Page 72 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 72
4-62 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา
สถานที่ต่างๆ ที่สำ�คัญอย่างยิ่งที่ครอบครัวและผู้ปกครองควรตระหนักคือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ
เด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เมื่อกลับถึงบ้านก็ชวนลูกหลานพูดคุยถึงสิ่งที่ได้พบเห็น
จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการไปแหล่งเรียนรู้อาจจะมีการนำ�นิทานที่เกี่ยวข้องมาอ่านร่วมกัน การวาดรูป หรือ
ทำ�งานศิลปะอื่นๆ เมื่อถึงเวลาเย็น ก็มีกิจกรรมการเรียนรู้อีกมากมาย เช่น การรดนํ้าต้นไม้ ช่วยแม่ทำ�กับข้าว
จัดโต๊ะอาหาร รับประทานอาหาร เก็บล้างชำ�ระ หลังอาหารเย็นพูดคุยสนทนากันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ�ไป
ตลอดวัน ก่อนเข้านอนพ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง ฝึกลูกนอนแต่หัวคํ่าให้เป็นนิสัย ให้นึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามก่อน
หลับไป
จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของเด็กปฐมวัยเมื่ออยู่ที่บ้านกับครอบครัว ผู้ปกครองเกิดขึ้น
ตลอดเวลา พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตระหนักถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อรูปเป็นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ
ของเด็กทีละเล็ก ทีละน้อย วันแล้ววันเล่า ทั้งนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตระหนักถึงการจัดสิ่งต่างๆ ให้
เหมาะกับลูก เป็นสิ่งที่ดีงามให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งที่รู้ตัว ไม่รู้ตัว ตั้งใจ และไม่ตั้งใจ
3. บทบาทของชมุ ชน
ชุมชนเป็นที่อยู่ร่วมกันของครอบครัวหลายๆ ครอบครัว เด็กๆ ได้เรียนรู้มากมายตามอัธยาศัยที่
ครอบครัวของเด็ก และจากสถานศึกษาปฐมวัยทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
บทบาทของการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของชุมชนมีบทบาทที่สำ�คัญสองด้านด้วยกัน คือ บทบาทของ
การจัดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และบทบาทของการจัดกิจกรรมทางสังคม
1) บทบาทของการจัดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน คือ บทบาทในการจัดให้มีทั้งแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
ที่เป็นสถานที่สำ�หรับการเรียนรู้โดยตรง เช่น ห้องสมุดประจำ�ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ ที่อ่านหนังสือประจำ�
หมู่บ้าน และสถานที่อืน่ ๆ ทีจ่ ัดขึ้นเพื่อวตั ถุประสงค์อื่น เช่น สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ วัดวาอาราม มสั ยดิ
โบสถ์ สถานทีเ่ หลา่ นีเ้ ดก็ ปฐมวยั จะเรยี นรูไ้ ดด้ ว้ ยตนเอง จากการน�ำ พามาของพอ่ แมผ่ ูป้ กครองในการใชแ้ หลง่
เรียนรู้ดังกล่าว บทบาทของชุมชนนอกจากบทบาทในการจัดให้มีสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวแล้ว
ยังต้องมีบทบาทในการดูแล บำ�รุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้บริการได้ตลอดเวลา มีการจัดเจ้าหน้าที่
ประจำ� เพื่อดูแลให้สามารถใช้การได้อยู่เสมอ และรวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ภายใน
สถานแหล่งเรียนรู้นั้นๆ
2) บทบาทของการจัดกิจกรรมทางสังคม ประกอบด้วย
(1) กจิ กรรมวนั สำ�คัญของทางราชการ เชน่ วนั พ่อ วนั แม่ วันปยิ ะมหาราช วันเด็ก วนั ครู และ
วันอื่นๆ กิจกรรมที่จัดควรเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ร่วมกับครอบครัวและคนในชุมชน
(2) กิจกรรมวันสำ�คัญทางศาสนา ขึ้นอยู่ศาสนาที่ชุมชนนั้นๆ เคารพนับถือ เช่น วันวิสาขบูชา
วันมาฆบูชา และวันสำ�คัญทางศาสนาอื่นๆ
(3) กิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ จะมีขนบธรรมเนียม
ประเพณีของชุมชน สืบทอดต่อกันมา กิจกรรมเหล่านี้ทำ�ให้เด็กปฐมวัยมีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งทางด้าน
วัฒนธรรม ประเพณีสำ�คัญ ความเชื่อ เจตคติต่างๆ ของคนในชุมชน ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมกับพ่อแม่
ผู้ปกครอง เช่น เทศกาลลอยกระทง บุญบั้งไฟ บุญเดือนสิบ เป็นต้น