Page 70 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 70
4-60 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
1.2.2 การปอ้ งกันระยะทีส่ อง คือ งานทีม่ ุง่ ลดปัญหาที่เกดิ ขึน้ แลว้ โดยการใหค้ วามชว่ ยเหลือ
ทันที เพื่อไม่ให้เกิดอาการที่หนักขึ้นหรือรุนแรงขึ้น โดยใช้วิธีการทางด้านบริการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล
หรือเป็นกลุ่ม
1.2.3 การป้องกันระยะที่สาม คือ งานฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้ผู้รับบริการมีงานทำ� และการใช้
ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อปัญหาลดลง ก็ให้ดูแลตนเองต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการมีปัญหาเดิมซํ้าอีก
การบริการแนะแนวผู้ใหญ่ในปัจจุบันและอนาคต ควรให้บริการแก่บุคคลวัยผู้ใหญ่ทุกระดับ
โดยเฉพาะใหแ้ กบ่ คุ คลดอ้ ยโอกาสในสงั คมดว้ ย ได้แก่ กลุ่มผูล้ ี้ภัย กลุ่มผูป้ ระสบภัยธรรมชาติ กลุ่มคนพิการ
กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสตรีที่ถูกทารุณกรรม กลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มคนปัญญาอ่อน กลุ่มผู้ป่วย
เอดส์ กลุ่มติดยาเสพติดและกลุ่มคนจน
การบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ ต้องการการมีส่วนร่วมจากหลายๆ
หน่วยงาน ทั้งหน่วยงานรัฐบาล เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวง
อตุ สาหกรรม กระทรวงศกึ ษาธกิ าร กระทรวงวทิ ยาศาสตรเ์ ทคโนโลยแี ละสิง่ แวดลอ้ ม และองคก์ รเอกชนตา่ งๆ
การบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ในรูปแบบใหม่ เช่น อาจมีการตั้งหน่วย
งานเล็กทำ�หน้าที่คล้ายเพื่อนที่ปรึกษา (Peer Counselor) ตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ในเมืองใหญ่ ให้บริการปรึกษา
โดยมเี จ้าหน้าที่ทำ�งานเพียง 2-3 คน หรืออาจจัดเปน็ ทัวรค์ ลายเครียดไปให้ความรูใ้ นเรื่องการลดความเครยี ด
ในบริษัท ห้างร้าน องค์กรเอกชน และหน่วยงานของรัฐ
การบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะนำ�เทคโนโลยีมาช่วย
ในงานบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่มากขึ้น เช่น เมื่อมีปัญหาก็โทรศัพท์เข้ามาปรึกษา
และผู้ปฏิบัติอาจไม่ได้นั่งในที่ทำ�งาน อยู่ที่บ้านสามารถให้บริการแนะแนวการปรึกษาได้ และมีการให้บริการ
สนเทศด้านต่างๆ ผ่านเครือข่ายเว็บไซต์ต่างๆ มากขึ้น
1.3 แนวโน้มการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ด้านวิชาการ น่าจะเป็นดังต่อไปนี้
1.3.1 การน�ำ องคค์ วามรทู้ มี่ อี ยมู่ าใชใ้ นการปฏบิ ตั งิ าน นนั่ คอื ผใู้ หก้ ารแนะแนวและการปรกึ ษา
เชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่จะต้องทราบถึงขอบข่ายองค์ความรู้ของจิตวิทยาแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ผูใ้ หญ่ทีม่ ีอยู่แล้ว เพือ่ นำ�ผลงานวิจยั ดังกลา่ วไปประยกุ ต์ใช้ในการบรหิ าร การบรกิ ารแนะแนวและการปรึกษา
เชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ขอบข่ายองค์ความรู้ ศึกษาได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย
ทางจิตวิทยาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่และเกี่ยวข้องกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิง
จิตวิทยาผู้ใหญ่ที่ได้ทำ�ไว้แล้ว เช่น แขนงวิชาการแนะแนว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2543) ได้ดำ�เนิน
การสังเคราะห์ผลการวิจัยของการแนะแนวของมหาวิทยาลัย 3 แห่งในช่วงปี 2525-2538 จำ�นวน 317 เรื่อง
จรรจา สวุ รรณทตั และคณะ (2538) ไดร้ วบรวม และสงั เคราะหง์ านวจิ ยั ทางดา้ นจติ วทิ ยาการแนะแนว จ�ำ นวน
428 เรื่อง กระทรวงศึกษาธิการ (2540) ได้ศึกษาวิเคราะห์งานวิจัยด้านการแนะแนวในประเทศไทยระหว่างปี
พ.ศ. 2525-2535 จำ�นวน 152 เรื่อง มัลลิกา มัติโก และรัตนา เพ็ชรอุไร (2542) ได้ประมวลสถานภาพของ
สุขภาพและสังคมของผู้สูงอายุไทย วิเคราะห์จากวิทยานิพนธ์นักศึกษาในช่วง พ.ศ. 2518-2540 จำ�นวน 154
เรื่อง นอกจากนี้ก็ควรศึกษาจากงานวิจัยทางการแนะแนวและที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิง