Page 72 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 72

4-62 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

            2) 	 หน่วยบริการสขุ ภาพจติ และจิตเวชในความรบั ผิดชอบของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวง
กลาโหม เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลภูมิพล เป็นต้น

            3) 	 หน่วยบริการสุขภาพจิตเวชในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวง
มหาดไทย เช่น โรงพยาบาลตำ�รวจ โรงพยาบาลตากสิน เป็นต้น

            4) 	 การบำ�บัดรักษาสุขภาพจิตและจิตเวชของแต่ละจังหวัดภายในโรงพยาบาลศูนย์ โรง
พยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย มีบทบาทในการบำ�บัดรักษา การป้องกัน
และการส่งเสริมสุขภาพจิต โดยขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละพื้นที่ในการค้นหาผู้ป่วย
เฝ้าระวัง ติดตามการรักษาและการรับส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อตามสถานบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม

            5) 	 องค์กรที่ดำ�เนินงานด้านสุขภาพจิตทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้การดูแลสุขภาพจิตของ
ประชาชน ศึกษาวิจัย เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคม
นักจิตวิทยาคลินิกไทย สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และ
สมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย

       2.3	 มีการจัดระบบบริหารช่องทางการเข้าถึงบริการ โดยการจัดตั้งช่องทางการเข้าถึงการบริการ
ผู้ใหญ่ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่นอาจตั้งศูนย์บริการเป็นโทรศัพท์สายด่วน (Call Center) ในระดับตำ�บล
จังหวัด และในเขตพื้นที่ และมีทีมงานที่ได้รับการฝึกอบรมโดยนักแนะแนว หรือนักสังคมสงเคราะห์ ในท้อง
ที่นั้น และเป็นผู้ที่บริหารจัดการให้ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการได้อย่างครอบคลุมทั้งระดับหมู่บ้าน ตำ�บล
จังหวัดและ เขตพื้นที่ รูปแบบการบริหารของศูนย์บริการ Call Center อาจทำ�งานเชิงธุรกิจ หรือลักษณะ
การจัดลำ�ดับความสำ�คัญของการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ที่ผู้รับบริการและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่
สามารถเข้าถึงบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ของท้องถิ่นนั้นๆ โดยอาจมีผู้จัดการราย
กรณีซึ่งเป็นผู้รับบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่และทำ�หน้าที่ประสานไปยังหน่วยที่จัด
บริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ เป็นต้น

       2.4 	มีแนวทางและวิธีการในการให้บริการและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่แก่ผู้รับบริการ วัย
ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้แก่

            1) 	 ให้ความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพกายและจิตเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในด้านการส่งเสริม
ป้องกันและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกายและจิตของประชาชนและสังคมโดย

                - 	 ผ่านช่องทางของสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ รายการวิทยุ (สื่อสายคลายทุกข์
คลินิกสุขภาพจิต 91) รายการโทรทัศน์

                - 	 เผยแพร่คู่มือ สื่อ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัด Event ต่างๆ เช่น งาน
สัปดาห์สุขภาพกายและจิตแห่งชาติ การประชุมวิชาการด้านสุขภาพกายและจิต ฯลฯ

                - 	 เว็บไซต์ กรมสุขภาพจิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                - 	 การบริการสายสุขภาพจิต
                - 	 การให้คำ�ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตผ่านระบบโทรศัพท์
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77