Page 48 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 48

6-38 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย

       ประเด็นสุดท้ายและเชื่อมโยงกับข้างต้น การมองหาพื้นที่ทางกายภาพ (Physical Boundary/Space) ของ
เมืองกับชนบทจึงมีแนวโน้มที่จะไม่สำ�คัญในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรมเท่ามองหาพื้นที่ทางสังคม (Social
Space) ซึ่งเป็นพื้นที่ ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยสังคม (Social Construction of Space) โดยมีการปฏิบัติทางสังคม (Social
Practice) ที่ต่างกัน หรือหาทวิภพที่ซ้อนทับกันอยู่ เช่น กรุงเทพฯ ไม่ได้มีแต่พื้นที่ของคนเดินห้าง ตึก ความทันสมัย
หากแต่กรุงเทพฯ ยังมีพื้นที่ทางสังคมแบบชนบท มีคนปลูกผัก มีรถพุ่มพวงหรือรถกับข้าวที่เอาอาหารท้องถิ่นไป
จำ�หน่ายตามตรอกซอกซอยในเมือง มีเสียงเพลงลูกทุ่ง กล่าวคือ พวกเขามีพื้นที่ของตนเองและนั่นคือชนบทที่จะยัง
คงอยู่ โดยรัฐและนักวิชาการคนเมืองมักเรียกพวกเขาว่า “นอกระบบ” (Informal Sector) ซึ่งมีอคติจากการมองว่า
พวกเขาเป็นสิ่งแปลกปลอม ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาชนบทในอนาคต จำ�เป็นต้องเริ่มคิดถึงชนบทในฐานะที่เป็นพื้นที่ทาง
สังคมมากขึ้น ในสภาวะที่พื้นที่ทางกายภาพหดตัวลง เช่น ด้วยการไม่ไปคุกคามและหนุนเสริมให้คนได้มีวิถีชีวิตแบบ
เมืองกับแบบชนบทในแบบที่พวกเขารู้สึกว่าตนมีพื้นที่และมีตัวตนมากขึ้น ผ่านทั้งนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคม

  กจิ กรรม 6.3.2
         1. 	 การคา้ เสรแี ละการสรา้ งความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศสง่ ผลในดา้ นบวกและลบอยา่ งไรตอ่ ประชาชน

  ชนบท	
         2. 	 แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจเมืองเข้ามาในชนบทจะสง่ ผลอยา่ งไรตอ่ การพัฒนาชนบท

  แนวตอบกจิ กรรม 6.3.2
         1. 	 ในด้านบวกคือ ความร่วมมือจะช่วยเพ่ิมอำ�นาจต่อรองในราคาพืชผลทางการเกษตรที่อาเซียนเป็น

  ผผู้ ลติ รายใหญ่ ชว่ ยลดขอ้ จ�ำ กดั ตอ่ กนั ท�ำ ใหเ้ กดิ การแลกเปลย่ี นผลผลติ ทางการเกษตรระหวา่ งกนั และชว่ ยกนั หา
  ตลาดและแบ่งส่วนทางการตลาดกัน ส่วนในด้านลบคือ เกิดการแข่งขันของเกษตรกรท่ีเข้มข้นข้ึนจากท่ีมีคู่แข่ง
  มากขนึ้ อาจต้องยกเลกิ การเพาะปลูกพชื บางชนดิ ไปเน่ืองจากต้นทนุ สงู กวา่ การผลติ ในต่างประเทศมาก เกดิ การ
  เคลอ่ื นย้ายแรงงานไรฝ้ มี อื ในประเทศเพ่อื นบ้านเขา้ มาแยง่ งานแรงงานไร้ฝีมอื ในชนบท

         2. 	 มแี นวโนม้ ท�ำ ใหช้ นบทกลายไปเปน็ เมอื งมากขนึ้ เรอื่ ย ๆ ท�ำ ใหเ้ กษตรกรรมในชนบทกลายเปน็ เพยี ง
  ฟนั เฟอื งอนั หนงึ่ ของอตุ สาหกรรม และทำ�ให้ชนบทเปน็ เพียงเสอ้ื คลุมของเมืองหรอื เสน้ ใยหอ่ ห้มุ เมอื ง นอกจาก
  น้ัน ยังมีแนวโน้มทำ�ให้เกิดสภาวะเมืองในชนบทและชนบทในเมือง กล่าวคือ การแบ่งชนบทกับเมืองในเชิง
  กายภาพท�ำ ไดน้ อ้ ยลง
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52