Page 47 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 47

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-37

       นอกจากนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจเมืองเข้ามาในชนบทยังมีแนวโน้มทำ�ให้เกษตรกรรมในชนบทกลาย
เป็นเพียงฟันเฟืองอันหนึ่งของอุตสาหกรรม และทำ�ให้ชนบทเป็นเพียงเสื้อคลุมของเมืองหรือเส้นใยห่อหุ้มเมือง (Ur-
ban Fabric) โดยการรุกคืบของทุนนิยมนั้นจะทำ�ให้ทุกที่เป็นเมืองหรืออยู่ในระหว่างทาง (pathway) ที่จะเป็นเมือง
(Lefebvre, 2003) ทั้งนี้ เกษตรกรรมแบบลืมตาอ้าปากได้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเมือง เพราะแนวโน้มเกษตรกรรม
ไทยจะพึ่งเทคโนโลยีซึ่งผลิตในเมืองและที่สำ�คัญคือพึ่งผู้บริโภคซึ่งอยู่ในเมือง กล่าวคือ ถ้าไม่มีเมือง ชนบทก็อยู่ไม่ได้
และนี่เป็นเหตุผลที่จีนใช้อธิบายคนในประเทศของเขาว่าทำ�ไมต้องเน้นสร้างเมืองมากขึ้น โดยรัฐบาลจีนให้เหตุผลว่า
เพื่อช่วยคนชนบท เพราะการสร้างเมืองคือการสร้างผู้บริโภคและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต

       มากไปกว่านั้น แนวโน้มอีกประการที่เชื่อมโยงกับที่อธิบายไปข้างต้นคือการเกิดสภาวะเมืองในชนบทและ
ชนบทในเมือง กล่าวคือ การแบ่งชนบทกับเมืองในเชิงกายภาพทำ�ได้น้อยลง ในขณะที่ เกิดสภาวะซ้อนทับของวิถีชีวิต
แบบชนบทและเมือง (Rural and Urban Life) ในพื้นที่เดียวกัน หรือเกิดสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท ซึ่งในอดีตถูกนิยาม
ว่าเป็นเขตชนบทก้าวหน้า (มีรายได้และฐานะความเป็นอยู่ดี/อยู่ใกล้แหล่งชลประทาน) ทว่า ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการเรียก
ที่อยู่บนฐานของอคติที่ว่าความเป็นเมืองคือความก้าวหน้าหรือสิ่งพึงประสงค์ จากการเทียบกับเขตชนบทปานกลาง
และเขตชนบทล้าหลัง ซึ่งมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบสังคมเมืองน้อยกว่า ทั้งนี้ ตัวอย่างลักษณะสำ�คัญของสังคม
กึ่งเมืองกึ่งชนบทคือการเกิดอุตสาหกรรมและย่านพาณิชยกรรมในชนบท และการเกิดการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและ
การเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) ขณะนี้ เริ่มมีปรากฏการณ์ที่สะท้อนภาพดังกล่าวหลายอย่างเกิดขึ้นใน
ประเทศไทย อาทิ คนชนบทเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อไปศึกษาเรื่องการทำ�นา ปลูกผัก ที่สวนจิตรลดาและพิพิธภัณฑ์
เกษตรเฉลิมพระเกียรติ และไปเรียนรู้นวัตกรรมสวนผักคนเมือง เช่น เกษตรดาดฟ้าบนสำ�นักงานเขตหลักสี่ ส่วน
พื้นที่เกษตรในชนบทที่โดดเด่น สามารถเป็นตัวแบบให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ ก็ถูกสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ ซึ่งหลังจาก
มีคนเข้ามาดูมากขึ้นก็เริ่มมีคนมาขายของหรือสร้างกิจกรรมแบบเมืองเกิดขึ้น จนกลายเป็นว่าโมเดลสร้างชนบทกลาย
ไปเป็นเมืองเสียเอง

       จากสภาวการณ์ข้างต้น ได้เกิดมิติและความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับการพัฒนา ซึ่งในการสร้างความยั่งยืนให้กับ
การพัฒนาจำ�เป็นต้องนึกถึงสมดุลของความเป็นชนบทกับความเป็นเมืองมากขึ้น โดยจะต้องปรับฐานคิดใหม่ว่าความ
เป็นชนบทกับความเป็นเมืองไม่ใช่สองนครา แต่เป็นทวิภพคือทับซ้อนอยู่ในที่เดียวกัน หรือกล่าวอีกนัยคือในชนบทมี
ความเป็นเมือง และในเมืองก็มีความเป็นชนบท ทั้งนี้ การที่เมืองกับชนบทแยกกันในเชิงกายภาพได้ยากขึ้นก็มีข้อดีคือ
สภาวะดังกล่าวลดเงื่อนไขความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจสังคมลงได้ เพราะโครงสร้างการแยกเมืองกับชนบทนั่นเองที่
เป็นโครงสร้างความเหลื่อมลํ้า ส่วนความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างสมดุล
ใหม่ กล่าวคือ การออกแบบการพัฒนาพื้นที่ที่อุตสาหกรรม พาณิชย์ ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม และพื้นที่อาหารสามารถ
อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นมิตร เพราะไม่ว่าคนเมืองหรือคนชนบทที่ถูกนิยามขึ้นนี้ก็ต้องการสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อการต้าน
ความเป็นเมืองไม่ได้ผลก็ต้องหันมาคิดว่าจะทำ�อย่างไรให้พื้นที่หนึ่ง ๆ ไม่มีความเหลื่อมลํ้าและเกิดการพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน บนพื้นฐานของความสุข ศีลธรรม และการใส่ใจต่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาพัฒนา รวมถึงทุนทาง
สังคม อาทิ การมีภูมิปัญญาร่วมกัน และความเกื้อกูลกันทางสังคม

       อนึ่ง จากที่อธิบายข้างต้น ไม่ได้หมายความว่าชนบทจะหายไป หากแต่จะเกิดสภาพชนบทในเมือง และ
เมืองในชนบท ซึ่งถ้ามองชนบทว่าเป็นอัตลักษณ์แบบหนึ่ง (ภายใต้วัฒนธรรมที่กดทับ) อัตลักษณ์เหล่านั้นจะไม่หาย
ไปไหน เช่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาบางอย่าง นิสัยใจคอและการปฏิบัติต่อคนอื่น อาทิ คนชนบทหลายคนที่ไปอาศัย
อยู่ในเมืองใหญ่ จะคิดและสนใจไม่เหมือนคนเมืองที่นั่น ความเป็นชนบทที่เหลืออยู่คือภาษา รสนิยมการฟังเพลง
ลกู ทุง่ ฯลฯ นอกจากนัน้ คนชนบทกลุม่ นีม้ กั คดิ ถงึ บา้ นตอนทีม่ าอยูใ่ นเมอื ง แลว้ พอไดก้ ลบั ไปเยีย่ มบา้ นกจ็ ะบน่ วา่ บา้ น
ของเขาไม่เหมือนเดิม นั่นคือ ชนบทได้เปลี่ยนไป ที่เหลืออยู่คือคนชนบทและจินตนาการของคนเมืองและการหวนถึง
ความหลังของคนชนบทที่มาอยู่ในเมือง
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52