Page 23 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 23

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-13

นายทุนและพ่อค้าคนกลางในห่วงโซ่การผลิต รวมถึง ต้องพึ่งพิงกลไกตลาดที่มีความไม่แน่นอนสูง จนทำ�ให้เกิดช่อง
ว่างรายได้ระหว่างทำ�อาชีพเกษตรกรรมกับประกอบอาชีพอื่นราว 6-13 เท่าดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ทั้งนี้ ความไม่เสมอ
ภาคทางด้านรายได้แกว่งไปมา ไม่ได้สะท้อนว่ามีแนวโน้มที่จะลดลง โดยตัวเลขภาพรวม (ดังแสดงในตารางที่ 6.1)
สะท้อนได้ว่าความไม่เสมอภาคระหว่างเมืองกับชนบทนั้นมีมาก

       อนึ่ง เมื่อพิจารณาในด้านช่องว่างของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรระหว่างภาคต่าง ๆ ก็ปรากฏว่าเพิ่มสูง
ขึ้นตามลำ�ดับ เนื่องจากรายได้ของประชากรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่ารายได้ของ
ประชากรในภาคอื่น อาทิ ข้อมูลสำ�รวจระหว่างปี พ.ศ. 2524-2531 สะท้อนว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเขต
กรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10.9 ต่อปี ในขณะที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
มีอัตราเพิ่มของรายได้ประชากรเฉลี่ยเพียงร้อยละ 7.3-8.5 ต่อปี ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑลทิ้งช่วงห่างจากภาคอื่น ๆ มากขึ้น โดยทิ้งช่วงห่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากถึง 8.7 เท่าตัวในปี 2524
และระดับความความแตกต่างของรายได้ในสองภาคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 10 เท่าตัวในปี พ.ศ. 2531 เป็นต้น
(สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2532)

       จากช่องว่างของรายได้ระหว่างเมืองกับชนบทและระหว่างภาคที่ขยายกว้างขึ้นดังเสนอข้างต้น ถูกวิเคราะห์
โดยสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่ามีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
การผลิตของประเทศมาสู่การผลิตทางด้านอุตสาหกรรมและบริการในเขตเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล และฐานการผลิตเหล่านี้ยังไม่กระจายตัวออกไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากเท่าที่ควร จึงทำ�ให้โอกาสทาง
เศรษฐกิจ การจ้างงานและการเพิ่มรายได้ของประชากรในเมืองสูงกว่าประชากรในชนบท

  กิจกรรม 6.1.2
         ยุทธศาสตร์มุ่งเน้นพึ่งพิงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจนในชนบทและ

  ความเหล่ือมลา้ํ ระหวา่ งเมอื งกบั ชนบทอย่างไร

  แนวตอบกิจกรรม 6.1.2
         แนวคิดท่ีว่าเศรษฐกิจมหภาคดีจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมและพาณิชย์ในเมือง จะทำ�ให้เศรษฐกิจ

  จุลภาครวมถึงเศรษฐกิจในชนบทดีตามไปด้วย (Trickle-down effect) เหมือนกับการหยดสีท่ีภายหลังจากหยด
  ลงไปในกระดาษไขแล้ว สกี ็จะแพร่ขยายออกไป ไม่เป็นจริงเสมอไปจากที่สิ่งทีเ่ กดิ ขึ้นคอื การพฒั นาท่ผี ่านมาเป็น
  เหมอื นการจมุ่ ฟองนาํ้ ลงไปในขนั ซง่ึ ฟองนา้ํ กจ็ ะดดู ซบั เอานา้ํ ในขนั เขา้ มาในตวั ฟองนาํ้ กลา่ วคอื ดอกผลของการ
  พัฒนา (รายได้และความม่งั คง่ั ) กระจกุ มากกวา่ ที่จะกระจาย
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28