Page 36 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 36
6-26 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
สำ�หรับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลในภาพรวมสามารถถูกพิจารณาว่าเป็นสภาพแวดล้อมทาง
เศรษฐกิจในระดับประเทศได้เช่นกัน ทั้งนี้ นโยบายโดยรวมมักเป็นนโยบายแบบเอื้อประโยชน์ต่อคนรวย (Pro-rich
policy) เช่น ส่งเสริมการลงทุนด้วยการลดหย่อนภาษีอุตสาหกรรมบางประเภท ทำ�ให้เกิดการเบียดบังความมั่งคั่ง
จากชนบทมาให้เมือง ในขณะที่นโยบายพัฒนาชนบทมักเป็นนโยบายสังคมสงเคราะห์ หรือนโยบายที่ให้ผลประโยชน์
ระยะสั้นภายใต้โครงสร้างความไม่เป็นธรรมที่ไม่ได้ถูกท้าทาย (รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าโดย
รัฐบาลที่นำ�โดยพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทย) นอกจากนั้น ในภาพรวม นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
มักจะมุ่งเน้นภาคเกษตรน้อยกว่านอกภาคเกษตร (ภาคอุตสาหกรรมและบริการ) โดยข้อมูลล่าสุด (รัฐบาลปัจจุบัน)
สะท้อนว่างบประมาณสำ�หรับภาคการเกษตรมีเพียง 0.283 ล้านล้านบาท ในขณะที่ แผนลงทุนนอกภาคเกษตรหรือ
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (Mega-Project) ถูกตั้งไว้กว่า 3 ล้านล้านบาท ดังแสดงในตาราง 6.12 ซึ่งแม้อาจจะมอง
ว่าภาคเกษตรจะได้รับประโยชน์อยู่บ้างในงบลงทุนดังกล่าว แต่ตัวเลขที่ภาคการเกษตรจะได้รับประโยชน์คิดเป็น
เพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้น สำ�หรับร้อยละ 91.4 ที่ตกอยู่กับนอกภาคการเกษตรสามารถคำ�นวณให้เป็นรายได้ต่อหัวของ
ภาคส่วนนี้ได้ถึงคนละประมาณ 70,000 บาท หรอื ประมาณ 7 เท่าของรายได้ภาคการเกษตร (ศูนยป์ ฏิบัติการเศรษฐกิจ
การเกษตร, 2558)
ตารางที่ 6.12 แสดงรายจา่ ยของรัฐบาลเพือ่ ขบั เคล่ือนบริหารประเทศด้านเศรษฐกิจ ปี 2558
สาขา งบประมาณ (ล้านล้านบาท)
ภาคเกษตร 0.283
นอกภาคเกษตร 3.00
รวม 3.283
ท่ีมา: ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร.
อนึ่ง แม้แต่นโยบายส่งเสริมการศึกษาของประเทศก็เน้นการศึกษาในเขตเมืองเป็นหลักและมีส่วนสร้าง
อุปสรรคให้กับการยกระดับคุณภาพชีวิตและโอกาสในการแสวงหารายได้ของคนชนบท กล่าวคือ Kevin Hewison
(2015) ชี้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีเกษตรกรและกรรมกรเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 85 ทว่า ประชากรกลุ่มนี้
เข้าถึงการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเพียงร้อยละ 15.5 เท่านั้นเอง ทั้งนี้ เมื่อผ่านไปราว 20 ปี ตัวเลขดังกล่าวได้ปรับ
ลดลงเป็นร้อยละ 8.8 ซึ่งสะท้อนว่าคนชนบทมีโอกาสน้อยมากในการยกระดับการศึกษาเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพที่ไป
ไกลกว่าการทำ�เกษตรและเป็นแรงงานไร้ฝีมือ
นอกเหนือจากข้างต้น สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ อีกประการหนึ่งคือการให้บริการของ
ภาครัฐ ซึ่งการสำ�รวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนโดยสำ�นักงานสถิติแห่งชาติสะท้อนว่าคนจน (ซึ่งส่วนใหญ่
อยูใ่ นชนบท) เขา้ ถงึ บรกิ ารทีร่ ฐั จดั ใหน้ อ้ ยกวา่ คนไมจ่ นหลายเทา่ เชน่ คนจนเขา้ ถงึ เงนิ สงเคราะหเ์ พือ่ การยงั ชพี ผูส้ งู อายุ
ได้น้อยกว่าคนไม่จนถึง 4 เท่า และพวกเขาเข้าถึงทุนการศึกษาได้น้อยกว่าคนไม่จนมากถึง 10 เท่า ในขณะที่ คนเกือบ
ทั้งหมดที่เข้าถึงเงินกู้เพื่อการศึกษาเป็นคนไม่จน และคนจนที่สามารถเข้าถึงโครงการธนาคารประชาชนเพื่อผู้ประกอบ
อาชีพอิสระรายย่อยและกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีเพียงร้อยละ 2.1 และ 8.8 ตามลำ�ดับ เท่านั้น