Page 44 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 44
6-34 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
กจิ กรรม 6.3.1
ระบบเศรษฐกจิ ชนบทท่มี ีความสัมพันธ์กับเมืองส่งผลดีอยา่ งไรต่อคนในชนบท
แนวตอบกิจกรรม 6.3.1
การเคลอ่ื นยา้ ยแรงงานไปในเมอื งทำ�ใหค้ นชนบทมคี วามยดึ หยนุ่ ในการใชช้ วี ติ มากขนึ้ พวกเขาสามารถ
สรา้ งชอ่ งทางในการสรา้ งรายไดม้ ากกวา่ ชอ่ งทางเดยี ว พรอ้ มกนั นน้ั การมที กั ษะในการท�ำ เกษตรกเ็ ปน็ ตวั ลดแรง
กระแทกจากการได้รับผลกระทบอย่างดีในยามที่เกิดวิกฤติ เช่น สามารถกลับมาทำ�เกษตรในชนบทต่อได้ หรือ
ลดคา่ ใชจ้ ่ายด้านอาหารลงได้จากการปลกู ผักกินเองในเมือง
เรื่องท่ี 6.3.2
แนวโน้มของสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจกับการพฒั นาชนบทไทย
1. แนวโน้มของสภาพแวดลอ้ มทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกและภูมภิ าคกบั การพฒั นาชนบทไทย
ในเบื้องต้น ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจในชนบทกับต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นไม่แพ้กับที่เทียบ
กับเมือง ด้วยเหตุที่มีแรงงานในชนบทจำ�นวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ออกไปใช้แรงงานในต่างแดน โดยในบางหมู่บ้าน วัย
แรงงานทงั้ หมดไปใชแ้ รงงานทตี่ า่ งประเทศจากการทีม่ นี ายหนา้ ตดิ ตอ่ มา พรอ้ มกนั นัน้ กม็ ชี าวชนบทจ�ำ นวนหนึง่ แตง่ งาน
กับชาวต่างชาติและใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน โดยส่งเงินบางส่วนกลับมาจุนเจือครอบครัวที่ประเทศไทย ทั้งนี้ การแลก
เปลี่ยนที่เกิดขึ้นระหว่างคนชนบทในหมู่บ้านและที่อยู่ในต่างแดนมีผลทำ�ให้โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
ของคนชนบทจำ�นวนไม่น้อยเปลี่ยนไป กล่าวคือ เป็นชาวบ้านที่รู้จักโลกอย่างกว้างไกล (Cosmopolitan Villagers)
ไม่ใช่คนบ้านนอกคอกหน้าที่รู้แต่เรื่องหมู่บ้านตัวเองแบบเดิมที่คนเมืองเข้าใจ ซึ่งโลกทัศน์ที่กว้างไกลขึ้นดังกล่าวทำ�ให้
พวกเขามองหาโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจในหมู่บ้านของเขาในแบบสมัยใหม่ (Modern Rural Economy) ที่นอก
เหนือไปจากการรอคอยการพัฒนาโดยรัฐ และมีโอกาสยกฐานะของตัวเองมาเป็นชาวนาที่มีรายได้ปานกลาง (Middle-
Income Peasant) แทนที่ชาวนาในกองหนี้แบบสมัยก่อนเพิ่มมากขึ้น (Walker, 2012a, 2012b)
นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาแนวโน้มจากสภาวการณ์ในปัจจุบัน โอกาสที่บูรพาภิวัตน์จะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นนั้น
มีมาก กล่าวคือ อิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศในซีกตะวันออกด้วยกันจะเข้ามามีอิทธิพลต่อการ
พัฒนาชนบทไทยมากขึ้น เช่น เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตะวันออกกลาง อิหร่าน และอินเดีย
(เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2554) โดยอิทธิพลดังกล่าวอยู่ในรูปของการเข้ามาลงทุนและท่องเที่ยว อาทิ กรณีจีนนั้นอยู่
ใกล้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่ามหานครอย่างกรุงเทพฯ ทำ�ให้ภูมิภาคดังกล่าวกลายมาเป็นตลาด
ใหม่ที่มีแนวโน้มขยายขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในแง่ของการลงทุนและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเมื่อมีการขยายเส้นทางรถไฟ
ความเร็วสูงเชื่อมต่อออกไปในอนาคตจากการที่รัฐบาลไทยให้ความสำ�คัญกับมหาอำ�นาจในเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะ
ในยุคของรัฐบาลอนุรักษ์นิยมและเผด็จการทหาร