Page 24 - ความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักนิเทศศาสตร์
P. 24
1-14 ความรู้ทางสังคมศาสตรแ์ ละเทคโนโลยีส�ำ หรับนกั นเิ ทศศาสตร์
- ตอ้ งทำ� งานแข่งกับเวลา
- ชอบอสิ ระ ไมช่ อบอย่ภู ายใต้อ�ำนาจใคร
- ตอ้ งการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญงิ ชายเทา่ เทียมกัน
- นิยมการทดลองอยดู่ ้วยกนั ก่อนแตง่ งาน
ขณะเดยี วในสงั คมไทยมคี า่ นยิ มทคี่ วรปลกู ฝงั ไดแ้ ก่ ความจงรกั ภกั ดตี อ่ ชาติ ศาสนาและพระมหา-
กษตั รยิ ์ ความซอื่ สตั ยส์ จุ รติ ความมรี ะเบยี บวนิ ยั ความขยนั อดทน ความรบั ผดิ ชอบตอ่ หนา้ ท่ี ความกตญั ญู
กตเวที และการเคารพผอู้ าวโุ ส การเสยี สละหรอื มจี ติ สำ� นกึ ตอ่ สว่ นรว่ ม การเออ้ื เฟอ้ื เผอ่ื แผ่ และการยกยอ่ ง
ผมู้ คี ณุ ธรรม และมคี า่ นยิ มหลายประการในสงั คมไทยปจั จบุ นั ทคี่ วรแกไ้ ข เชน่ การเสย่ี งทาย การเลน่ พนนั
การรักพวกพ้องในทางที่ผิดหรือเล่นพรรคเล่นพวก การเช่ือถือในโชคลางของขลังมากกว่าผลการกระท�ำ
ของตนเอง การวัดคุณค่าบุคคลด้วยเงินหรือฐานะทางสังคมหรือความหรูหราใหญ่โตต�ำแหน่งหน้าท่ี
การงาน การรักความสะดวกสบายไมช่ อบงานหนัก การเหน็ แกป่ ระโยชนต์ นเฉพาะหนา้ มากกวา่ สำ� นึกถึง
สว่ นรวม เปน็ ตน้
2. บรรทัดฐาน
บรรทัดฐานคือส่ิงที่คาดหวัง หรือมาตรฐานท่ีก�ำหนดเป็นแนวทางในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนใน
สงั คมด้วยกนั หรือเปน็ สิ่งที่บคุ คลยดึ ถอื เป็นแนวปฏิบัติในวถิ ชี ีวติ ร่วมกัน บรรทัดฐานจะเป็นส่งิ สะทอ้ นถงึ
คา่ นยิ มและความเชอื่ ของสงั คมนนั้ ๆ บรรทดั ฐานมคี วามสำ� คญั เนอ่ื งจากเปน็ การควบคมุ ความประพฤตขิ อง
คนในสงั คมใหเ้ กดิ มาตรฐานร่วมกัน และเปน็ ตวั บ่งบอกวา่ เราควรปฏบิ ตั ติ วั ต่อผอู้ ่นื อย่างไรให้เหมาะสมใน
สถานการณ์ต่างๆ
นักสังคมวิทยาได้แบ่งประเภทบรรทัดฐานออกเป็นเรื่องย่อยๆ หลายประเภท เช่น ประเพณี
ส่ิงต้องห้าม สมัยนิยม ความนิยมชั่วคราว (แฟช่ัน) งานพิธี พิธีกรรม มรรยาททางสังคม กฎเกณฑ์
ข้อบังคบั กฎหมาย วถิ ชี าวบา้ นหรือวิถปี ระชา ขอ้ ตกลงหรืออนุสัญญา เปน็ ตน้ ในขณะที่รชิ าร์ด แชเฟอร์
(Richard Schaefer, 2004) ได้แบ่งบรรทัดฐานออกเป็นสองแนวทางกว้างๆ ได้แก่ บรรทัดฐานแบบ
ไม่เปน็ ทางการและแบบเป็นทางการ ดังนี้
2.1 บรรทดั ฐานแบบไมเ่ ปน็ ทางการ ลกั ษณะบรรทดั ฐานของสงั คมแบบไมเ่ ปน็ ทางการ (informal
norms) จะเปน็ แนวทางการปฏบิ ตั ทิ ไี่ มเ่ ปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษร ซงึ่ คนในสงั คมจะรบั รวู้ า่ ควรกระทำ� เชน่ ใดใน
สถานการณ์หน่ึงๆ เพราะคนอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้เคยกระท�ำมา หาไม่กระท�ำตามบรรทัดฐานหรือแนวทาง
ดังกล่าวอาจะถกู ติฉินนินทา หรอื ตำ� หนติ เิ ตยี นซ่งึ หน้า บรรทดั ฐานแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ วิถีประชา
และจารีตหรือศลี ธรรมจรรยา
2.1.1 วิถีประชา หรือวิถีชาวบ้าน (folk ways) เป็นบรรทัดฐานทางสังคมอย่างหนึ่งที่มี
ความสำ� คญั นอ้ ย กลา่ วคอื หากคนในสงั คมมกี ารกระทำ� ผดิ หรอื ทไ่ี มส่ อดคลอ้ งกบั วถิ ปี ระชากจ็ ะมผี ลกระทบ
ต่อสังคมส่วนร่วมน้อย ไม่รุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่คนในสังคมก็จะปฏิบัติตามแนวทางของวิถีประชาจนเป็น
ความเคยชนิ บางครง้ั จงึ อาจเรยี กวถิ ชี าวบา้ นวา่ เปน็ ประเพณไี ดเ้ ชน่ กนั อาทิ การสวมชดุ ดำ� เมอ่ื ตอ้ งไปงาน
ศพ การยกมือไหว้ผู้ท่ีสูงวัยว่าเป็นการทักทายหรือแสดงความเคารพ การค้อมตัวเมื่อต้องเดินผ่านผู้ใหญ่