Page 31 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 31
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-21
ความน�ำ
เมื่อกล่าวถึงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เรากำ�ลังพิจารณาเงื่อนไขทั้งที่เป็นโอกาสและอุปสรรค
ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเงื่อนไขเหล่านั้นมีทั้งเงื่อนไขจากภายในประเทศและนอกประเทศ โดยตอนที่ 6.2 นี้จะ
เริ่มต้นจากการวิเคราะห์เงื่อนไขภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งจะพิจารณาทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค
ก่อนที่จะพิจารณาเงื่อนไขภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นชี้ให้เห็น
เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับต่าง ๆ ที่สำ�คัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาชนบทไทยในหลายทศวรรษ
ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของระบบเศรษฐกิจเสรีรวมถึงการขยายตัวของระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม
ภายใต้โลกาภิวัตน์ที่บีบคั้นภาคชนบทไทยในหลายมิติ หรือแม้แต่นโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ความเสียเปรียบ
เชิงเปรียบเทียบของผลผลิตทางการเกษตรเมื่อเทียบกับภาคพาณิชย์ อุตสาหกรรม และการบริการ นอกจากนั้น
การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชนบทไทยยังได้รับอิทธิพลมาจากการขยายตัวของเมือง และยุทธศาสตร์การพัฒนา
ทอ้ งถิน่ ทีม่ ุง่ เนน้ สง่ เสรมิ เศรษฐกจิ แบบพึง่ พงิ ภายนอก เชน่ การทอ่ งเทีย่ ว พาณชิ ยกรรม และอตุ สาหกรรมทีม่ แี หลง่ ทนุ
จากภายนอก
เรอื่ งที่ 6.2.1
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดบั โลกและภูมภิ าคที่สง่ ผล
ต่อการพฒั นาชนบทไทย
สภาพแวดลอ้ มทางเศรษฐกจิ ระดบั โลกและระดบั ภมู ภิ าคไมเ่ พยี งสง่ ผลตอ่ การพฒั นาประเทศไทยในภาพรวม
เท่านั้น หากแต่ยังส่งผลต่อการพัฒนาชนบทไทยอย่างเฉพาะเจาะจงอีกด้วย โดยเฉพาะความผันผวนของเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ ทำ�ให้ราคาพืชผลทางการเกษตรผันผวนตามไปด้วย จากที่การเกษตรในชนบทไทยเน้นเพาะปลูกพืช
เศรษฐกิจแบบเชิงเดี่ยวและเน้นการส่งออก (มุ่งเป้าเป็นครัวโลก) ซึ่งทำ�ให้เศรษฐกิจการเกษตรขึ้นอยู่กับกลไกตลาด
โลก โดยที่ผ่านมาในภาพรวมประเทศไทยส่งผลิตผลการเกษตรออกไปจำ�หน่ายต่างประเทศทำ�รายได้ราวร้อยละ
60 ของรายได้จากการส่งออกของไทยทั้งหมด เฉพาะข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศถูกส่งออกราว 6-10
ล้านกิโลกรัมต่อปี มีราคาผันผวนตั้งแต่ 65-195 ล้านบาท (เทียบระหว่างปี พ.ศ. 2543 กับปี พ.ศ. 2554 ซึ่งแน่นอน
ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคต่างกันด้วย) ดังแสดงในตารางที่ 6.8 โดยเงินที่
ตกถึงมือเกษตรกรเหลือไม่ถึงครึ่งจากการที่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางจำ�นวนมากในห่วงโซ่การตลาด ทั้งนี้ สำ�นักงาน
เศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์ว่าในขณะที่อัตราการขยายตัวการเกษตรของโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.5-2.8 ต่อปี
ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่คงฐานะเป็นประเทศที่มีผลิตผลการเกษตรและอาหารเหลือส่งออกสุทธิ
ติดต่อกันมามากกว่า 2 ทศวรรษ