะน�ำ
ไปสู่ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ระบบคุณภาพเป็นระบบท่ีท�ำให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติท่ีจะน�ำไปสู่ผลผลิตที่มีคุณภาพ มี
องค์ประกอบที่ส�ำคัญ คือ การวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพ อีกทั้งผลการ
ปฏิบัติจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อก�ำหนด การสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และการมีต้นทุนการ
ด�ำเนินงานที่เหมาะสม ท้ังน้ี การบริหารคุณภาพมีหลักในการด�ำเนินการ 8 ประการ ประกอบด้วย 1) การให้
ความส�ำคัญกับผู้รับบริการ 2) ภาวะผู้น�ำ 3) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์การ 4) การเน้นกระบวนการ
5) การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 6) การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเน่ือง 7) การตัดสินใจบนฐานของ
ข้อเท็จจริง และ 8) ความสัมพันธ์เชิงพึ่งพากันกับผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์
สำ� หรบั ระบบประกนั คณุ ภาพซงึ่ เรมิ่ ใชใ้ นภาคธรุ กจิ และภาคอตุ สาหกรรมและไดต้ อ่ มามกี ารบรู ณาการ
มาใช้กับระบบการศึกษา ประกอบด้วยระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบ International Standard Organization
(ISO) ระบบ Total Quality Management (TQM) ระบบ The Malcom Baldrige National Quality
Award (MBNQA) ระบบ Context-Input-Process-Product (CIPP) ระบบ Input-Process-Output
(IPO) ระบบ Context-Input-Process-Output-Impact (CIPOI) ระบบ Key Performance
Indicators (KPI) ฯลฯ ซง่ึ ในทกุ ระบบจะใหค้ วามสำ� คญั กบั ความพงึ พอใจของผใู้ ชบ้ รกิ ารและการพฒั นาอยา่ ง
ต่อเน่ือง โดยน�ำเอาวงจรคุณภาพ PDCA ของ W. Edwards Deming มาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพและ
คุณภาพของการด�ำเนินงาน มีข้ันตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Doing) การ
ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Checking) และการปรับปรุงแก้ไข (Action)
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนท่ีก�ำหนดไว้
โดยมีการควบคุมคุณภาพ (quality control) การตรวจสอบคุณภาพ (quality auditing) และการประเมิน
คุณภาพ (quality assessment) ตลอดจนการรับรองคุณภาพ (quality accreditation) จนท�ำให้เกิดความ
ม่ันใจในคุณภาพและมาตรฐานของระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา