Page 19 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 19
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-9
บัตรเครดิตยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มเสี่ยง ซึ่งรวมถึงคนงานเกษตรและคนงานทั่วไป (อนุมานถึง
คนชนบท) ซึ่งมีรายได้น้อย แต่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงประมาณร้อยละ 85–89 เมื่อประกอบกับภาระการชำ�ระ
คืนหนี้ประมาณร้อยละ 17-18 ของรายได้ก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครัวเรือนและมีโอกาสผิด
ชำ�ระหนี้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำ�รวจพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของประชาชนโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่
พบวา่ กลุม่ ทีม่ รี ายไดต้ ํา่ มหี นีบ้ ตั รเครดติ ตอ่ รายไดใ้ นสดั สว่ นทีส่ งู และมภี าระการจา่ ยคนื หนีต้ อ่ รายไดส้ งู เชน่ กนั รวมถงึ
ความนิยมแบ่งจ่ายชำ�ระหนี้ทำ�ให้มีภาระดอกเบี้ยและอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ใช้บัตรเครดิตกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการ
ผิดนัดชำ�ระหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลงและรายได้ลดลง (สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558)
อนึ่ง เมื่อพิจารณาประเด็นเรื่องหนี้ในบริบทของชนบทอย่างเฉพาะเจาะจง กล่าวได้ว่าคนชนบทโดยเฉพาะผู้
เปน็ เกษตรกรใชช้ วี ติ อยูใ่ นวงจรหนี้ จากทีเ่ ริม่ ตน้ ปกี ารเพาะปลกู ใหมด่ ว้ ยการกูย้ มื เพือ่ น�ำ มาลงทนุ ในการผลติ และหลงั
จากที่ได้ผลผลิตแล้ว บางครัวเรือนก็มีเพียงพอแค่บริโภคในครัวเรือนเท่านั้น ในขณะที่ บางครอบครัวนำ�ผลผลิตไป
จำ�หน่ายทั้งหมด แล้วต้องมาชื้อข้าวกินในภายหลัง โดยเงินที่ได้มาก็นำ�มาใช้หนี้ ทั้งในระบบและนอกระบบ ก่อนที่จะ
กู้ยืมเงินรอบใหม่เพื่อนำ�มาลงทุนอีกครั้งในปีเพาะปลูกถัดไป ภายใต้วงจรหนี้ดังกล่าว ทำ�ให้คนจนในชนบทยิ่งมีโอกาส
มีหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2556) สำ�รวจภาวะหนี้ของ
ครัวเรือนไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2545 พบว่าภาระหนี้ของกลุ่มคนจนมากได้เพิ่มสูงขึ้นจาก 9.5 เท่าของรายได้
ครัวเรือนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2537 เป็น 19.8 เท่าของรายได้ครัวเรือนต่อเดือน ในปี พ.ศ. 2545 โดยมีหนี้เฉลี่ยต่อ
ครัวเรือน 35,616 บาท ส่วนการสำ�รวจภาระหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศในปีเพาะปลูก
2552/2553 พบว่าเพิ่มสูงขึ้นจาก 47,672 บาทต่อครัวเรือน ในปีเพาะปลูก 2549/2550 เป็น 54,409 บาทต่อครัวเรือน
นอกจากนั้น ภาวะหนี้สินในชนบทยังเป็นผลสืบเนื่องมาจากการลงทุนด้านการผลิตทางการเกษตรที่ต้นทุน
ของปัจจัยการผลิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ การที่ผลิตผลลดลงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และ
การที่ราคาผลผลิตทางการเกษตรของพืชเศรษฐกิจที่มีการส่งเสริมผันผวน ประกอบกับการที่ชุมชนชนบทกลาย
เป็นเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ จากการอิ่มตัวของตลาดผู้บริโภคในเมือง จนทำ�ให้
ครัวเรือนชนบทมีค่าใช้จ่ายทางด้านวัตถุและการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น โดยคนชนบทต้องบริโภคสินค้าจากเมืองซึ่งมีมูลค่า
สูงกว่าสินค้าเกษตรที่เป็นที่มาของแหล่งรายได้ของพวกเขา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเกิดความเสียเปรียบเชิง
เปรียบเทียบ จนนำ�ไปสู่การเป็นหนี้ในที่สุด
ทั้งนี้ การสำ�รวจลักษณะการกู้ยืมของครัวเรือนและแหล่งเงินกู้ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2545 พบว่าส่วนใหญ่
(ร้อยละ 66) เป็นการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งรวมเงินกู้เพื่อการศึกษาและรายจ่ายอื่นทุกประเภท สัดส่วนของ
ครัวเรือนที่พึ่งเงินกู้นอกระบบลดลง แต่ยังคงมีการกู้จากทั้งในและนอกระบบเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันการกู้ในระบบ
ก็เพิ่มขึ้นด้วย โดยครัวเรือนที่มีหนี้มักจะถือครองสินทรัพย์ถาวร ได้แก่บ้านและที่ดินเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 81 ของ
ครวั เรือนที่มีหนี้มบี า้ นและที่ดินเป็นของตนเอง และมีการเช่าซือ้ บ้านเพิ่มขึ้นกวา่ เท่าตัว รวมทั้งครอบครอง ยานพาหนะ
ประเภทต่าง ๆ เช่น รถยนต์ รถปิกอัพ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น (สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ, 2556)
กิจกรรม 6.1.1
1. ท่มี าของรายไดข้ องคนชนบทมาจากไหน
2. ภาวะหน้ีสินของคนชนบทเกิดจากสาเหตุสำ�คญั ประการใด