Page 46 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 46

6-36 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย

แบบที่เป็นอยู่ไร้อนาคต พวกเขามีอยู่ประมาณ 35-40% ในขณะที่ รายได้รวมจากภาคเกษตรมีไม่ถึง 10% ของ
รายได้รวมของประเทศ กล่าวอีกนัยคือโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรจะมีฐานะยากจนมากกว่าคนที่เหลือในประเทศ และ
ถ้ายิ่งมีประชากรที่ต้องพึ่งรายได้จากเกษตรยิ่งมากเท่าใด เกษตรกรโดยเฉลี่ยก็จะยิ่งจน (ความคิดเห็นของ ดร.วิโรจน์
ณ ระนอง ผู้อำ�นวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตรของทีดีอาร์ไอ ซึ่งให้สัมภาษณ์กับผู้จัดการ
ออนไลน์ วันที่ 19 ตุลาคม 2557) โดยทางรอดที่เป็นไปได้คือการที่เกษตรกรควรจะผลิตพืชหลากหลาย ในสเกลขนาด
ที่เล็กลง และแบกรับความเสี่ยงร่วมกับผู้บริโภคมากขึ้น (เช่น เข้าร่วมระบบเกษตรกรรมที่สนับสนุนโดยสมาชิกชุมชน
(Community Supported Agriculture: CSA) จึงจะอยู่รอดได้

3. 	แนวโนม้ ของสภาพแวดลอ้ มทางดา้ นเศรษฐกิจระดบั ท้องถนิ่ กับการพัฒนาชนบทไทย

       ในแง่หนึ่ง นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมาเป็นนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจเมืองเป็นหลัก โดย
นโยบายพัฒนาการเกษตรและชนบทที่มีอยู่เป็นเพียงนโยบายสนับสนุนเมืองแบบหนึ่งมากกว่า ทั้งในแง่ของการ
สนับสนุนเทคโนโลยีที่เมืองสร้าง การเลี้ยงดูคนเมือง การเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมของคนเมือง
ซึ่งในทางที่ต่างออกไป การพัฒนาเศรษฐกิจโดยส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มบทบาทความสำ�คัญมากขึ้นในปัจจุบันมีแนวโน้ม
พัฒนาเศรษฐกจิ ชนบทอย่างแทจ้ ริงไดม้ ากกวา่ นโยบายประเทศ โดยเฉพาะกรณีขององคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำ�บล ซึ่งพื้นที่
ของพวกเขาคือพื้นที่ชนบทเป็นหลัก ทั้งนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนชนบทโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถ
ทำ�ได้ในหลายแง่มุม เช่น การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร เช่น สร้างระบบชลประทานของท้องถิ่น การ
สร้างถนนเชื่อมต่อจากหมู่บ้านสู่ไร่นา และการสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร รวมถึง กองทุนและออมทรัพย์ต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจเมืองเข้ามาในชนบท (การเคลื่อนย้ายทุนจากเมืองออกมา) มีแนวโน้มทำ�ให้
ชนบทกลายไปเป็นเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ โดย United Nations Centre for Human Settlements (UN-Habitat) ได้
ส�ำ รวจเมือ่ ปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) พบวา่ ประชากรมากกวา่ ครึง่ หนึง่ ของโลกอาศยั อยูใ่ นเขตเมอื ง และมกี ารพยากรณ์
ไว้ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยคนเมืองในแถบเอเชียและแอฟริกาจะมี
มากกวา่ ในแถบอืน่ ๆ ของโลก อนึง่ ส�ำ หรบั ตวั เลขทีส่ �ำ รวจในประเทศไทยนัน้ มคี วามใกลเ้ คยี งกนั กลา่ วคอื ประชากรใน
เขตเทศบาลในประเทศไทยสำ�รวจเมื่อปี พ.ศ. 2550 มีมากถึงร้อยละ 50.9 ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากปี พ.ศ. 2503 ที่มี
เพียงร้อยละ 12.5 ไปกว่า 4 เท่า และเปลี่ยนไปจากเมื่อราวทศวรรษที่แล้ว (ข้อมูล พ.ศ. 2523) ไปกว่าร้อยละ 20
(จากร้อยละ 31.1) (ปราโมทย์ ประสาทกุล, 2548) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือแนวโน้มของสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ
ที่สำ�คัญคือ การที่ระบบเศรษฐกิจเสรีมีแนวโน้มทำ�ให้เกิดการขยายตัวของเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยภาคชนบทใน
เชิงกายภาพจะหดตัวลง จากการลดลงของบทบาทภาคการเกษตร ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มที่สาขาการเกษตรมี
สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติลดลงในขณะที่สัดส่วนของสาขาอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มขึ้น อนึ่ง สภาวะ
การกลายเป็นเมืองนั้นจะมีลักษณะที่ไร้รูปแบบชัดเจน แม้แต่ผังเมืองก็ไม่สามารถควบคุมได้ กล่าวคือ เมืองจะเกิด
แบบไม่มีศูนย์กลางที่แน่ชัด ผุดขึ้นเหมือนโสมหรือพืชมีราก (Rhizome) ที่มันจะผุดที่ไหนมันก็ผุด (Deleuze and
Guattari, 2004)

       ทัง้ นี้ คนชนบทเองจำ�นวนไมน่ ้อยกใ็ ฝฝ่ ันอยากจะเป็นคนเมือง (อย่างนอ้ ยคืออยากอยู่ในเขตเทศบาล) หากไม่
อคติจนเกินไปจะเห็นว่าคนชนบทจำ�นวนมากอยากให้มีถนน อยากให้มีห้างสรรพสินค้า อยากให้มีโรงงาน หรืออยาก
พัฒนา ซึ่งก็คือต้องการความเป็นเมือง หรือพูดอีกแบบหนึ่งคือพวกเขาพร้อมและฝันถึงการกลายเป็นเมือง และอยาก
ได้ความสะดวกสบายและทันสมัยแบบเมือง ซึ่งถูกกลบดัวยวิธีคิดแบบคนเมืองที่ว่าการขยายตัวของเมืองนำ�ไปสู่เรื่อง
การผูกขาดของบรรษัท การทำ�ลายธุรกิจขายปลีก และชาวบ้านที่เป็นผู้ค้ารายย่อย อันเป็นโจทย์ของคนเมืองเป็นหลัก
และในทางความเปน็ จรงิ เปน็ เรือ่ งของการจดั ระเบียบกฎเกณฑท์ ี่จะไม่ใหม้ ีการผกู ขาดของภาคเอกชนมากกวา่ การห้าม
ไม่ให้เกิดเมืองหรือความเจริญรุกคืบเข้าไปในชนบท
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51