Page 24 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 24
6-14 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
เรอื่ งท่ี 6.1.3
สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกจิ บนฐานของทรัพยากรธรรมชาติ
และสิง่ แวดล้อม
คนชนบทมีความสามารถในการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบในอดีตลดน้อยถอยลง
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของทรัพยากรเหล่านั้นจากการขาดกฎเกณฑ์ในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์
เช่น ป่าและหนองนํ้าชุมชน ทั้งนี้ การศึกษาความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชนโดย สุภา ใยเมือง ผู้อำ�นวยการมูลนิธิ
เกษตรกรรมยัง่ ยนื (2555) บง่ ชีว้ า่ แมแ้ ตเ่ กษตรกรเองกย็ งั ตอ้ งซือ้ อาหารบรโิ ภค กลา่ วคอื ไมส่ ามารถพึง่ อาหารทีต่ นปลกู
ได้อย่างเดียว รวมถึง ไม่สามารถพึ่งพิงอาหารจากการเก็บของป่า เช่น หน่อไม้และเห็ดได้เหมือนสมัยก่อน อีกทั้งแหล่ง
อาหารตามธรรมชาติอย่างปูปลาตามทุ่งนาก็เริ่มหายากขึ้น ทำ�ให้เกษตรกรในชนบทจำ�เป็นต้องพึ่งสินค้าและบริการที่
ผลิตและส่งมาจำ�หน่ายจากเมือง ซึ่งผลิตภัณฑ์หลายอย่างก็พัฒนาหรือแปรรูปมาจากผลผลิตการเกษตรในชนบทอีกที
ในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างคนชนบทกับป่า พบว่ามีความเกื้อกูลกันน้อยลง การสำ�รวจโดยกรมป่าไม้
พบว่าปริมาณพื้นที่ทางการเกษตรของประเทศเพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพที่ดินที่เป็นป่าไม้โดยใน พ.ศ. 2523 มี
พื้นที่ทำ�การเกษตรเพียง 147.1 ล้านไร่ ทว่า ต่อมาใน พ.ศ. 2551 พื้นที่ ทำ�การเกษตรได้เพิ่มขึ้นเป็น 170.2 ล้านไร่ ซึ่ง
พื้นที่เกษตรที่เพิ่มขึ้นประมาณ 23 ล้านไร่นั้น เป็นบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้นั่นเอง ในส่วนของที่ดินที่ใช้ตั้งถิ่นฐานเป็น
ชุมชนก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2523 พบว่ามีพื้นที่ชุมชนเพียง 1.4 ล้านไร่ ทว่า ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ได้เพิ่ม
พื้นที่เป็น 14.4 ล้านไร่ การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินดังกล่าวทำ�ให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง
ทั้งนี้ วิถีการผลิตที่พึ่งพิงสารเคมีและที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบซํ้าซากก็มีส่วนทำ�ให้สภาพดินซึ่งเป็นทรัพยากร
ที่สำ�คัญในชนบทเสื่อมคุณภาพลง กล่าวคือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์หรือมีธาตุอาหารสำ�หรับพืชตํ่าหรือมีธาตุอาหาร
แต่พืชไม่สามารถนำ�สารอาหารไปใช้ได้ นอกจากนั้น ยังเกิดดินเปรี้ยวประมาณ 9.4 ล้านไร่ เกิดดินเค็มประมาณ 4.3
ล้านไร่ (ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และเกิดดินเสื่อมโทรม เช่น ดินทรายประมาณ 6 ล้านไร่ ดินทราย
ดานประมาณ 6 แสนไร่ และดินลูกรังและดินตื้นประมาณ 52 ล้านไร่
สำ�หรับในอีกส่วนหนึ่งของการลดลงของความสามารถในการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบ
ในอดีตของคนชนบทเป็นผลมาจากการเบียดบังและแย่งชิงทรัพยากรของชุมชนโดยรัฐและทุน กรณีของการเบียดบัง
และแย่งชิงโดยรัฐ มักเกิดขึ้นผ่านนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิถีชีวิตแบบเมือง การเปิดสัมปทานพลังงาน ซึ่งนำ�ไปสู่การไล่ที่ชุมชนเพื่อขุดเจาะก๊าซ
ใต้ดิน รวมไปถึง การสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ในขณะที่ กรณีของการเบียดบังและแย่งชิงโดยทุน มัก
จะเกิดขึ้นจากการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การลักลอบตัดไม้ทำ�ลายป่าเพื่อนำ�ไม้ไปใช้ในอุตสาหกรรมการ
ก่อสร้างและทำ�เฟอร์นิเจอร์ การกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำ�ไรหรือนำ�มาให้เกษตรกรเช่าอีกทอดหนึ่ง เป็นต้น กรณีของ
การทำ�ลายป่านั้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไร้การควบคุมที่เกิดผล ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่
ป่าจากปี พ.ศ. 2541 ที่มีอยู่ถึง 171 ล้านไร่ (ร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด 320 ล้านไร่) ลดลงเหลือเพียง 99.15
ล้านไร่ จากการสำ�รวจของกรมป่าไม้ในปี พ.ศ. 2551
อนึ่ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชนบทไทยแปรผันไปตามการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศด้วย
เช่นกัน โดยการเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติบ่อยครั้งก็มีผลทำ�ให้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมถอย