Page 16 - ความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักนิเทศศาสตร์
P. 16
1-6 ความร้ทู างสงั คมศาสตรแ์ ละเทคโนโลยสี �ำ หรบั นักนิเทศศาสตร์
2.2 สังคมเป็นแหล่งจัดการอบรมและขัดเกลาสมาชิก เน่ืองจากทุกสังคมท่ีมนุษย์อยู่ร่วมกัน
จะต้องมีการจัดระบบระเบียบสังคมเพ่ือให้ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นระบบ ดังนั้น
สังคมจึงเป็นที่ท่ีมีกระบวนการอบรมหรือขัดเกลาสมาชิกในสังคมด้วยบรรทัดฐาน ค่านิยม วัฒนธรรม
ประเพณี หรือแม้กระทงั่ กฎเกณฑ์ของสังคมนน้ั ๆ เพ่อื ให้อยรู่ ่วมกับผอู้ ื่นและสงั คมอ่ืนได้
2.3 สังคมสร้างและผลิตสินค้าและบริการ สงั คมมนษุ ยอ์ ยรู่ ว่ มกันยอ่ มตอ้ งมีการจัดการการผลติ
สนิ คา้ และบรกิ ารในรปู ลกั ษณต์ า่ งๆ แกส่ มาชกิ และใชแ้ ลกเปลย่ี นกบั สงั คมอนื่ เพอื่ การดำ� รงอยขู่ องสงั คมนน้ั ๆ
2.4 สังคมเป็นแหล่งพัฒนาและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม แต่ละสังคมต่างมีการสร้างและ
พัฒนาวัฒนธรรมของตน การให้สงั คมดำ� รงอยแู่ ละสบื เนื่องยาวนานหลายชว่ั อายุคนสว่ นหนึ่งจึงตอ้ งอาศัย
สมาชกิ ในสังคมน้นั พฒั นาและสบื ทอดมรดกทางวฒั นธรรมของสังคมน้ัน
3. องค์ประกอบของสังคม
การประกอบกันเป็นสงั คมของมนุษยค์ วรจะมอี งคป์ ระกอบทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ สังคมขนึ้ (พิชัย ทองผกา,
2547) ได้แก่
3.1 ประชากรหรือสมาชิกในสังคม (social members) การเกิดขึ้นเป็นสังคมมนุษย์ย่อมต้องมี
สมาชกิ ของสงั คมหรอื ประชากรทปี่ ระกอบขนึ้ มาเปน็ สงั คมมนษุ ย์ ประชากรหรอื สมาชกิ ในสงั คมจงึ เปน็ องค์
ประกอบส�ำคญั ท่ีทำ� ให้สงั คมเกิดขน้ึ ได้
3.2 การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (group living) ลักษณะการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมย่อมอยู่
รวมกันเปน็ กลุ่มเพือ่ อาศยั ประโยชน์จากการพ่ึงพาช่วยเหลอื ซงึ่ กนั แหละกันตามบทบาทหน้าทแ่ี ละสถาน-
ภาพของสมาชิกในสังคม
3.3 การมีขอบเขตหรืออาณาบริเวณ (territory) การอยู่รวมกันของสังคมมนุษย์จ�ำเป็นต้องมี
ดินแดนหรือขอบเขตหรืออาณาบริเวณให้รับรู้กันระหว่างสมาชิกของสังคมนั้น หรือสังคมอ่ืน ซึ่งขอบเขต
หรอื อาณาบรเิ วณในองคป์ ระกอบนใ้ี นปจั จบุ นั อาจไมส่ ามารถกำ� หนดเปน็ รปู ธรรมทชี่ ดั เจนไดด้ งั ในอดตี เชน่
สงั คมออนไลนซ์ ่ึงไรข้ อบเขตของดนิ แดน
3.4 การแบ่งหน้าที่ท�ำงาน (division of labor) ในแต่ละสังคมจะมีการจัดสรรหน้าท่ีให้สมาชิก
ปฏบิ ัตติ ามภารกจิ อยา่ งเป็นระบบ ซึ่งหน้าทข่ี องคนแต่ละคนในสังคมจะเป็นไปตามบทบาทและสถานภาพ
ของตน
3.5 การมีความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กัน (relation and interaction) การอยู่ร่วมกันเป็น
กลุ่มของสังคมมนุษย์ย่อมต้องมีความสัมพันธ์และมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน หากเป็นการอยู่ร่วมกัน
แต่ขาดความสัมพันธ์หรือมีปฏิสัมพันธ์กันก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นสังคมได้ เช่น ผู้คนที่เดินทางอยู่ในขบวน
รถไฟฟา้ ไม่อาจเรียกไดว้ า่ เปน็ สังคม
3.6 บรรทัดฐาน (social norms) สมาชิกของทุกสังคมจะถูกก�ำหนดแบบแผนการด�ำเนินชีวิตท่ี
สอดคลอ้ งหรือคลา้ ยคลึงกันในแตล่ ะสงั คม ซึ่งเรยี กไดว้ า่ เปน็ บรรทดั ฐานของสงั คมที่จะแตกต่างกันไปตาม
คา่ นิยม ความเชอ่ื และวฒั นธรรมประเพณีของแต่ละสงั คม