Page 43 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 43
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-33
ใหไ้ ดต้ ามเปา้ หมายที่บรรษัทต้องการ ซึง่ ผลกระทบข้างต้น ทำ�ให้ประชาชนชนบทต้องตกอยูใ่ นวงจรหนีแ้ ละวฏั จกั รแห่ง
ความยากจนที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้
สำ�หรับเกษตรกรในชนบทที่ต้องการปรับวิถีการผลิตมาเป็นแบบอินทรีย์ ก็มักจะต้องเผชิญกับความกดดัน
หลายประการ อาทิ การดูแลที่ยากขึ้น (ไม่ใช้สารเคมี ทำ�ให้แมลงศัตรูพืชคุกคามมากขึ้น) และปัญหาที่เป็นเหมือน
แผลเป็นของการปฏิวัติเขียวที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว กล่าวคือ การที่ใช้สารเคมีกระตุ้นพืชผลทางการเกษตรมาตลอดทำ�ให้
สภาพดินเปลี่ยนแปลงไปจนยากที่จะกลับมาปลูกแบบปลอดสารเคมี นอกจากนั้น การเปลี่ยนวิถีการผลิตมาเป็นแบบ
เชิงเดี่ยวและเพื่อการพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งมักจะเริ่มต้นจากการเป็นหนี้ก่อนดังที่อธิบายไปก่อนหน้า ทำ�ให้การ
ปรับวิถีการผลิตมีแนวโน้มขาดทุนจากการมีผลผลิตตกตํ่าในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมักจะใช้เวลาราว 3 ปี เพื่อปรับระบบ
นิเวศใหม่ให้เอื้อต่อการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ ซึ่งการขาดทุนติดต่อกัน 3 ปีเป็นเรื่องที่ยากลำ�บากมากสำ�หรับเกษตรกร
ทั่วไปที่เริ่มต้นปีการเพาะปลูกด้วยการก่อหนี้ ทั้งนี้ แม้จะมีความพยายามจะส่งเสริมการกลับมามีวิถีการผลิตแบบ
ดั้งเดิมที่เน้นการเกษตรแบบอินทรีย์โดยองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคราชการที่ก้าวหน้าแต่ก็เป็นไปอย่างช้า ๆ และ
สำ�เร็จเฉพาะในวงแคบเท่านั้น
นอกจากนั้น ผลกระทบในด้านลบของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่อีกประการคือการที่การพัฒนา
ชนบทยังคงดำ�เนินไปภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม กล่าวคือ เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่สร้างและผลิต
ซํ้าความเหลื่อมลํ้าในการจัดสรรและกระจายโอกาสให้กับคนชนบท เช่น มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรัฐให้
กับเมืองมากกว่าชนบท เช่น ที่ผ่านมามีการพัฒนาระบบชลประทานเพียงร้อยละ 10 ของพื้นที่ทำ�การเกษตรทั้งหมด
และในจำ�นวนพื้นที่ชลประทาน 16 ล้านไร่ มีเพียง 4-5 ล้านไร่เท่านั้นที่สามารถรับนํ้าชลประทานได้ตลอดทั้งปี ทำ�ให้
เกษตรกรยงั ตอ้ งพึง่ การเกษตรนํา้ ฝนเปน็ หลกั อยู่ จะสงั เกตไดจ้ ากการเพิม่ ผลติ ตอ่ ไรข่ องพชื ส�ำ คญั โดยเฉลีย่ มเี พยี ง 0.5
ต่อปี เท่านั้น อีกทั้งการที่รัฐปล่อยให้นายทุนเข้ามากว้านซื้อและยึดครองที่ดิน (Land Grabber) เพื่อเป็นผู้ประกอบ
การลงทุนด้านการเกษตรแทนเกษตรกร มีผลทำ�ให้เกษตรกรประมาณ 500,000 ครัวเรือนกลายเป็นแรงงานรับจ้าง
การเกษตร ซึ่งมีรายได้ตํ่าและไม่แน่นอน
นอกเหนือจากที่กล่าวถึงข้างต้น ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ที่จะมองข้ามไปไม่ได้
เลยคือปัญหาการส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมนอกเมือง ซึ่งทำ�ให้มีการสร้างมลภาวะจากภาคอุตสาหกรรมที่อยู่นอก
เมืองเหล่านั้น โดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศและนํ้า ซึ่งกระทบต่อชุมชนชนบทโดยรอบ ทั้งในแง่ของการกระทบกับ
พชื ผลทางการเกษตร (มสี ารพษิ ตกคา้ ง เชน่ สารตะกัว่ ) และการกระทบตอ่ สขุ ภาวะของคนทีอ่ ยูใ่ นบรเิ วณรอบ ๆ พรอ้ ม
กันนั้น การส่งเสริมการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า การสร้างโรงไฟฟ้า และการขุดเจาะหาพลังงานใต้ดินเพื่อส่งเสริม
ความมั่นคงทางพลังงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของอุตสาหกรรมของประเทศที่ผ่านมาก็ทำ�ให้เกิดการเบียดขับ
และยัดเยียดความเป็นผู้ต้องเสียสละให้คนชนบทตลอดมา ซึ่งเป็นเรื่องของความไม่เป็นธรรมเช่นกัน
ทั้งนี้ สำ�หรับการค้าเสรีและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศก็ไม่ได้ส่งผลในด้านบวกอย่างเดียว หาก
แต่มีผลกระทบด้านลบดว้ ยเช่นกนั ไมว่ ่าจะเป็นการแขง่ ขนั ของเกษตรกรที่เข้มข้นขึ้นจากทีม่ คี ูแ่ ขง่ มากขึ้นดังทีไ่ ดก้ ล่าว
ไปแล้ว โดยพืชหลายชนิดที่เคยเพาะปลูกในประเทศอาจจะต้องเลิกไป เนื่องจากต้นทุนสูงกว่าการผลิตในต่างประเทศ
มาก จนทำ�ให้ราคาแพงกว่า หรือกล่าวอีกนัยคือนำ�เข้าถูกกว่าผลิตเอง ซึ่งจะกระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกรที่คุ้นชินและ
สะสมเทคโนโลยีและภูมิปัญญาในการเพาะปลูกพืชเหล่านั้นมาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกัน การเคลื่อนย้ายแรงงาน
ไร้ฝีมือในประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาก็มีส่วนที่ส่งผลให้แรงงานไร้ฝีมือในชนบทถูกแย่งงานทำ�หรือถูกกดค่าแรงจากที่
แรงงานต่างด้าวราคาถูกกว่า