Page 16 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 16
6-6 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
ความน�ำ
เมื่อกล่าวถึงชนบทภายใต้การนิยามของรัฐไทยหมายถึงพื้นที่นอกเขตเทศบาล ซึ่งเป็นการแบ่งตามภูมิศาสตร์
ด้านการเมืองการปกครอง แต่ในทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจเมืองและชนบทมีลักษณะที่เชื่อมโยงกันจนยากจะแยก
จากกันได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ แม้พื้นที่ชนบทที่แบ่งตามภูมิศาสตร์การเมืองการปกครอง ดังกล่าวเป็นพื้นที่
เกษตรกรรมเป็นหลัก แต่คนชนบทมีที่มาของรายได้ที่กว้างขวางกว่ารายได้จากเศรษฐกิจบนฐานของการเกษตร จากที่
คนชนบทมลี กั ษณะเปน็ กึง่ เกษตรกรกึง่ กรรมกรมากขึน้ และมแี นวโนม้ ทีเ่ ศรษฐกจิ ชนบทจะพึง่ พงิ รายไดภ้ าคการเกษตร
น้อยลง โดยไปพึ่งพิงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแบบเมืองมากกว่า จากการเคลื่อนย้ายแรงงานไปนอกภาคการเกษตร
และส่งรายได้บางส่วนกลับคืนสู่ชนบท
ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ทางด้านหนี้สินภาคครัวเรือนของชนบทมีความน่าวิตกมากขึ้นเรื่อย ๆ จากที่วิถี
ชีวิตชนบทพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบในอดีตได้น้อยลง หากแต่พึ่งพิงเงินตรามากขึ้น จนทำ�ให้หนี้
สินครัวเรือนในชนบททั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบมีมากขึ้น ควบคู่ไปกับการขยายตัวของปัญหาความยากจนและ
ความเหลื่อมลํ้า โดยเฉพาะเมื่อวิถีการผลิตปรับเปลี่ยนไปสู่การยึดโยงกับเทคโนโลยีการผลิตที่ผูกขาดโดยบรรษัท
อาหารขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งเพื่อทำ�การเกษตรเชิงเดี่ยวที่มุ่งผลิตผลสูงสุดสำ�หรับเลี้ยงคนเมืองและส่งออกต่างประเทศ
นอกจากนั้น ปัญหาดังกล่าวยังเชื่อมโยงกับความไม่เป็นธรรมของการจัดสรรและกระจายทรัพยากรการพัฒนาของ
ประเทศและการที่ราคาผลผลิตขึ้นอยู่กับระบบการตลาดที่พวกเขาควบคุมไม่ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เริ่มปรากฏให้เห็น
แน่ชัดภายหลังจากการปฏิวัติเขียว (Green Revolution) เป็นต้นมา กล่าวคือ ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนา
เศรษฐกิจ ซึ่งมุ่งเน้นการเจริญเติบโต การกระตุ้นการบริโภค การสร้างความทันสมัยให้กับประเทศ และการเป็นผู้ส่ง
ออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก
ในการอธิบายเพื่อให้รายละเอียดกับสถานการณ์ข้างต้น ตอนที่ 6.1 นี้ แยกอธิบายเป็น 4 เรื่อง กล่าวคือ
เรื่องสถานการณ์ทางด้านรายได้และหนี้สินของครัวเรือนชนบท เรื่องสถานการณ์ทางด้านความยากจนและเหลื่อมลํ้า
เรื่องสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจบนฐานของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเรื่องสถานการณ์การผลิตใน
ชนบท ดังมีรายละเอียดตามลำ�ดับดังต่อไปนี้