Page 19 - ความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักนิเทศศาสตร์
P. 19

แนวคดิ เกี่ยวกบั ระบบสังคมและสงั คมโลก 1-9

เร่ืองที่ 1.1.2
โครงสร้างสังคม

       โครงสร้างสังคม (social structure) เปรียบเสมือนโครงสร้างของตึกหรืออาคารที่จะมีรูปร่าง
สมบูรณ์ก็ต่อเม่ือมีส่วนประกอบต่างๆ ประกอบประสานกันอย่างลงตัวตามแบบแปลนที่ได้วางไว้ (พัทยา
สายหู, 2544) โครงสร้างสังคมก็ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่นเดียวกับตึกหรืออาคารต่างๆ ส่ิงท่ี
แตกต่างก็คือโครงสร้างตึกหรืออาคารบ้านเรือนเป็นส่ิงที่มองเห็นและจับต้องได้ ในขณะที่โครงสร้างสังคม
มคี วามเปน็ นามธรรมจบั ตอ้ งไมไ่ ด้ มองไมเ่ หน็ แตอ่ าศยั การสง่ั สม เรยี นรแู้ ละถา่ ยทอดจากคนในสงั คมดว้ ย
กนั เอง โครงสรา้ งสังคมประกอบด้วย สถานภาพ บทบาท และสถาบนั ทางสังคม ดงั น้ี

1. 	 สถานภาพ

       สถานภาพ (status) คอื ตำ� แหนง่ ของบคุ คลในกลมุ่ หรอื ในสงั คมหนงึ่ ๆ ซงึ่ ไดม้ าจากการเปน็ สมาชกิ
ของสงั คมน้นั ๆ และสถานภาพเปน็ ตวั ก�ำหนดบทบาท สิทธิ หน้าท่ี และความรบั ผิดชอบของบคุ คลคนนนั้
ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิก ราล์ฟ ลินตัน (Ralph Linton) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้แบ่งสถานภาพ
ออกไดเ้ ปน็ สองลกั ษณะคอื ไดม้ าแตก่ ำ� เนดิ และไดม้ าจากการเลอื กหรอื ถกู กำ� หนดขนึ้ ทเี่ รยี กวา่ สถานภาพ
สมั ฤทธ์ิ ดงั น้ี (อา้ งถึงใน ศริ ริ ตั น์ แอดสกลุ , 2555)

       1.1 	สถานภาพท่ีติดตัวมาแต่ก�ำเนิด เป็นสถานภาพท่ีไม่สามารถหาหรือเลือกได้ แต่ถูกก�ำหนด
มาต้ังแต่เกิด เช่น เพศ (เกิดเป็นหญิง หรือชาย ยกเว้นการผ่าตัดเปลี่ยนเพศที่จะสามารถเลือกได้ใน
ภายหลงั ) ความเป็นเครอื ญาติ (เช่น ลูก หลาน พ่ี ป้า น้า อา เป็นต้น) เชื้อชาติ (เช่น ไทย จีน ลาว
เปน็ ตน้ ) ผวิ พรรณ (เชน่ คนผวิ ด�ำ คนผวิ ขาว คนผวิ เหลอื ง เปน็ ตน้ ) ในบางสงั คม เชน่ ในประเทศอนิ เดยี
ชัน้ ชนทางสังคมก็เป็นสถานภาพทถ่ี กู ก�ำหนดไว้ต้งั แตเ่ กดิ ดว้ ย

       1.2 	สถานภาพสัมฤทธิ์ เป็นสถานภาพที่เลือกได้ หรือหามาได้ในภายหลังด้วยความรู้ความ
สามารถของแตล่ ะบคุ คล คนสว่ นใหญส่ ามารถเลอื กสถานภาพประเภทนไี้ ด้ เชน่ สถานภาพสามหี รอื ภรรยา
สถานภาพพอ่ หรือแม่ สถานภาพตามอาชีพ (วศิ วกร แพทย์ พยาบาล พ่อคา้ นกั ธุรกจิ ครู อาจารย์ ฯลฯ)
กน็ บั เป็นสถานภาพทบ่ี คุ คลเลอื กหามาได้ เชน่ กนั

       จะสังเกตได้ว่าคนทุกคนในสังคมต้องมีสถานภาพด้วยกันทั้งส้ิน และคนคนหนึ่งอาจมีหลาย
สถานภาพในสังคมเดียวกัน แต่ก็จะมีสถานภาพหลักของตนอยู่ เช่น นักเรียนก็จะมีสถานภาพหลักของ
ความเปน็ ลกู ในครอบครวั เป็นต้น นอกจากนจ้ี ะพบวา่ สถานภาพจะควบคมู่ ากบั สทิ ธิ อำ� นาจ บทบาทของ
คนๆ นน้ั ในสงั คมดว้ ย สถานภาพสามารถเปลย่ี นแปลงไปตามสถานการณใ์ นขณะทมี่ นษุ ยม์ คี วามสมั พนั ธ์
กับคนอนื่ ๆ ในสังคมดว้ ยเชน่ กัน จงึ มีนักสังคมวทิ ยาบางคนกล่าวว่า มนุษยม์ สี ถานภาพชว่ั คราว และจะ
ดำ� รงอยตู่ ราบเทา่ ทส่ี ถานการณน์ น้ั ยงั ไมส่ น้ิ สดุ เชน่ สถานภาพการเปน็ ลกู คา้ ขณะเดนิ ซอื้ สนิ คา้ สถาพภาพ
นกั ธุรกิจขณะประชมุ หรือเจรจาธรุ กิจ เป็นต้น สถานภาพอาจแสดงออกหรือสามารถรบั รู้ได้จากสัญลักษณ์
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24