Page 12 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 12

6-2 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย

                  แผนการสอนประจำ�หนว่ ย

ชุดวิชา 	 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย

หนว่ ยท่ี 6	 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย

ตอนท่ี

       6.1 		 สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจของชนบท
       6.2 		 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการพัฒนาชนบทไทย
       6.3 		 ผลกระทบและแนวโน้มสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย

แนวคดิ

       1. 	เศรษฐกิจของชนบทพึ่งพิงรายได้ภาคการเกษตรน้อยลง โดยคนชนบทเปลี่ยนแปลงไปเป็นกึ่งเกษตรกร
          กึ่งกรรมกรมากขึ้น ในขณะที่ หนี้สินภาคครัวเรือน ความยากจน และความเหลื่อมลํ้าเกิดขึ้นจากวิถีการ
          ผลิตที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การยึดโยงกับเทคโนโลยีการผลิตที่ผูกขาดโดยบรรษัทอาหารขนาดใหญ่ไม่กี่แห่ง
          เพื่อทำ�การเกษตรเชิงเดี่ยวที่มุ่งผลิตผลสูงสุดสำ�หรับเลี้ยงคนเมืองและส่งออกต่างประเทศ ความไม่เป็น
          ธรรมของการจดั สรรและกระจายทรพั ยากรการพฒั นาของประเทศและการทีร่ าคาผลผลติ ขึน้ อยูก่ บั ระบบ
          การตลาดทพี่ วกเขาควบคมุ ไมไ่ ดภ้ ายหลงั จากการปฏวิ ตั เิ ขยี วเปน็ ตน้ มา พรอ้ ม ๆ ไปกบั การลดนอ้ ยถอยลง
          ของความสามารถในการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบในอดีต

       2. 	สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งระดับโลก ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นส่งผลต่อการพัฒนาชนบท
          ไทยความผันผวนของระบบเศรษฐกิจเสรีรวมถึงการขยายตัวของระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมภายใต้
          โลกาภิวัตน์บีบครั้นภาคชนบทไทยในหลายมิติ นอกจากนั้น ชนบทไทยยังเปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลมา
          จากนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ความเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบของผลผลิตทางการเกษตรเมื่อเทียบ
          กับภาคพาณิชย์ อุตสาหกรรม และการบริการ การขยายตัวของเมือง และยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
          ที่มุ่งเน้นส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพึ่งพิงภายนอก เช่น การท่องเที่ยว พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมที่มี
          แหล่งทุนจากภายนอก

       3. 	ส ภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับต่าง ๆ ทั้งส่งผลดีและผลเสียต่อชนบท และชนบทจำ�เป็นต้องปรับ
          ตัวต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจชนบทบนฐานของ
          การพึ่งพิงเศรษฐกิจภาคเมอื งสูเ่ ศรษฐกิจแบบเกื้อหนุนระหว่างชนบทกับเมอื ง การลดความเหลื่อมลํา้ ผา่ น
          การจัดสรรและกระจายทรัพยากรในการพัฒนาประเทศที่เป็นธรรมมากขึ้น การออกแบบนโยบายพัฒนา
          ชนบทที่ไปไกลกว่านโยบายสังคมสงเคราะห์และการคำ�นึงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่อยู่บนรากฐาน
          ของความยั่งยืน ความสุข และศีลธรรม รวมถึง การใส่ใจมากขึ้นต่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นใน
          การพัฒนา รวมถึงทุนทางสังคม อาทิ การมีภูมิปัญญาร่วมกัน และความเกื้อกูลกันทางสังคม
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17