Page 29 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 29

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-19

ตอนที่ 6.2
สภาพแวดลอ้ มทางเศรษฐกจิ ท่ีส่งผลต่อการพฒั นาชนบทไทย

โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ประจำ�ตอนที่ 6.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

  หัวเรื่อง

         6.2.1 	สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับโลกและภูมิภาคที่ส่งผลต่อการพัฒนาชนบทไทย
         6.2.2 	สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ
         6.2.3 	สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น

  แนวคิด

         1. 	สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระดับโลกและระดับภูมิภาคส่งผลต่อการพัฒนาชนบทไทย โดย
            เฉพาะความผันผวนของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทำ�ให้ราคาพืชผลทางการเกษตรผันผวนตามไป
            ด้วย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของราคานํ้ามันโลก ทำ�ให้ต้นทุนการผลิตในภาคการเกษตรขึ้นลงตาม
            รวมทั้งกระทบต่อค่าครองชีพของคนชนบทไม่แตกต่างไปจากคนเมือง นอกจากนั้น การขยายตัว
            ของระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมภายใต้โลกาภิวัตน์และบูรพาภิวัตน์ก็สร้างผลกระทบหลาย
            ประการต่อภาคชนบท โดยมีบรรษัทข้ามชาติแสดงบทบาทสำ�คัญในการนำ�เข้าสารเคมี วิทยาการ
            เทคโนโลยี สินค้าทันสมัยที่สร้างวิถีการผลิตที่มุ่งให้ผลิตผลสูงสุด ตอบสนองรสนิยมสมัยใหม่
            และกระตุ้นการบริโภค ในขณะที่ การค้าเสรีและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศโดยเฉพาะ
            ในระดับภูมิภาคก็สร้างทั้งโอกาสและภัยคุกคาม

         2. 	ก ารที่ประเทศใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการเกษตรในฐานะ
            เป็นวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรมและสินค้าที่มุ่งผลิตเพื่อการส่งออกส่งผลกระทบต่อการพัฒนา
            ชนบท โดยเฉพาะการทำ�ให้มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรในชนบทตํ่ากว่ามูลค่าสินค้าอื่น ๆ ที่อยู่
            นอกภาคการเกษตร จนกระทบต่อช่องว่างรายได้ระหว่างคนชนบทที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
            กับผู้ประกอบอาชีพอื่นซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศผ่านแผน
            พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยภาค
            อุตสาหกรรมและภาคบริการมีบทบาทแทนที่ภาคเกษตร ในขณะเดียวกัน ระบบเศรษฐกิจแบบ
            เสรีนิยมยังนำ�ไปสู่การเติบโตของธุรกิจการเกษตร รวมถึง อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการ
            เกษตร ซึ่งมีการผูกขาดโดยบรรษัทอาหารขนาดใหญ่ในประเทศไม่กี่แห่ง โดยการผูกขาดดังกล่าว
            ทำ�ให้เกษตรกรถูกควบคุมและเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านปัจจัยการผลิตและตลาดผลผลิตโดย
            บรรษัทเหล่านั้น
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34