Page 42 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 42
6-32 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
ใบ ครึ่งใบ หรือยุคเผด็จการทหารก็ตาม ทำ�ให้แม้อยู่ในชนบทก็มีสินค้าและบริการให้เลือกซื้อมาก ประกอบกับความ
สะดวกในการเดินทางขนส่งที่มากขึ้นก็ยิ่งลดช่องว่างทางโอกาสในการเข้าถึงสินค้าและบริการต่าง ๆ ของคนชนบทลง
อนึ่ง แม้ในภาพรวม ชนบทจะถูกละเลย ด้วยเหตุที่ถูกมองว่าเป็นฐานเสียง ในขณะที่ คนเมืองถูกมองว่าเป็น
ฐานนโยบาย กล่าวอีกนัยคือรัฐบาลในอดีตมักจะใส่ใจคนเมือง ด้วยการออกนโยบายต่าง ๆ ที่คนเมืองพึงพอใจ เพราะ
คนเมืองมศี ักยภาพทีจ่ ะล้มรัฐบาล ส่วนคนชนบทนั้นถกู มองว่าสามารถซื้อเสียงให้มาเป็นฐานเสียงของรัฐบาลได้ (เอนก
เหล่าธรรมทัศน์, 2546) ทว่า ก็มีบางยุคสมัยที่รัฐบาลมีความพยายามให้ความสำ�คัญกับชนบทที่มาก โดยเฉพาะใน
ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งคนชนบทไม่ได้ถูกมองเป็นเพียงฐานเสียงเท่านั้น หากแต่ถูกให้ความสำ�คัญในฐานะฐานนโยบาย
ด้วย ดังจะเห็นได้ว่ามีนโยบายจำ�นวนมากที่มุ่งเป้าไปที่การพัฒนาชนบท เช่น กองทุนหมู่บ้าน พักชำ�ระหนี้เกษตรกร
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สามสิบบาทรักษาทุกโรค) หนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งอำ�เภอหนึ่งทุนการศึกษา จำ�นำ�ข้าว
ฯลฯ จนกระทั่งถูกเรียกโดยฝ่ายที่คัดค้านว่าเป็นนโยบายประชานิยมหรือนโยบายขายเสียง ซึ่งแม้จะวิพากษ์ได้ว่าเป็น
เหมือนนโยบายสังคมสงเคราะห์หรือในที่นี้อาจจะเรียกว่าเป็นนโยบายชนบทสงเคราะห์ที่อาจจะไม่ยั่งยืนและขาดวินัย
ทางการคลัง ทว่า ก็นับว่าเป็นความพยายามที่เป็นรูปธรรมที่จะทำ�ให้เกิดการกระจายผลประโยชน์สู่ประชาชนในชนบท
นอกเหนือจากที่กล่าวไป ในอีกด้านหนึ่ง ระบบเศรษฐกิจชนบทที่มีความสัมพันธ์กับเมืองก็ส่งผลดีต่อคนใน
ชนบทด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่าการเคลื่อนย้ายแรงงานไปในเมืองและในต่างประเทศทั้งในช่วงนอกฤดูทำ�นาและใน
ลักษณะกึ่งถาวร ทำ�ให้คนชนบทมีความยึดหยุ่นในการใช้ชีวิตมากขึ้น พวกเขาสามารถสร้างช่องทางในการสร้างรายได้
มากกว่าช่องทางเดียว ทั้งให้กับตนเองและครอบครัว กล่าวคือ ไม่ได้พึ่งพิงเศรษฐกิจการเกษตรอย่างเดียว พร้อมกัน
นั้น การมีทักษะในการทำ�เกษตรก็เป็นตัวลดแรงกระแทก (buffer) อย่างดีสำ�หรับแรงงานที่มาจากชนบท ดังจะเห็น
ได้จากคราวที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ที่แรงงานที่เป็นคนชนบทที่ไปทำ�งานในเมืองจำ�นวนมาก ไม่ได้รับ
ผลกระทบรุนแรงเพราะสามารถกลับมาทำ�เกษตรในชนบทต่อได้ หรือกรณีที่พบเห็นทั่วไปว่าแรงงานที่เป็นคนชนบทที่
ไปใช้แรงงานในเมืองจำ�นวนมากเช่นกัน สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารลงได้จากการปลูกผักกินเองในเมือง
ประเด็นสุดท้าย การสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศก็มีผลในทางบวกหลายประการเช่น
กัน อาทิ การเริ่มหาแนวทางในการเพิ่มอำ�นาจต่อรองระหว่างประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อราคาพืช
ผลทางการเกษตรที่อาเซียนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น ข้าว เพื่อให้สามารถกำ�หนดราคาในตลาดโลกได้มากขึ้น ซึ่งก็จะ
ส่งผลดีต่อภาคการเกษตรของประเทศสมาชิก (Boossabong, 2014) นอกจากนั้น ความร่วมมือดังกล่าวยังช่วยลด
สภาวะของการแข่งขันกันที่เข้มข้นจนเกินไป ลดข้อจำ�กัดต่อกัน แลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตรจากกันและกัน
และช่วยกันหาตลาดและแบ่งส่วนทางการตลาดกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำ�เนินนโยบายเศรษฐกิจและลดความตรึง
เครียดของเกษตรกร
2. สภาพแวดลอ้ มทางด้านเศรษฐกจิ ท่ีส่งผลกระทบในดา้ นลบตอ่ ประชาชนชนบท
สำ�หรับผลกระทบในด้านลบที่สำ�คัญประการแรกคือสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ทำ�ให้ประชาชน
ในชนบทต้องพึ่งพาภายนอกและฝากความหวังไว้กับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้หลายประการอยู่ตลอดเวลา เช่น ต้นทุน
การผลิตที่ขึ้นอยู่กับราคาพลังงานโลก เทคโนโลยี เครื่องจักร ปุ๋ยเคมีที่ผูกขาดโดยบรรษัทอาหารขนาดใหญ่ การ
เปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ และความไม่แน่นอนของราคาผลผลิตที่กำ�หนดโดยตลาดโลก ทั้งนี้ พวกเขายังไม่
สามารถใช้เมล็ดพันธุ์หลายประเภทของตนเองได้จากที่บรรษัทจดลิขสิทธิ์ไว้ ในขณะที่ การใช้เมล็ดพันธุ์ของบรรษัท
ก็พบปัญหาว่าไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์รุ่นต่อไปไว้ปลูกได้ จากที่บรรษัททำ�ให้เมล็ดพันธุ์ทั้งหลายเป็นหมัน เพื่อให้
เกษตรกรต้องชื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกปีการเพาะปลูก ส่วนกรณีผู้ที่เข้าร่วมเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) ก็
จะถูกควบคุมทุกห่วงโซ่ของการผลิตและการตลาด และถูกบีบให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการดูแลและบำ�รุงรักษาผลผลิต