Page 27 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 27
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-17
อีกประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตในชนบทที่ต้องพิจารณาคือบทบาทของบรรษัทอาหารขนาดใหญ่ใน
การผกู ขาดและควบคมุ วถิ กี ารผลติ ของคนชนบท กลา่ วคอื เกษตรกรในชนบทตอ้ งพึง่ พงิ ปจั จยั การผลติ เทคโนโลยแี ละ
การตลาดที่บรรษัทเหล่านั้นมีส่วนสำ�คัญในการกำ�หนดกระทั่งเกษตรกรไม่สามารถกำ�หนดชะตาชีวิตทางเศรษฐกิจของ
ตนเองได้ นอกจากนั้น ระบบการผลิตในชนบทยังเชื่อมโยงกับทิศทางนโยบายภาครัฐและเครือข่ายอุปถัมภ์ในท้องถิ่น
ในสว่ นของทศิ ทางนโยบายภาครฐั นัน้ เกีย่ วขอ้ งกบั พชื เศรษฐกจิ ทีร่ ฐั สง่ เสรมิ การรบั จ�ำ น�ำ การประกนั ราคา ฯลฯ ในสว่ น
ของเครือข่ายอุปถัมภ์ในท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับการพึ่งพิงผู้มีอำ�นาจและนายทุนในระดับท้องถิ่น เช่น โรงสี โรงงานรับซื้อ
ผลผลิต ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงรับผลผลิตจากเกษตรกรเท่านั้น หากแต่บางครั้งให้ความอุปถัมภ์ เช่น ให้กู้ยืมนอกระบบและ
อะลุ่มอล่วยหรือยืดหยุ่นหลักเกณฑ์ให้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ
ทั้งนี้ มีแนวคิดในการอธิบายเครือข่ายอุปถัมภ์ดังกล่าวข้างต้นอยู่สองแนวซึ่งสามารถอธิบายสภาพชนบทไทย
ได้ แนวคิดแรกเสนอโดย James Scott (1979) ซึ่งวิเคราะห์ว่าเกษตรกรในชนบทต้องการลดความเสี่ยงและความไม่
แน่นอนด้วยการพึ่งพิงเครือข่ายอุปถัมภ์ดังกล่าวหรือในอีกแง่หนึ่งคือเครือข่ายอุปถัมภ์เป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับพวกเขา
ในการปกป้องคุ้มครองจากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขสำ�คัญที่ว่าเครือข่ายอุปถัมภ์นั้นจะ
ต้องใช้หลักเศรษฐศาสตร์ที่มีคุณธรรม (Moral Economy) กล่าวคือ ไม่ขูดรีด ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีเมตตาต่อ
พวกเขา ในลักษณะเช่นเดียวกันกับคนแข็งแรงดูแลคนที่อ่อนแอกว่า ในทางตรงกันข้าม Samuel Popkin (1979)
เสนออีกแนวคิดหนึ่งที่อธิบายว่าเกษตรกรมีเหตุมีผล (Rational Peasant) พวกเขาตัดสินใจและรับความเสี่ยงทาง
ด้านการลงทุนผลิตและการคาดการณ์ตลาดได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำ�เป็นต้องพึ่งพิงเครือข่ายอุปถัมภ์ หนำ�ซํ้าพวกเขายัง
ต่อตา้ นการกดขี่จากเครอื ขา่ ยอุปถมั ภ์โดยมองว่าเครือขา่ ยดงั กล่าวใหโ้ ทษมากกวา่ ให้คณุ ซึ่งในชนบทไทยก็มีเกษตรกร
ที่คิดเช่นนี้ไม่น้อยเช่นกัน
เมื่อย้อนมาพิจารณาปัญหาหลักของการผลิตในชนบท จะพบว่าการเข้าถึงปัจจัยการผลิตเป็นประเด็นใหญ่
ที่สุด โดยภายหลังจากเกิดการปฏิวัติเขียว (ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับแรกเป็นต้นมา) การทำ�เกษตรในชนบท
เป็นการทำ�เกษตรเชิงพาณิชย์อย่างเต็มที่ ทำ�ให้ต้องการการลงทุน แรงงาน ที่ดิน และเครื่องจักรในการผลิตเพื่อให้ได้
ผลิตผลสูงสุด เมื่อเงินทุนกลายเป็นปัจจัยการผลิตสำ�คัญทำ�ให้เกษตรกรเริ่มต้นจากการก่อหนี้ ซึ่งท่ามกลางความไม่
แน่นอน การแข่งขันที่สูง และความผันผวนของตลาดเกษตรโลก ทำ�ให้พวกเขาไม่มีกำ�ไรหรือแม้แต่ขาดทุนจนไม่มี
เงินมาใช้คืนและต้องตกอยู่ภายใต้วงจรหนี้ดังได้กล่าวถึงไปก่อนหน้า จนท้ายที่สุดต้องเสียปัจจัยการผลิตอีกประเภท
ไปนั่นคือที่ดินจากการถูกยึดหรือขายเพื่อเอามาใช้หนี้ ซึ่งหลังจากนั้นเกษตรกรกลุ่มนี้จะกลายมาเป็นแรงงานรับจ้างทำ�
เกษตรในที่ดินของคนอื่น และกลายมาเป็นกึ่งเกษตรกรกึ่งกรรมกร
นอกจากนั้น ปัญหาของการผลิตในชนบทไทยที่สำ�คัญอีกประการคือ การเผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติ
บ่อยครั้งทั้งจากภัยแล้ง นํ้าท่วม และศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล เพลี้ยแป้งสีชมพูและโรคเขียวเตี้ย เป็นต้น
ประกอบกับการประสบกับปัญหาการเสื่อมคุณภาพของดินจากการใช้สารเคมีเป็นปริมาณมากติดต่อกันหลายปีการ
เพาะปลูกและการปลูกพืชเชิงเดี่ยวซํ้าซาก (ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน) และปัญหาคุณภาพของนํ้าซึ่งปนเปื้อนสารเคมี
เชน่ กนั กระทัง่ ผลผลติ หลายประเภทและจำ�นวนมากไมผ่ า่ นมาตรฐานการตกคา้ งของสารเคมี ซึง่ ท�ำ ใหไ้ มส่ ามารถสง่ ออก
ได้ในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป มีการแบนสินค้าเกษตรไทยประเภทผักและผลไม้หลายรายการใน
ปี 2553 จากที่ตรวจพบสารตกค้างและศัตรูพืชในผัก ซึ่งแยกเป็น 5 กลุ่ม 16 ชนิด ได้แก่ 1) กะเพรา โหระพา แมงลัก
ยี่หร่า 2) พริกหยวก พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู 3) มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือเหลือง มะเขือขาว มะเขือขื่น
4) มะระจีน มะระขี้นก และ 5) ผักชีฝรั่ง (สิรินาฏ พรศิริประทาน, 2553)