Page 14 - ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
P. 14
6-4 ปัญหาการพัฒนาชนบทไทย
ตอนที่ 6.1
สถานการณ์ทางดา้ นเศรษฐกจิ ของชนบท
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ประจำ�ตอนที่ 6.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป
หัวเรือ่ ง
6.1.1 สถานการณ์ทางด้านรายได้และหนี้สินของครัวเรือนชนบท
6.1.2 สถานการณ์ทางด้านความยากจนและเหลื่อมลํ้า
6.1.3 สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจบนฐานของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.1.4 สถานการณ์การผลิตในชนบท
แนวคิด
1. ครัวเรือนชนบทพึ่งพิงรายได้จากทั้งภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรจากที่ชาวชนบท
เปลี่ยนแปลงไปเป็นกึ่งเกษตรกรกึ่งกรรมกรมากขึ้นโดยมีแนวโน้มมีหนี้สินอันเป็นผลสืบเนื่องมา
จากการลงทุนด้านการผลิตทางการเกษตรที่ต้นทุนของปัจจัยการผลิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ การที่ผลิตผล
ลดลงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และการที่ราคาผลผลิตทางการ
เกษตรของพืชเศรษฐกิจที่มีการส่งเสริมผันผวน ประกอบกับการที่ชุมชนชนบทกลายเป็นเป้าหมาย
ทางการตลาดของธรุ กจิ สมยั ใหมม่ ากขึน้ เรือ่ ย ๆ จากการอิม่ ตวั ของตลาดผูบ้ รโิ ภคในเมอื ง จนท�ำ ให้
ครัวเรือนชนบทมีค่าใช้จ่ายทางด้านวัตถุและการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น
2. ค วามยากจนในชนบทมีลักษณะเป็นความยากจนเชิงโครงสร้างมากกว่าความยากจนบนฐานของ
ความเกียจคร้านและไม่ดิ้นรนของปัจเจกบุคคล ความยากจนดังกล่าวเชื่อมโยงกับความเหลื่อมลํ้า
ของการพัฒนาเมื่อเทียบกับภาคเมืองและเกิดจากการดูดซับมูลค่าส่วนเกิดโดยบรรษัทอาหาร
ขนาดใหญ่ไม่กี่แห่ง นอกจากนั้น โครงสร้างความเหลื่อมลํ้ายังเกิดขึ้นจากความไม่เป็นธรรมของ
การจัดสรรและกระจายทรัพยากรการพัฒนาของประเทศ และการที่ราคาผลผลิตขึ้นอยู่กับระบบ
การตลาดที่เกษตรกรควบคุมไม่ได้ภายหลังจากการปฏิวัติเขียวเป็นต้นมา
3. คนชนบทมีความสามารถในการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบในอดีตลดน้อย
ถอยลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของทรัพยากรเหล่านั้นจากการขาดกฎเกณฑ์ในการ
บริหารจัดการการใช้ประโยชน์ เช่น ป่าและหนองนํ้าชุมชน พร้อม ๆ ไปกับการแปรผันไปตามการ
เปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศสำ�หรับในอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเบียดบังและแย่งชิงทรัพยากร
ของชุมชนโดยรัฐและทุน
4. ก ารผลิตในภาคชนบทเป็นการทำ�การเกษตรเชิงเดี่ยวที่มุ่งผลิตผลสูงสุดสำ�หรับเลี้ยงคนเมืองและ
ส่งออกต่างประเทศโดยการส่งเสริมจากนโยบายภาครัฐ จนทำ�ให้คนชนบทต้องพึ่งพาการบริโภค
ของคนเมืองและการส่งออก และมีบรรษัทอาหารขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งผูกขาดและควบคุมวิถีการ
ผลิตของคนชนบทที่ต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีและการตลาดที่พวกเขามีส่วนสำ�คัญใน
การกำ�หนดกระทั่งเกษตรกรในชนบทไม่สามารถกำ�หนดชะตาชีวติ ทางเศรษฐกิจของตนเองได้ ทัง้ นี้