Page 26 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 26
5-16 การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
2) นิยามศัพท์เฉพาะ กรณีที่มีคำ�ศัพท์ที่เกรงว่าผู้ตอบจะไม่เข้าใจว่าคำ�ศัพท์นั้นในบริบทของ
การวิจัยครั้งนั้นหมายถึงอะไร ควรต้องนำ�นิยามศัพท์มากล่าวไว้ในส่วนนำ�ด้วย
2.4.2 ส่วนเน้ือหา ประกอบด้วย
1) เครื่องมือการวิจัยตอนที่ 1 ประกอบด้วย คำ�ชี้แจงในการตอบ ข้อคำ�ถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วน
ตัวของผู้ตอบ วิธีการตอบคำ�ถามส่วนนี้ส่วนใหญ่เป็นแบบเลือกตอบ โดยผู้วิจัยจะออกแบบให้ผู้ตอบตอบได้สะดวก
ที่สุด สำ�หรับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบจะถามอะไรบ้างนั้น ถ้าการวิจัยนั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับตัวแปรต้นด้วย ข้อมูล
ส่วนนี้จะต้องถามอย่างน้อยคือข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรต้นที่จะศึกษานั้น แต่อาจถามข้อมูลอื่นเพิ่มเติมได้ หากเห็นว่า
ข้อมูลที่ถามเพิ่มจะเป็นประโยชน์ในการอภิปรายผลต่อไป
2) เคร่อื งมือการวจิ ยั ตอนที่ 2 ประกอบด้วย คำ�ชี้แจงในการตอบ ข้อคำ�ถามที่เป็นประเด็นสำ�คัญ
ในการวิจัยครั้งนั้น ถ้าเป็นแบบสอบถามส่วนใหญ่การตอบจะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (หรือมากกว่า) ถ้า
เป็นแบบทดสอบจะเป็นข้อคำ�ถามและตัวเลือกให้ตอบ 4-5 ตัวเลือก ในส่วนนี้อาจมีส่วนย่อยเพิ่มอีกหากการวิจัยนั้น
ศึกษาหลายประเด็น เช่น ศึกษานิสัยรักการอ่านและเจตคติต่อการอ่าน แบบสอบถามส่วนนี้จะมีข้อคำ�ถามที่เป็นแบบ
วัดนิสัยรักการอ่าน 1 ส่วน และแบบวัดเจตคติต่อการอ่านอีก 1 ส่วน
2.4.3 ส่วนท้าย เครื่องมือการวิจัยบางฉบับผู้วิจัยต้องการให้ผู้ตอบมีการตอบอย่างอิสระต่อประเด็น
ปัญหาวจิ ัยนัน้ โดยทีข่ ้อค�ำ ถามในสว่ นเนือ้ ตอนที่ 2 ยังไม่ไดม้ ีการถาม จึงมสี ่วนนี้เพิม่ เติม เรยี กวา่ แบบสอบถามปลาย
เปิด
2.5 ตรวจสอบข้อคำ�ถามท้ังหมดว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยท่ีต้ังไว้หรือไม่ ยังมีส่วนใด
ไม่ครบถ้วน ต้องสร้างเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
3. การสร้างเครื่องมือการวจิ ัยแตล่ ะประเภท
3.1 การสร้างแบบสอบถาม ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เป็นทฤษฎี หลักวิชาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัย
และศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อก�ำ หนดกรอบแนวคิดในการวิจัยให้ชัดเจน ต่อจากนั้นควรนิยามศัพท์เฉพาะซึ่งควร
เป็นนิยามปฏิบัติการ คือบอกว่าคำ�นั้นมีความหมายอย่างไร จะวัดออกมาโดยใช้เครื่องมืออะไร มีลักษณะอย่างไร และ
ดำ�เนินการสร้างข้อคำ�ถามให้เป็นไปตามนิยามศัพท์เฉพาะนั้น
ตัวอย่างแบบสอบถามจากงานวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักสารสนเทศในองค์การ
สารสนเทศสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร”
ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ ดังนี้
1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักสารสนเทศในองค์การสารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร
2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักสารสนเทศในองค์การสารสนเทศ สถาบัน
อุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครจำ�แนกตามตัวแปร วุฒิการศึกษา ประเภทของงาน และประสบการณ์ในการ
ทำ�งาน
ผู้วิจัยดำ�เนินการสร้างเครื่องมือวิจัย ดังนี้
1) ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ทำ�ให้นักสารสนเทศเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานจากทฤษฎีสองปัจจัยของ
เฮอร์ซเบิร์ก ได้ปัจจัยที่เหมาะสมในการนำ�มาใช้ถามความรู้สึกหรือเจตคติของนักสารสนเทศในองค์การสารสนเทศ
สถาบนั อดุ มศกึ ษาของรฐั ในเขตกรงุ เทพมหานคร คอื ปจั จยั จงู ใจและปจั จยั คํา้ จนุ ซึง่ ในแตล่ ะปจั จยั ยงั แบง่ องคป์ ระกอบ
ย่อย ดังนี้ (1) ปัจจัยจูงใจ ครอบคลุมเรื่อง ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ ความสำ�เร็จของงาน การได้รับความยอมรับ