Page 21 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 21

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาชนบทไทย 6-11

       ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคนจนชนบทกับคนจนในเมือง พบว่ามีสัดส่วนมากกว่าราว 2 เท่าดังแสดงในตารางที่
6.4 โดยความยากจนในชนบทเชื่อมโยงกับปัญหาด้านการเกษตร อาทิ พบสัดส่วนความยากจนในชนบทที่สูงขึ้นใน
ปีที่มีปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นปีที่ราคาพืชผลเกษตรหลักตกตํ่าอย่าง
มาก สัดส่วนประชากรยากจนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.5 อย่างไรก็ดี เมื่อราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในปี พ.ศ.
2531 สัดส่วนประชากรยากจนลดลงเหลือร้อยละ 23.7 ซึ่งแสดงว่าราคาสินค้าเกษตรมีบทบาทสำ�คัญอย่างมากกับการ
เปลยี่ นแปลงภาวะความยากจนของประชากรในชนบท นอกจากนนั้ ความยากจนในชนบทยงั เชอื่ มโยงกบั ความเหลอื่ มลาํ้
ของการพัฒนาเมื่อเทียบกับภาคเมือง กล่าวคือ แม้ในระยะเวลาที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวในอัตราสูง
แต่ช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งระหว่างเมืองกับชนบท ภายในเมืองด้วยกันเอง และระหว่าง
กรุงเทพฯ กับภาคต่าง ๆ มีมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นลักษณะร่วมของประเทศที่กำ�ลังก้าวไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม
ใหม่โดยทั่วไป อีกทั้งความยากจนในชนบทยังเกิดจากการดูดซับมูลค่าส่วนเกิดโดยบรรษัทอาหารขนาดใหญ่ไม่กี่แห่ง
ที่ควบคุมปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิตและตลาดผลผลิตทางการเกษตร เช่น การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ การกำ�กับ
ภายใต้ระบบเกษตรพันธะสัญญา และการครอบครองระบบการค้าสมัยใหม่ (Modern Trade) ทั้งขายปีกและขายส่ง
(กลุ่มติดตามบรรษัท (Corpwatch-Thailand), 2553)

ตารางที่ 6.4 แสดงสัดส่วนคนจนทีอ่ าศัยอยู่ในเมอื งและในชนบท ระหวา่ งปี พ.ศ. 2529-2533
                                                                         หน่วย: ร้อยละ

คนจนเมือง   ปี 2529                                           ปี 2533
คนจนในชนบท   25.3                                              20.5
รวม          52.6                                              39.2
             44.9                                              33.7

ทม่ี า: สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

2. 	ชนบทกบั ปญั หาความเหลอื่ มล้าํ

       การพัฒนาที่ผ่านมาได้สร้างความเหลื่อมลํ้าระหว่างเมืองกับชนบทอย่างมาก โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ
ฉบบั 1-4 ไดส้ รา้ งชอ่ งวา่ งระหวา่ งเมอื งกบั ชนบทจากการสง่ เสรมิ การพฒั นาโครงสรา้ งพืน้ ฐานและความทนั สมยั ในเมอื ง
ในขณะที่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 5 และ 6 พยายามลดช่องว่างดังกล่าวผ่านการกระจายความเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจและสร้างความสมดุลของการพัฒนามากขึ้น โดยมีการมุ่งพัฒนาพื้นที่ชนบทเป้าหมายที่เป็นเขตชนบท
ล้าหลัง เขตชนบทปานกลาง และเขตชนบทก้าวหน้า ส่วนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 7 เป็นต้นมา มุ่งสร้างการมี
ส่วนร่วมของแต่ละพื้นที่ในการกำ�หนดทิศทางการพัฒนาของตนเอง โดยแผน 8 เริ่มให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน รวมไปถึง การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเอง และการให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ทว่า ยากที่จะ
ทลายโครงสร้างความเหลื่อมลํ้าระหว่างเมืองกับชนบทที่พัฒนาขึ้นมาหลายทศวรรษก่อนหน้านั้นลง ดังจะเห็นได้จาก
ตารางที่ 6.5 ที่แสดงให้เห็นว่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคอยู่ที่ราว 0.25-0.53 ซึ่งสะท้อนว่าความเหลื่อมลํ้ามีสูงและ
ถูกผลิตซํ้ามาตลอด ทั้งนี้ Kevin Hewison (2015) เสริมว่าข้อมูลปี 2550 สะท้อนว่าคนเพียงร้อยละ 10 ครอบครอง
มากกว่าร้อยละ 51 ของความมั่งคั่งของประเทศ ในขณะที่ คนอีก 50% ซึ่งอนุมานได้ว่าส่วนใหญ่คือคนชนบทได้รับ
ส่วนแบ่งความมั่งคั่งดังกล่าวเพียงร้อยละ 8.5
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26