Page 38 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 38
6-28 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นอีกประการหนึ่งคือการขยายตัวของกิจกรรมทาง
เศรษฐกจิ แบบเมืองมายงั ชนบท หรอื อาจจะเรียกไดว้ า่ คอื การขยายตัวของทนุ นยิ มเข้ามายังชนบท โดยการศกึ ษาชุมชน
ชนบทของฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2548) สะท้อนว่าเศรษฐกิจในชนบทมีอยู่สองระบบครอบซ้อนกันอยู่ กล่าวคือ ระบบ
ทุนนิยมเสรีและระบบเศรษฐกิจชุมชนที่ขับเคลื่อนโดยความเกื้อหนุนหรือเอื้ออาทรต่อกันของสมาชิกในชุมชน อย่างไร
กต็ าม แนวคดิ ดงั กลา่ วถกู ทา้ ทายอยา่ งมากในยคุ หลงั จากทีก่ ารขยายตวั ของทนุ นยิ มเขา้ มายงั ชนบทมแี นวโนม้ มาแทนที่
เศรษฐกิจชุมชนหรือทำ�ให้เศรษฐกิจชุมชนอ่อนพลังลง พร้อม ๆ ไปกับการลดลงของทุนทางสังคมมากไปกว่าจะอยู่
ร่วมกันเป็นสองระบบแบบที่ฉัตรทิพย์เสนอ
อนึ่ง การแทนที่พื้นที่ชนบทด้วยเมืองจากกระบวนการการกลายเป็นเมืองที่มีทุนนิยมนำ�ยังมีผลทำ�ให้พื้นที่
เกษตรในชนบทลดลง โดยตัวอย่างที่ชัดเจนคือการขยายตัวของเมืองของกรุงเทพฯ รุกพื้นที่เกษตรชานเมืองไปมาก
ขึ้นเรื่อย ๆ และกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับการเกษตรถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมแบบเมืองมากขึ้น เช่น การเดินห้าง การฟัง
เพลงสมัยนิยม การดูภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ทำ�ให้ต้องทำ�ความเข้าใจชนบทในแบบใหม่ ใน
แบบที่แยกขาดจากเมืองไม่ได้เสียทีเดียว กล่าวคือ มีการครอบซ้อนกันอยู่ระหว่างชนบทกับเมือง ยิ่งถ้านิยามว่าชนบท
คือพื้นที่นอกเขตเทศบาล ยิ่งจะเห็นความย้อนแย้งได้ชัด จากที่ สภาพความเป็นจริงก็คือเขตองค์การบริหารส่วนตำ�บล
หลายจุดเจริญกว่าเขตเทศบาลบางจุดเสียอีก
ในอดีต การขยายตัวของชนบทมักเกิดจากการบุกเบิกเปิดพื้นที่ทำ�กินใหม่ด้วยการรุกป่า ซึ่งเคยมีอัตราเฉลี่ย
เพิม่ ขึน้ ประมาณรอ้ ยละ 4 ตอ่ ปี จนไดม้ กี ารเปดิ ทีด่ นิ มาใชเ้ พือ่ การเกษตรทัง้ หมดถงึ 147 ลา้ นไร่ โดยเปน็ ทีน่ า 84 ลา้ นไร่
และเป็นพืชสวนและพืชไร่ 63 ล้านไร่ ทว่า การเปิดที่ดินทำ�กินใหม่ในลักษณะดังกล่าวได้มาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หรือยุค
แหง่ การบกุ ปา่ เปดิ ทีด่ นิ ท�ำ กนิ จบลงแลว้ กลายมาเปน็ ยคุ ทีซ่ เี มนตเ์ ขา้ มาแทนพืน้ ทีเ่ กษตร และคณุ คา่ ของทีด่ นิ ไมไ่ ดอ้ ยูท่ ี่
คณุ ภาพของเมด็ ดนิ หากแตข่ ึน้ อยูก่ บั ท�ำ เลทีต่ ัง้ มากขึน้ เรือ่ ย ๆ อยา่ งไรกต็ าม พอเมอื งขยายตวั มากขึน้ คนเมอื งกเ็ ริม่ ฝนั
ถึงวิถีชีวิตแบบชนบท อาทิ อยากมีพื้นที่สีเขียว และพื้นที่อาหาร (เกษตรในเมือง) ท้ายที่สุด ในขณะที่เกิดกระบวนการ
กลายเป็นเมืองในชนบท (Urbanization) ก็เกิดกระบวนการพยายามทำ�ให้เป็นชนบทในเมือง (Ruralization) ขึ้น
คู่ขนานกัน จนทำ�ให้หลายพื้นที่มีลักษณะเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท ซึ่งสภาพแวดล้อมแบบใหม่นี้กำ�ลังเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
สำ�หรับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับเรื่องเกษตรกรรมโดยตรง คือ การมีแหล่ง
เงินกู้ในท้องถิ่นหรือสินเชื่อทางการเกษตรที่จำ�กัด ทำ�ให้ครัวเรือนเกษตรกรจำ�นวนมากที่พึ่งพาธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตรและธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ (มักไม่มีการขยายสินเชื่อการเกษตรในสัดส่วนที่เหมาะสม) ต้อง
หันไปพึ่งพาการกู้ยืมหนี้นอกระบบ นอกจากนั้น ความอ่อนแอของการรวมกลุ่มและสถาบันเกษตรกรเพื่อต่อรองทาง
เศรษฐกิจยังเป็นสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับเรื่องเกษตรกรรมโดยตรงเช่นกัน โดยการ
รวมกลุ่มเกษตรกรในรูปสถาบันเพื่อร่วมมือในด้านการผลิต การตลาดและการรักษาระดับราคาพืชผลการเกษตรนั้น
ยังอยู่ในขอบเขตจำ�กัดมาก โดยเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นสภาบันในรูปสหกรณ์มีเพียงประมาณ 2.2 ล้านครอบครัว
เท่านั้น หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 39 ของจำ�นวนครอบครัวเกษตรกรทั้งประเทศ อีกทั้งสถาบันเกษตรกรยังประสบ
ปัญหาหลายประการ อาทิ ความแตกแยกระหว่างสถาบันที่ดำ�เนินธุรกิจในรูปแบบสหกรณ์จากความพยายามแข่งขัน
และโจมตีกันเพื่อชักชวนสมาชิกมาเป็นของตน ซึ่งทำ�ให้อำ�นาจต่อรองลดลง