Page 41 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 41

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-31

                         ความน�ำ

       จากที่ได้อธิบายถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับต่าง ๆ ในตอนที่แล้ว ตอนที่ 6.3 นี้ จะเชื่อมโยงทั้ง
ผลดีและผลเสียของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ต่อชนบท ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้นให้ต่อประชาชนชนบทในภาพรวม จากที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำ�เป็น และสามารถเข้าถึงสินค้าและ
บรกิ ารทีต่ อบสนองความตอ้ งการในการบริโภคของตนเองได้ และในแง่ที่สรา้ งผลกระทบในด้านลบอยา่ งการอยูภ่ ายใต้
ระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาภายนอก และโครงสร้างเศรษฐกิจที่สร้างและผลิตซํ้าความเหลื่อมลํ้า นอกจากนั้น จะชี้ให้
เห็นแนวโน้มของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งจะมีลักษณะที่ทุนนิยมขยายตัวจนชนบทในรูปแบบเดิม
จะเปลี่ยนไปเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบทมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดสภาวะเมืองในชนบทและชนบทในเมือง ซึ่งทำ�ให้การแบ่ง
ชนบทกับเมืองในเชิงกายภาพทำ�ได้น้อยลง ซึ่งภายใต้สภาพแวดล้อมเหล่านั้น ชนบทในมิติใหม่จำ�เป็นต้องปรับตัวต่อ
ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจชนบทบนฐานของการพึ่งพิงเศรษฐกิจ
ภาคเมอื งสูเ่ ศรษฐกจิ แบบเกือ้ หนนุ ระหวา่ งชนบทกบั เมอื ง การลดความเหลือ่ มลํา้ ผา่ นการจดั สรรและกระจายทรพั ยากร
ในการพัฒนาประเทศที่เป็นธรรมมากขึ้น การออกแบบนโยบายพัฒนาชนบทที่ไปไกลกว่านโยบายสังคมสงเคราะห์
และการคำ�นึงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่อยู่บนรากฐานของความยั่งยืน ความสุข และศีลธรรม รวมถึง การใส่ใจ
มากขึ้นต่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นในการพัฒนา รวมถึงทุนทางสังคม อาทิ การมีภูมิปัญญาร่วมกัน และ
ความเกื้อกูลกันทางสังคม

เร่ืองที่ 6.3.1
ผลกระทบทเี่ ปน็ ผลดผี ลเสียตอ่ ประชาชนชนบท

1. สภาพแวดลอ้ มทางดา้ นเศรษฐกจิ ท่สี ่งผลดีตอ่ ประชาชนชนบท

       สภาพแวดลอ้ มทางดา้ นเศรษฐกจิ ทีไ่ ดก้ ล่าวไปแล้วนั้นสง่ ผลดีต่อการพัฒนาชนบทจากการสรา้ งเสรมิ คุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้นให้ต่อประชาชนชนบทในภาพรวม รวมไปถึง ความสะดวกสบายจากที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่
จำ�เป็น (เช่น ไฟฟ้า นํ้าประปา การขนส่ง ฯลฯ) และแม้จะอยู่ภายใต้โครงสร้างของความเหลื่อมลํ้าหรือไม่เป็นธรรมของ
การพัฒนาเมื่อเทียบกับเมือง แต่การพัฒนาชนบทในห้วงที่ผ่านมาก็ได้กระจายรายได้และโอกาสให้คนชนบทมากขึ้น
เรื่อย ๆ (แม้จะแค่ในระดับหนึ่ง แต่ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา) อาทิ คนชนบทมีโอกาสในการสร้างรายได้
มากขึ้น เช่น จากการท่องเที่ยว การกระจายตัวของห้างสรรพสินค้า (นำ�ไปสู่การจ้างงาน) การเพิ่มขึ้นของมหาวิทยาลัย
ในภูมิภาค และการมีญาติพี่น้องไปใช้แรงงานที่ต่างประเทศ

       นอกจากนั้น ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนในชนบทยังสามารถเข้าถึง
สินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการในการบริโภคของตนเองได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนับเป็น
ผลพวงของความอัศจรรย์ของทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ที่สามารถทะลุทะลวงไปยังมุมต่าง ๆ ของโลกได้เสมอเมื่อคน
เริ่มมีกำ�ลังซื้อและบรรษัทเห็นโอกาส ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นมิตรกับนักลงทุนมาโดยตลอด แม้จะในยุคประชาธิปไตยเต็ม
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46