Page 22 - ความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักนิเทศศาสตร์
P. 22

1-12 ความรทู้ างสังคมศาสตร์และเทคโนโลยสี �ำ หรับนักนิเทศศาสตร์
       2) 	บทบาท หรือสิทธิและหน้าที่ทเี่ กี่ยวพันกบั สถานภาพ ซ่ึงบุคคลที่มีสถานภาพต่างกัน ตา่ งก็มี

บทบาทหน้าท่ที ีส่ มาชิกคนอน่ื ๆ ในสงั คมคาดหวังต่างกัน และ
       3) 	สถาบนั ทางสงั คม หรอื กระบวนการหรอื เปน็ การรวมกลมุ่ ของคนในสงั คมอยา่ งเปน็ ระบบมกี าร

จดั ระเบยี บโดยกำ� หนดบทบาทและความสมั พนั ธข์ องผทู้ ม่ี สี ว่ นเกย่ี วขอ้ ง และมเี สถยี รภาพและความมนั่ คง
เพราะมแี นวโน้มจะเปลี่ยนแปลงยากและไมไ่ ดข้ นึ้ อย่กู ับบคุ คลใดบคุ คลหนึง่ โดยเฉพาะ

เรื่องที่ 1.1.3
การจัดระเบียบสังคม

       การจัดระเบียบทางสังคมเป็นการวางระบบ แบบแผนและก�ำหนดแนวทางของความสัมพันธ์
และปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม เน่ืองจากคนในสังคมมีความแตกต่างหลากหลาย ท้ังเพศ อายุ ท่ีอยู่
สนิ ทรพั ย์ อำ� นาจ สถานภาพและบทบาท ทำ� ให้จำ� เปน็ ตอ้ งมกี ารจดั ระเบียบทางสงั คมเพอื่ ปรับแต่งความ
สัมพนั ธ์ระหว่างมนุษย์ในสงั คมดว้ ยกันเป็นวถิ ที างในการดำ� รงอย่รู ว่ มกันไดอ้ ยา่ งปกติสุข หากมีการฝ่าฝืน
หรอื ไม่ปฏิบตั ิตามแนวทางทก่ี ำ� หนดไว้ก็จะถูกตำ� หนิตเิ ตยี นหรือมบี ทลงโทษ

       เปา้ หมายของการจดั ระเบยี บทางสังคมก็เพือ่ ให้มนุษยอ์ ยู่ร่วมกันภายใต้วถิ ที างของความสมั พนั ธ์
บทบาท และสถานภาพซง่ึ เปน็ ทีย่ อมรบั กนั ได้ ขณะเดยี วกนั การจดั ระเบยี บทางสังคมยงั ท�ำใหเ้ กดิ ระบบ
การแบ่งปันหน้าท่ีตามบทบาทและสถานภาพท่ีก�ำหนดไว้ เกิดการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างผูท้ ่ีมสี ถานภาพ
และบทบาทหน้าท่ีต่างกัน อีกทั้งธรรมชาติของมนุษย์มักจะมีความขัดแย้งหรือการต่อสู้หรือแย่งชิงอ�ำนาจ
กนั (Thomas Hobbes อา้ งถงึ ใน ศริ ิรตั น์ แอดสกุล, 2555) การจัดระเบยี บทางสังคมยอ่ มเปน็ แนวทาง
ควบคุมและกำ� หนดแบบแผนของอ�ำนาจและการอยรู่ ่วมกนั ของมนุษย์

       ในการจัดระเบียบทางสังคมจ�ำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบส�ำคัญๆ ได้แก่ สถานภาพ บทบาท
ค่านิยม และบรรทัดฐาน ในส่วนของสถานภาพและบทบาทได้กล่าวไปโดยละเอียดแล้วในเร่ืองที่ผ่านมา
ในท่นี ี้จงึ ขอเนน้ ในประเดน็ เรื่องคา่ นยิ มและบรรทัดฐานของสงั คม

1. 	 ค่านิยม

       1.1 	ความหมายและประเภทของค่านิยม ค่านิยมเป็นตัวก�ำหนดการตัดสินใจด�ำเนินชีวิตของ
มนษุ ย์ เปน็ แนวความคดิ ความเชอ่ื เป็นอดุ มการณ์ เปน็ ความตอ้ งการทปี่ ัจเจกบุคคลและสมาชิกในสงั คม
ยึดถือและยอมรับว่าเป็นส่ิงที่ดีมีคุณค่า เหมาะสม สมควรควรแก่การน�ำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
จนกลายเป็นกรอบของการด�ำเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม ซึ่งคนในสังคมเดียวกัน
ก็จะมีแนวความคิดความเช่ือ หรือค่านิยมดังกล่าวคล้ายคลึงกัน ทั้งน้ีค่านิยมจะมีท้ังท่ีพึงประสงค์และ
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27