Page 17 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 17
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-7
เรอ่ื งท่ี 6.1.1
สถานการณ์ทางด้านรายได้และหน้สี ินของครวั เรอื นชนบท
1. สถานการณ์ทางดา้ นรายไดข้ องครวั เรือนชนบท
เมื่อวิเคราะห์ชนบทว่าคือพื้นที่เกษตรกรรม จะพบว่ารายได้คนชนบทที่อยู่ในภาคการเกษตรน้อยกว่ารายได้
คนนอกภาคเกษตรสูงถึง 6-13 เท่า ดังแสดงในตารางที่ 6.1 ซึ่งประมวลข้อมูลสัดส่วนของรายได้ของประชากรภาค
เกษตรและนอกภาคเกษตร ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเป็นต้นมา (ปี พ.ศ. 2504) อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้
เกริ่นนำ�ไปแล้ว ในยคุ หลงั ครวั เรอื นชนบทพึง่ พิงรายไดจ้ ากทั้งภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรจากที่ชาวชนบท
เปลี่ยนแปลงไปเป็นกึ่งเกษตรกรกึ่งกรรมกรมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ช่องว่างระหว่างรายได้ของคนชนบทกับคนเมืองราว
2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาจึงมีแนวโน้มลดลงจากตัวเลขข้างต้น หากแต่ไม่มีการสำ�รวจสถิติจริงจังในมิติดังกล่าวนี้
ตารางที่ 6.1 แสดงรายได้ และสดั ส่วนของรายได้ของประชากรภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร
รายได้ต่อบุคคล: (บาทต่อปี)
แผนพัฒนาฯ ภาคการเกษตร นอกภาคการเกษตร สดั สว่ นรายได้
ภาคเกษตร: นอกภาคเกษตร
ฉบับที่ 1 (2504-2509) 1,002 6,212
ฉบับที่ 2 (2510-2514) 1,373 9,418 1: 6.20
ฉบับที่ 3 (2515-2519) 1,797 10,905 1: 6.86
ฉบับที่ 4 (2520-2524) 3,674 20,629 1: 6.06
ฉบับที่ 5 (2525-2529) 5,743 38,357 1: 5.61
ฉบับที่ 6 (2530-2534) 6,943 68,597 1: 6.68
ฉบับที่ 7 (2535-2539) 7,684 102,857 1: 9.88
ฉบับที่ 8 (2540-2544) 8,756 104,995 1: 13.38
1: 11.99
หมายเหตุ: ตัวเลขในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นค่าเฉลี่ย 2 ปี (2540-2541)
ทีม่ า: สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2539; สำ�นักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2544
ทั้งนี้ สำ�นักยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค (2558) ได้ประเมินว่าการขยายตัวของสาขา
เกษตรกรรมลดลงเรื่อย ๆ พร้อม ๆ ไปกับที่ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงมากกว่าเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้นบ้างในบาง
ปี เช่น พืชผลทางการเกษตรในตลาดโลกลดลง แต่ในภาพรวมจะลดมากกว่า) ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงเช่นกัน
เช่น ล่าสุดในปี 2557 สาขาเกษตรกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยและรายได้เกษตรกรลดลง
ร้อยละ 6.2 และร้อยละ 5.3 ตามลำ�ดับ (มีกรณีที่แตกต่างออกไป เช่น กรณีข้าวที่รัฐบาลประกันรายได้หรือรับจำ�นำ�)