Page 69 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 69
รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัย 4-59
ต่อสุขภาพกาย กิริยาท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด โดยไม่รู้ตัวและจะฝังแน่นไปจนโต การจัดการศึกษา
เพื่อเด็กจึงต้องคัดเลือกแต่สิ่งที่ดีงามให้แก่เด็ก และปกป้องเด็กจากสิ่งที่จะทำ�ลายความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา
ซึ่งเป็นความดีงามที่ติดตัวเด็กมา ด้วยแนวคิดดังกล่าว การจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน อาคารเรียน และ
บริเวณโรงเรียนจึงเป็นองค์ประกอบสำ�คัญ ความงดงามของธรรมชาติจะปรากฏอยู่ ทั้งกลางแจ้งและภายใน
อาคาร ภาพศิลปะ งานประติมากรรม กลิ่นหอมของธรรมชาติเป็นส่วนที่ทำ�ให้บรรยากาศสงบและอ่อนโยน
สีที่เหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 7 ปี คือ สีส้มอมชมพู เพราะเป็นสีที่นุ่มนวลทำ�ให้เด็กรู้สึกถึงความ
รักความอบอุ่นและช่วยให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส ไม่เคร่งเครียดอ่อนล้า ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้เด็กสงบมี
สมาธิต่อจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตน ไม่ตื่นเต้นลุกลี้ลุกลนจนไม่สามารถอยู่นิ่งได้
แสงที่พอเหมาะกับเด็กอนุบาล คือ แสงธรรมชาติที่ไม่จ้าเกินไปหรือมืดทึมเกินไป แสงที่จ้าเกินไป
ทำ�ให้เกิดความร้อน และเด็กจะขาดสมาธิ ม่านผ้าจะช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ถ้าห้องมืดเกิน
ไปควรใช้ไฟที่แสงสว่างเช่นเดียวกับแสงอาทิตย์โดยเปิดไฟหรือตั้งโคมไฟในบางจุดที่จำ�เป็น ไม่จำ�เป็นต้อง
เปิดไฟทั่วทั้งห้อง การทำ�กิจกรรมในห้องที่มีแสงตามธรรมชาติช่วยให้เด็กปรับตัวให้เรียนรู้โดยไม่ต้องอาศัย
สิ่งเร้าเกินจำ�เป็น
เสียง เป็นสิ่งเร้าที่เด็กไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเด็กเห็นแสงหรือสีที่รุนแรงเกินไป เด็กสามารถ
หลับตาหรือหันไปทางอื่นได้ แต่เด็กจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงเสียงที่ดังหรือเร่งเร้าเกินไปได้ เด็กอาจจะยกมือ
ขึ้นอุดหูแต่ก็ทำ�ได้ชั่วขณะ ดังนั้น เสียงที่เป็นโทษเหล่านั้นก็จะเข้าสู่โสตประสาทและจิตใจของเด็ก โดยเด็ก
ไม่อาจปฏิเสธได้ เสียงที่ดังเกินไปและไม่ไพเราะงดงาม รบกวนความสงบภายในของเด็ก ทำ�ให้เด็กขาด
สมาธิหงุดหงิดโดยไม่รู้สาเหตุเสียงที่ไพเราะอ่อนโยนและดังพอเหมาะช่วยให้จิตใจอ่อนโยน ด้วยเหตุนี้เสียง
ธรรมชาติ เช่น นกร้อง ลมพัด ใบไม้ ฝนตก เสียงดนตรีและเพลงที่ไพเราะอ่อนโยน และความเงียบเป็นส่วน
สำ�คัญในการจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านทั้งจิตใต้สำ�นึก และจิตสำ�นึกของเด็กตลอดทั้งวัน
จะเห็นได้ว่าการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของสถานศึกษาปฐมวัยก่อให้เด็กปฐมวัยเกิด
การเรียนรู้ตามอัธยาศัย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ สถานศึกษาจะต้องเลือกสรรสิ่งที่ดีเพื่อให้เด็กได้ซึมซับ และ
เรียนรู้ตลอดเวลา
2) การสร้างสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ประเวศ วะสี (2554) กล่าวว่า สังคมแห่ง
การเรยี นรู้ เปน็ สภาวะแวดลอ้ มในสงั คมทจี่ �ำ เปน็ ตอ่ การเรยี นรตู้ ลอดชวี ติ ตามเปา้ หมายของการปฏริ ปู การศกึ ษา
คุณลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้อาจรวมถึง
(1) จิตสำ�นึกแห่งการเรียนรู้ ประชาชนทุกวัยมีจิตสำ�นึกรักการเรียนรู้จำ�เป็นต้องรณรงค์
ปลูกจิตสำ�นึกรักการเรียนรู้ให้เยาวชนและประชาชนตื่นตัวจนซึมซับกลายเป็นค่านิยม
(2) การอ่านเป็นระเบียบวาระของชาติ การอ่านเป็นประตูบานใหญ่ที่สุดของการค้นคว้า
หาความรู้ไม่ใช่เพียง “อ่านหนังสือออก” แต่รวมความถึง “การอ่านทำ�ความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ และพัฒนา
เป็นความรู้เพื่อใช้ในสังคม”
(3) องค์กรทุกองค์กรเป็นสถาบันพัฒนาคน บรรยากาศของการเรียนรู้สามารถมีขึ้นได้ในทุก
องคก์ รจะเปน็ การเพิม่ ผลติ ภาพของแรงงานไทยไปพรอ้ มกนั บรรยากาศการเรยี นรูใ้ นองคก์ รยอ่ มจะถา่ ยทอด
จากบุคลากรขององค์กรไปสู่เยาวชนผ่านทางครอบครัว