Page 45 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 45
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-35
นอกเหนอื จากขา้ งตน้ บรู พาภวิ ตั นย์ งั มอี ทิ ธพิ ลตอ่ คา่ นยิ มในการใชช้ วี ติ (Lifestyle) ของประชาชนชนบท โดย
เฉพาะคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้แต่การออกแบบ
ทรงผมและแต่งหน้า ซึ่งแม้จะเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรมแต่ก็ล้วนมีต้นทุนทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น โดยเฉพาะอิทธิพลของ
ญีป่ ุ่นและเกาหลี ซึ่งมีแนวโน้มเพิม่ สงู ขึ้นเรื่อย ๆ เหน็ ไดจ้ ากการมรี ายการทวี ชี อ่ งของประเทศดังกล่าว และการเปดิ การ
เรียนการสอนด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเหล่านี้ในสถาบันการศึกษาที่กระจายตัวอยู่ในภูมิภาค
2. แนวโน้มของสภาพแวดลอ้ มทางด้านเศรษฐกิจระดบั ประเทศกับการพฒั นาชนบทไทย
แม้ว่าประเทศไทยจะมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อการเจริญเติบโตผ่านการส่งเสริมอุตสาหกรรม พาณิชย์ การ
บริการ และการเกษตรเพื่อการค้า ทว่า การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีความจริงจังมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทศวรรษที่ผ่าน
มาและมีแนวโน้มถูกให้ความสำ�คัญมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในแบบที่รัฐไทย
ทำ�อยู่เป็นเหมือนดาบสองคม กล่าวคือ ในด้านหนึ่ง เศรษฐกิจครัวเรือนและชุมชนได้รับความสำ�คัญมากขึ้น โดยมี
งบประมาณจำ�นวนมากที่มุ่งเน้นส่งเสริมในห้วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในอีกด้านหนึ่ง แนวคิดนี้ก็ถูกใช้เป็นวาทกรรมใน
การโยนปัญหาความยากจนในชนบทให้พ้นตัวของรัฐ ด้วยการกลบปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สร้างและผลิต
ซํ้าความเลื่อมลํ้า และโยนปัญหาไปให้คนในชนบทเองว่าให้พึ่งตนเอง ปลูกสิ่งที่กิน กินสิ่งที่ปลูก รู้จักอดออม อย่าใช้
จา่ ยเกนิ ตวั และต้องรวมกลุ่มพึ่งพากนั และกันและเศรษฐกิจพวกเขากจ็ ะดีขึ้น ซึ่งการมีฐานคตดิ ังกล่าวในการสรา้ งการ
พัฒนามีความอันตราย เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างจะไม่ได้รับการแก้ไขเลย ในขณะที่ ฐานคิดเรื่องไม่มีความยากจนใน
หมู่คนขยันและทุกคนต้องพึ่งตนเองให้ได้ อย่ารอพึ่งรัฐอย่างเดียวมีโอกาสขยายความเหลื่อมลํ้า ความไม่เป็นธรรม
และความขัดแย้งระหว่างชนชั้นในสังคมได้
นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาแนวโน้มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แล้ว พบว่าการ
พัฒนาด้านเศรษฐกิจในยุคต่อไปนี้จะให้ความสำ�คัญกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรและสร้าง
ความมั่นคงให้ภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ ปรับปรุงกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมให้สะอาดปลอดภัย พัฒนายกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวให้
มีคุณภาพอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานความรู้ การมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวระหว่างพื้นที่ รวมทั้ง
การค้าชายแดน (สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2557) ซึ่งเป็นการกำ�หนดทิศทางที่
สวยงาม ทว่า ข้อกังวลที่สำ�คัญคือ ในทศวรรษที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นแนวโน้มว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แหง่ ชาตถิ กู ใหค้ วามส�ำ คญั นอ้ ยลงเรือ่ ย ๆ ซึง่ ในแงห่ นึง่ เกดิ จากการสรา้ งอนาคตภาพทีง่ ดงามเกนิ จรงิ หรอื หลดุ ลอยออก
ไปจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ (อาทิ กรณีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับปัจจุบันนี้) ส่วนอีกแง่หนึ่งเป็นเพราะการมุ่ง
ผลในระยะยาว ซึ่งรัฐบาลในยุคหลังมักหวังผลในระยะสั้นมากกว่า เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ในแบบที่จับต้อง
ได้หรือเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีผลในทางการเมืองด้วย รวมไปถึง การที่คนไทยเริ่มตั้งคำ�ถามกับการพัฒนาที่กำ�หนดโดย
ผู้เชี่ยวชาญหรือเทคโนเเครตอย่างสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเคยพาประเทศ
ไปเผชิญกับวิกฤติหลายหน เช่น วิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้น
ประการสุดท้าย สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจระดับประเทศจะมีแนวโน้มคาดการณ์ยากมากขึ้นเรื่อย ๆ
อันเป็นผลมาจากการสูญเสียที่ถี่ขึ้นจากภัยธรรมชาติอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน โดยภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภัย
แล้งหรืออุทกภัยล้วนส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้แรงงานภาคเกษตร เช่น การเกิดภาวะภัยแล้งตั้งแต่ วัน
ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สร้างผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ของเกษตรกรใน
17 จังหวัด 54 อำ�เภอ 316 ตำ�บล 3,208 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 4.28 จากจำ�นวน 74,963 หมู่บ้านทั่วประเทศ) ทั้งนี้
แนวโน้มการเกิดความศูนย์เสียทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติดังกล่าวทำ�ให้มีการวิเคราะห์กันว่าการเกษตรเชิงพาณิชย์