Page 24 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 24
5-14 การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
1.1.2 ความตรงเชิงโครงสร้าง (structure validity) เป็นการพิจารณาความตรงของเครื่องมือที่ใช้วัด
พฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อคำ�ถามกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด เช่น ต้องการ
วัดความพึงพอใจต่อการใช้บริการสารสนเทศขององค์การสารสนเทศ หากผู้วิจัยยึดทฤษฎีการวัดความพึงพอใจโดย
ใช้ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบิร์ก (Herzberg’s Two-factors Theory of Motivation) ซึ่งมี 2 ปัจจัยคือ ปัจจัย
อนามัย (hygiene factor) และปัจจัยจูงใจ (motivational factor) โดยที่ปัจจัยอนามัยนั้นยังมีองค์ประกอบย่อย
7 องค์ประกอบ คือ เงินเดือน นโยบายขององค์กร ผลประโยชน์พิเศษ สภาพแวดล้อมในการทำ�งาน สถานภาพของ
ตำ�แหน่ง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และความมั่นคงในตำ�แหน่งงาน ปัจจัยจูงใจมีอีก 5 องค์ประกอบย่อยคือ
การได้รับการยอมรับนับถือ ความรู้สึกในความสำ�เร็จของการปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าในงาน ความรับผิดชอบ และ
ความท้าทายของงาน เนื้อหาในเครื่องมือจะต้องมีการวัดให้ครอบคลุมสาระสำ�คัญของทฤษฎีการจูงใจทุกด้าน ทุกองค์
ประกอบย่อย จึงจะเรียกว่าเครื่องมือมีความตรงเชิงโครงสร้าง
1.2 มีความเท่ียง (reliability) คือคุณลักษณะของเครื่องมือที่ให้ผลการวัดที่แน่นอน สมํ่าเสมอ คงที่ เช่น
เครื่องชั่งนํ้าหนัก เมื่อชั่งข้าวสารถุงที่หนัก 5 กิโลกรัม ในตอนเช้า เครื่องชั่งรายงานออกมาเป็น 5 กิโลกรัม นำ�ไปชั่ง
ข้าวเหนียวถุงที่หนัก 5 กิโลกรัม ในตอนเช้า เครื่องชั่งก็รายงานออกมาเป็น 5 กิโลกรัม นำ�ข้าวสารหรือข้าวเหนียวถุง
เดิมมาชั่งในตอนเย็น เครื่องชั่งก็รายงานออกมาเป็น 5 กิโลกรัม เช่นเดิม แสดงว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยง
ถ้าเป็นเครื่องมือการวิจัย เช่น แบบทดสอบการรู้สารสนเทศสำ�หรับนักศึกษาปริญญาตรี เมื่อนำ�ไปทดสอบ
กับนักศึกษากลุ่มหนึ่ง นำ�ผลการตอบของนักศึกษาแต่ละคนเก็บไว้ ทิ้งระยะเวลาไปอีกสัก 3 เดือน นำ�แบบทดสอบชุด
เดิมมาให้นักศึกษากลุ่มนั้นทำ�ใหม่อีกครั้ง หากผลการตอบ ค่าเฉลี่ยคะแนนยังใกล้เคียงค่าเดิม คะแนนของนักศึกษา
ที่เคยทำ�ได้สูง ในครั้งที่ 2 คะแนนของนักศึกษาคนนั้นก็ยังคงสูงเช่นเดิม คนที่ได้คะแนนตํ่าครั้งแรก ครั้งที่สองก็ได้
คะแนนตํ่า แสดงว่าแบบทดสอบชุดนั้นมีความเที่ยงสูง ถ้าเป็นแบบสอบถามหรือแบบวัดเจตคติ เช่น แบบวัดเจตคติ
ต่อวิชาชีพสารสนเทศศาสตร์ของนักศึกษาสาขาสารสนเทศศาสตร์ หากนำ�ไปวัดกับนักศึกษาสาขานี้ของมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช กับนำ�ไปวัดกับนักศึกษาสาขานี้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผลคะแนนที่ได้หากมีความใกล้เคียงกัน
แสดงว่าแบบวัดนั้นมีความเที่ยงสูง
1.3 มีความเป็นปรนัย (objectivity) คือคุณลักษณะของเครื่องมือที่ 1) ผู้ตอบทุกคนอ่านคำ�ถามแต่ละข้อ
แล้วมีความเข้าใจตรงกันว่าข้อคำ�ถามนั้นถามอะไร มีการใช้ภาษาชัดเจนแจ่มแจ้ง ไม่ถามหลายประเด็นให้ผู้ตอบสับสน
2) เมื่อนำ�มาตรวจให้คะแนน ไม่ว่าจะให้ใครเป็นผู้ตรวจคะแนนที่ได้จะตรงกัน และ 3) มีความชัดเจนในการแปลความ
หมายของคะแนนที่ได้ตรงกันว่าหมายถึงอะไร อยู่ในระดับใด
1.4 ลักษณะท่ดี อี น่ื ๆ ทค่ี วรพจิ ารณา
1.4.1 เครื่องมือการวิจัยต้องง่ายต่อการใช้ เครื่องมือการวิจัยที่ดีต้องนำ�ไปใช้เก็บข้อมูลได้สะดวก มี
ความง่ายต่อการอ่าน ง่ายต่อการตอบสนอง ถ้าเป็นแบบสอบถาม คำ�สั่งต้องชัดเจน ข้อคำ�ถามเป็นภาษาที่ง่าย น่าสนใจ
สื่อสารกับผู้ตอบได้ตรงประเด็น ผู้ตอบสามารถตอบได้รวดเร็วไม่เป็นภาระมาก เช่น มีคำ�ตอบเป็นตัวเลือกให้เลือก ให้
ตอบโดยการทำ�เครื่องหมาย ✓ ลงในพื้นที่ที่กำ�หนด
1.4.2 เครื่องมือการวิจัยต้องไม่มีความยาวมากเกินไปที่ผู้ตอบต้องเสียเวลาเกินจ�ำ เป็น มิฉะนั้นผู้ตอบ
จะเกิดความเบื่อหน่าย ทำ�ให้ไม่ตั้งใจตอบ ข้อมูลที่ได้จะคลาดเคลื่อน
1.4.3 นำ�เครื่องมือไปเก็บข้อมูลแล้ว เมื่อนำ�กลับมาเพื่อวิเคราะห์ต้องง่ายต่อการดำ�เนินการ
1.4.4 ราคาไม่สูงเกินไป การลงทุนจัดทำ�เครื่องมือการวิจัยต้องไม่ใช้เงินมากจนเกินไปและไม่คุ้มกับ
ผลที่ได้