Page 14 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 14

14-4 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

บทนำ�

       วิชาชีพครูมีฐานะเป็นส่วนส�ำคัญของศาสตร์ทางการศึกษาและเป็นส่วนส�ำคัญของสถาบันการศึกษา
วิชาชีพครูมีความส�ำคัญในการพัฒนาบุคคล สังคม วัฒนธรรม ตามแนวทางการพัฒนาของประเทศ วิชาชีพ
ครูมีความส�ำคัญอย่างมากในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐาน
การพัฒนาประเทศ ปลูกฝังให้ผู้รับการศึกษาเป็นคนดี มีความสุขในการใฝ่รู้ มีสมรรถนะในการประยุกต์ใช้
ความรู้เพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคม

       วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ซ่ึงมีลักษณะส�ำคัญ ได้แก่
       1) 	การให้บริการท่ีมีลักษณะเฉพาะและจ�ำเป็นแก่สังคม (social service) โดยไม่ซ้�ำซ้อนกับบริการ
ของวิชาชีพอ่ืน และเน้นการให้บริการต่อสังคมมากกว่าการหาประโยชน์จากผู้รับบริการ วิชาชีพครูมีบริการที่
มีลักษณะเฉพาะ เป็นบริการที่จ�ำเป็นและไม่ซ้�ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น คือ การพัฒนาผู้เยาว์ให้มีความรู้และ
ด�ำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างดี มีความสุข และเป็นผู้ใหญ่ท่ีดีของสังคม รวมท้ังเป็นพื้นฐานของวิชาชีพอ่ืน
       2) 	การใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ (intellectual method) สมาชิกของวิชาชีพจะวินิจฉัย
ตัดสินใจปฏิบัติงานต่อผู้รับบริการโดยการใช้ความรู้ ความคิด และสติปัญญามากกว่าการใช้ทักษะและความ
ช�ำนาญเพียงด้านเดียว โดยวิชาชีพครูได้ใช้ความรู้ ความคิด หลักการ ทฤษฎีในการปฏิบัติงานเพื่อให้บริการ
ตามจุดมุ่งหมายของการศกึ ษา เนอื่ งจากวชิ าชพี ครเู ป็นทงั้ ศาสตร์และศิลปท์ ่ตี ้องอาศยั วถิ ีแหง่ ปัญญา เชน่ การ
จัดการเรียนการสอน
       3) 	การได้รับการอบรมระยะเวลานานพอสมควรเพ่ือให้มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้ง (long period of
training) การท่ีต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการจึงถือเป็นเกณฑ์ว่า บุคคลในวิชาชีพต้องได้รับการ
ศึกษาอย่างน้อยไม่ต่�ำกว่าระดับปริญญาตรี เพื่อให้หลักประกันว่าได้รับการศึกษาอบรมมากพอและสามารถ
ให้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพได้
       4) 	การมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานของวิชาชีพ (professional autonomy) ผู้ปฏิบัติ
งานในวิชาชีพมีเสรีภาพให้บริการในวิชาชีพและปฏิบัติงานตามล�ำพังโดยปราศจากการแทรกแซงจากบุคคล
ภายนอกเนื่องจากได้รับการอบรมมาดีพอแล้ว การใช้เสรีภาพทางวิชาชีพจัดเป็นความรับผิดชอบท่ีส�ำคัญ เช่น
ครูปฏิบัติงานสอนในช้ันเรียนได้อย่างเสรีภายใต้กรอบกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพครู
       5) 	การมีจรรยาบรรณ (professional ethics) จรรยาบรรณเป็นแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพ ผู้ท่ี
ละเมิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับการลงโทษหรืออาจถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิชาชีพ ครูมี
จรรยาบรรณในการปฏิบัติงานที่เป็นจรรยาบรรณของบุคลากรในวิชาชีพ
       6) 	การมีสถาบันวิชาชีพ (professional institution) สถาบันวิชาชีพท�ำหน้าท่ีเสริมสร้างมาตรฐาน
วิชาชีพและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของวิชาชีพ สถาบันวิชาชีพมี 2 ลักษณะ คือ 1) เป็นสถาบันควบคุม
และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ เช่น แพทยสภา เนติบัณฑิตยสภา และ 2) เป็นสมาคมวิชาชีพเพ่ือเป็น
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19