Page 33 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 33

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-23

    ตารางที่ 6.9 แสดงปรมิ าณเฉล่ียและมลู คา่ การน�ำ เขา้ น้ํามัน ระหวา่ งปี พ.ศ. 2555-2557

                                                                ปริมาณเฉลี่ย: บาร์เรลต่อวัน
                                                                          มูลค่า: ล้านบาท

ปี  ปรมิ าณเฉลี่ย มูลคา่ การน�ำ เข้านํา้ มนั ดบิ ปรมิ าณเฉล่ยี การนำ�เข้า มูลคา่ การน�ำ เข้านํ้ามัน
    การนำ�เข้านาํ้ มนั ดบิ               (เดือน เม.ย.)  น้ํามนั แปรรปู  แปรรปู (เดือน ม.ค.)

2555 860 n/a 67.2 3,778

2556 868                                 86,354         75              3,891

2557 800 84,287 98.1 8,678

ที่มา: กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน.

       ทั้งนี้ ประเทศไทยได้พยายามรับมือกับสภาวการณ์ราคานํ้ามันแพงและการลดลงของแหล่งนํ้ามันในโลก
(Peak Oil) อาทิ การสัมปทานการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ และการส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงาน เช่น ปาล์มนํ้ามัน ทว่า มี
ขอ้ จ�ำ กดั ของพลงั งานทดแทนเหลา่ นัน้ มากมาย โดยเฉพาะการท�ำ ใหส้ มรรถนะของเครือ่ งยนตห์ รอื เครือ่ งจกั รเสือ่ มถอย
และการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการบำ�รุงรักษา อีกทั้งในกรณีของการสัมปทานการขุดเจาะก๊าซนั้นได้นำ�มาสู่ความขัดแย้งกับ
ชุมชนชนบทที่มีแหล่งก๊าซใต้ดินและสร้างผลกระทบต่อชุมชนชนบทเหล่านั้นในหลาย ๆ ทาง เช่น มลภาวะทางอากาศ
และการปนเปือนของสารเคมีอันตรายในพืชผลทางการเกษตร ส่วนการส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงานก็ส่งผลทำ�ให้พื้นที่
ผลติ พืชอาหารของประเทศลดลง โดยไดพ้ ลงั งานเพิ่มขึ้นมาไมม่ ากเทา่ ทีค่ วร ในขณะที่ ทำ�ลายคุณภาพของดนิ (ลดธาตุ
อาหารในดินที่จำ�เป็นต่อการเพาะปลูก) จนไม่สามารถนำ�กลับมาปลูกพืชอาหารได้อย่างมีคุณภาพอีก (หากจะกลับมา
ปลูกพืชอาหารอีกครั้ง จะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูและพัฒนาที่ดินอีกหลายปี)

       มากไปกว่านั้น การขยายตัวของระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมภายใต้โลกาภิวัตน์และบูรพาภิวัตน์ก็สร้าง
ผลกระทบหลายประการต่อภาคชนบท โดยมีบรรษัทข้ามชาติแสดงบทบาทสำ�คัญในการนำ�เข้าสารเคมี วิทยาการ
เทคโนโลยี สินค้าทันสมัยที่สร้างวิถีการผลิตที่มุ่งให้ผลิตผลสูงสุด ตอบสนองรสนิยมสมัยใหม่ และกระตุ้นการบริโภค
ทั้งนี้ ประเทศไทยนำ�เข้าเทคโนโลยีการผลิตและปุ๋ยเคมีแทบทั้งหมดจากต่างประเทศ โดยเกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยในอัตรา
1.9 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งต้นทุนการผลิตทางการเกษตรของไทยยังคงเพิ่มขึ้นตามราคาปัจจัยการผลิตการเกษตรและ
เครือ่ งมอื การเกษตรนำ�เขา้ เหลานัน้ ในอกี ดา้ นหนึง่ วถิ ชี วี ติ ของคนชนบทไดเ้ ปลีย่ นไปมาก โดยมกี ารพึง่ พงิ เครือ่ งอำ�นวย
ความสะดวกต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำ�วันมากขึ้น และเริ่มมีความคาดหวังในชีวิตและรสนิยมแบบสมัยนิยม ซึ่งได้
รับอิทธิพลจากสื่อที่ส่งผ่านวัฒนธรรมจากทั้งตะวันตกและตะวันออก ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านั้นมีต้นทุนทางเศรษฐกิจ
ไม่น้อย เช่น การมีค่าใช้จ่ายเพื่อตอบสนองสไตล์การใช้ชีวิต อาทิ การแต่งกาย และการบริโภคเครื่องดื่มและอาหาร

       ในขณะเดียวกัน การค้าเสรี เช่น อาเซียน-จีน และการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศโดยเฉพาะในระดับ
ภูมิภาค เช่น การวางแผนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ก็สร้างทั้ง
โอกาสและภัยคุกคามต่อชนบทเช่นกัน กล่าวคือ แม้จะขยายตลาดสินค้าเกษตรแต่ก็เพิ่มคู่แข่งและความเข้มข้น
ของการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งในระยะราวสองทศวรรษที่ผ่านมาจะพบว่าการแข่งขันในตลาดโลกได้ทวีความรุนแรงมาก
ขึ้นตามลำ�ดับ โดยผลจากการเปิดเสรีทางการค้าทำ�ให้สินค้าเกษตรของไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันที่มีต้นทุนการผลิต
ตํ่ากว่า เช่น หอม และกระเทียม เป็นต้น (Boossabong and Taylor, 2009) ในขณะที่ทำ�ให้เรามีการนำ�เข้าวัตถุดิบ
อาหารและสินค้าเกษตรจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจจะขาดดุลการค้า กล่าวคือ คิดเป็นมูลค่ามาก
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38