Page 18 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 18

14-8 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

       1.2 	บทบาทของครูในฐานะสมาชิกของวิชาชีพครู บทบาทของครูในฐานะสมาชิกของวิชาชีพครู
จ�ำแนกเป็น 2 ด้าน ดังนี้

            1.2.1 	บทบาทในการปฏิบตั งิ าน บทบาทในการปฏิบัติงานของครูท่ีส�ำคัญ ได้แก่
                1) 	ปฏิบัติงานประจ�ำที่รับผิดชอบ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวทางการปฏิรูปการ

ศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอน การดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การเป็นฝ่ายวิชาการของสถานศึกษา
                2) 	ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสังคมส่วนรวม โดยปฏิบัติกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ เช่น การ

พัฒนางานของสถานศึกษา การสร้างความสัมพันธ์ท่ีดีกับชุมชน
            1.2.2 	บทบาทในการพฒั นาวิชาชีพ บทบาทในการพัฒนาวิชาชีพของครูที่ส�ำคัญ ได้แก่
                1) 	การพัฒนาตนเอง ให้มีศักยภาพและสมรรถนะให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบ

วิชาชีพชั้นสูง สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพด้านความรู้และประสบการณ์ การปฏิบัติงาน และจรรยาบรรณ
วิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนางานตามเส้นทางการวิชาชีพ 	

                2) 	การร่วมพัฒนาวิชาชีพ ด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพ เข้าร่วม
กิจกรรมหรือเป็นผู้น�ำกิจกรรมที่รักษาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสม�่ำเสมอ

       1.3 	บทบาทครใู นการจัดการเรยี นการสอน
            1.3.1 	 ผู้ให้บริการ เป็นผู้ให้บริการด้านวิชาการแก่ผู้เรียนและชุมชนตามแนวทางการปฏิรูป

การศึกษา
            1.3.2 	 ผ้จู ดั การ จัดการเพ่ือส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่พึงประสงค์อย่างเต็มท่ีด้วยการ

ออกแบบการสอน การวางแผนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอน การจัดสิ่งอ�ำนวยความ
สะดวกในการเรียนรู้ การแนะน�ำและให้ค�ำปรึกษา ตลอดจนการวัดและประเมินผลเพ่ือการพัฒนาการเรียนรู้

            1.3.3 	 ผนู้ ำ� เป็นผู้น�ำในการแก้ไขปัญหาในเชิงสร้างสรรค์ เป็นผู้น�ำการเปล่ียนแปลงของตนเอง
ผู้เรียน สถานศกึ ษาและชมุ ชน ทง้ั ในดา้ นเศรษฐกจิ สังคม การปกครองและวัฒนธรรม เช่น เป็นผูน้ �ำการดำ� รง
ชีวิตด้วยเศรษฐกิจแบบพอเพียง เป็นผู้น�ำการเป็นพลเมืองดี

            1.3.4 	 ตวั แบบ เป็นตัวแบบที่ดีของผู้เรียนและบุคคลอื่นในด้านการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา
อารมณ์ สังคม เช่น ท�ำงานด้วยเชาวน์ปัญญาทางวิชาการ แก้ไขปัญหาด้วยเชาวน์ปัญญาทางอารมณ์ ร่วม
กิจกรรมส่วนรวมด้วยเชาวน์ปัญญาทางจิตวิญญาณ พัฒนางานด้วยเชาวน์ปัญญาการเป็นผู้น�ำ และด�ำรงชีวิต
ด้วยเชาวน์ปัญญาทางจริยธรรม

       การปฏิบัติบทบาทหน้าที่ตามสถานภาพท่ีหลากหลายข้างต้นเป็นการปฏิบัติท่ีบูรณาการไปพร้อมกัน
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าท่ีหนึ่งจะเก่ียวข้องหรือมีผลต่อบทบาทหน้าที่ด้านอ่ืนด้วย

2. 	บทบาทหนา้ ทีข่ องครใู นด้านการจดั การศกึ ษา

       บทบาทหน้าที่ของครูในด้านการจัดการศึกษาสามารถจ�ำแนกเป็นบทบาทหน้าที่ของครูในงานด้าน
การเรียนการสอนและบทบาทหน้าท่ีของครูในงานด้านการส่งเสริมการเรียนการสอน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23