Page 70 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 70
4-60 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา
(4) ชุมชนท้องถิ่นเป็นสถาบันพัฒนาคน ท้องถิ่นมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการกำ�หนดแผนพัฒนา
กำ�ลังคนก็ย่อมมีโอกาสใช้ประโยชน์จากผู้สำ�เร็จการศึกษามากยิ่งขึ้น ท้องถิ่นยังมีศักยภาพที่จะสนับสนุน
แหล่งฝึกงาน ครูนักปฏิบัติ และงบประมาณอีกด้วย
(5) นวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา การปฏิรูปการศึกษามีปรัชญา “ผู้เรียนเป็นสำ�คัญ”
เพื่อให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนตามท้องถิ่น วัฒนธรรม และลักษณะเฉพาะ จึงจำ�เป็น
ยิ่งที่จะส่งเสริมการค้นคิดริเริ่มวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเงื่อนไขนั้นๆ
สถานศึกษาปฐมวัยอาจใช้แนวทางในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาได้ โดย
ใช้แนวทางตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังที่ ประเวศ วะสี (2554: 29-39) เสนอไว้
สรุปได้ดังนี้
1. สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ โดยการทำ�ให้ทุกคนมีสำ�นึกว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่ และทุกคน
ต้องเป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกันโดยช่วยให้เพื่อนมนุษย์มีฉันทะในการเรียนรู้
2. ให้ความสำ�คัญกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงก่อเกิดโครงสร้างและ
โปรแกรมในสมอง ถ้าโครงสร้างดี โปรแกรมดี ก็จะมีผลเหนียวแน่นไปตลอดชีวิต
3. สร้างโครงสร้างใหม่ของระบบการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง แทนที่จะเน้นเอาวิชาเป็นตัวตั้ง
4. ทำ�ให้การอ่านเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ สังคมไทยไม่มีวัฒนธรรมการอ่าน แต่ในปัจจุบันมี
เรื่องที่ซับซ้อนต่างๆ เป็นอันมาก ซึ่งถ้าไม่อ่านจะไม่เข้าใจ สังคมไทยมีความเข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนน้อย ทำ�ให้
แก้ปัญหาและพัฒนาได้ยากแต่ขัดแย้งกันสูง จำ�เป็นต้องให้การอ่านเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ
5. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษา การเรียนรู้ในสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังเป็นการศึกษา
มิติเดียว คือ การถ่ายทอดเนื้อหาวิชา ขาดการเรียนรู้จากชีวิตจริง การปฏิบัติจริง ทำ�ให้ทำ�ไม่เป็น คิดไม่เป็น
อยู่ร่วมกันไม่เป็น เฉพาะการคิดไม่เป็นก็นำ�ไปสู่ความเสียหายร้ายแรงสุดประมาณ ในสมัยที่ท่วมท้นไปด้วย
ข่าวสาร คนไทยขาดความสามารถในการวิเคราะห์ข่าวสารจนเกิดวิจารณญาณว่าสิ่งใดเชื่อได้ไม่ได้ สิ่งใดมี
ประโยชน์หรือโทษอย่างไร การที่คนไทยทั้งมวลขาดวิจารณญาณ ทำ�ให้ตกเป็นเหยื่อของการถูกปลุกระดมให้
เป็นโรคบริโภคนิยม กระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัว เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เด็กตกเป็นเหยื่อของ
การกินขนมหลอกเด็กที่เอาเงินจากพ่อแม่ไปปีละประมาณ 170,000 ล้านบาท โดยทิ้งปัญหาสุขภาพไว้ให้ การ
เชื่อง่ายเพราะขาดวิจารณญาณทำ�ให้ตกเป็นเหยื่อของการปลุกระดมทางการเมือง ทำ�ให้เกิดความแตกแยก
ความโกรธ ความเกลียด ความรุนแรง สังคมที่ขาดวิจารณญาณทำ�ให้ทำ�เรื่องดีๆ ได้ยาก ปัญหาเก่าแก่แก้
ไม่ได้ เรื่องใหม่ๆ ดี ก็ทำ�ไม่เป็น ทำ�ให้สังคมสะสมปัญหามากขึ้นๆ จนวิกฤตนี้ก็เป็นผลจากระบบการเรียนรู้
ที่ไม่ทำ�ให้ประชาชนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข่าวสารที่ได้รับจนเกิดวิจารณญาณ การเรียนรู้ในสถาน
ศึกษายังขาดจิตตปัญญา ที่รู้ใจตนเองจนเกิดปัญญา เมื่อไม่สามารถยกใจสู่ปัญญาก็ติดอยู่ในโมหภูมิ หรือ
สภาวะอวิชชา เมื่อขาดปัญญา ศาสตร์ก็กลายเป็นศาสตราที่ใช้ทิ่มแทงทำ�ร้ายกัน นำ�ไปสู่สภาวะโกลาหลทาง
สังคมและวิกฤตการณ์ ฉะนั้น การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษา จึงเป็นหัวใจของการสร้างสังคม
แห่งการเรียนรู้