Page 25 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 25

เครื่องมือการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย 5-15

2. 	ขัน้ ตอนการสรา้ งเครื่องมือการวิจยั

       การสรา้ งเครอ่ื งมอื การวจิ ยั เปน็ ขน้ั ตอนส�ำ คญั เพราะผวู้ จิ ยั ตอ้ งใชค้ วามรคู้ วามสามารถทกุ ดา้ นในการด�ำ เนนิ การ	
เช่น ความรู้เชิงวิชาการ ความรู้ทฤษฎีทางสารสนเทศศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการวิจัย ความ
รู้ทางศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่ประเด็นการวิจัยนั้นได้กล่าวถึง เช่น งานวิจัย เรื่อง “สัมพันธภาพและกฎเกณฑ์ทางสังคม:
การใช้เครือข่ายสังคมและการเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ของวัยรุ่น” ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการ
สื่อสารและคอมพิวเตอร์เป็นความรู้ทางสารสนเทศศาสตร์ แต่ความรู้เรื่องสัมพันธภาพทางสังคมและเครือข่ายสังคม
เป็นความรู้ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจนในระดับหนึ่ง จึงจะ
ดำ�เนินการวิจัยได้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือ

       นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังต้องมีความรู้ในวิธีการสร้างเครื่องมือการวิจัยแบบต่างๆ และเลือกว่าในการวิจัยครั้งนั้น
จะเลือกใช้เครื่องมือใดจึงจะเหมาะสมที่สุด และยังต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาที่จะใช้ในเครื่องมือการวิจัยว่าควร
ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ตอบอย่างไร จึงจะเป็นการสื่อสารให้ผู้ตอบได้เข้าใจดีที่สุด เช่น งานวิจัยเรื่อง “การใช้สารสนเทศ
ของผู้เล้ียงสุกร ในจังหวัดนครปฐม” แบบสอบถามควรหลีกเลี่ยงคำ�ว่า “สารสนเทศ” เพราะคำ�นี้อาจไม่เป็นที่เข้าใจ
ของคนโดยทั่วไป แต่ถ้าใช้คำ�ว่า ข้อมูล ความรู้ แทน จะช่วยให้ผู้เลี้ยงสุกรอ่านแบบสอบถามแล้วเข้าใจตรงกันเป็นส่วน
ใหญ่ เพราะเป็นคำ�สามัญ คำ�ตอบที่ได้จึงมาจากความเข้าใจแนวเดียวกัน จึงมีความน่าเชื่อถือ หรือการวิจัยเรื่อง “นิสัย
รักการอ่านของเยาวชนชาวเขาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน” ในแบบวัดนิสัยรักการอ่านที่เป็นหัวข้อสำ�คัญ ไม่ควรใช้คำ�ว่า
“นสิ ยั รกั การอา่ น” เพราะเยาวชนที่อ่านพบในแบบวัด เมื่อรู้ว่าเป็นการวัดนิสัยรักการอ่าน อาจคิดว่าหากตนตอบในทาง
ที่เป็นทางลบ หรือตอบในช่องที่ปฏิบัติน้อยๆ จะทำ�ให้เป็นคนมีนิสัยรักการอ่านน้อย ไม่เป็นผลดีต่อตนเอง จึงเลือก
ตอบข้อที่เป็นข้อความทางบวก หรือข้อที่ให้เลือกในระดับมากๆ เข้าไว้ ดังนั้น จึงควรใช้คำ�กลางๆ ในแบบวัด เช่น
แบบสอบถาม “เกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่าน” ซึ่งเป็นคำ�ที่นักเรียนอ่านแล้วไม่รู้สึกว่าถูกวัดในทางที่ดีหรือไม่ดี จึงตอบ
โดยไม่กังวลต่อผลที่เกิดขึ้นมาก คำ�ตอบจึงเป็นความจริงใจมากขึ้น

       ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือการวิจัยโดยทั่วไปมีดังนี้
       2.1 	ผู้วิจัยต้องพิจารณาว่างานวิจัยท่ีจะดำ�เนินการน้ันจะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็น
แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูล หรือแบบทดสอบ
       2.2 	ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับประเด็นที่จะวิจัย เช่น งานวิจัยเรื่อง “การรู้
สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” ผู้วิจัยต้องศึกษา 1) ทฤษฎีการรู้สารสนเทศ
ว่าเป็นอย่างไร มีโมเดลการรู้สารสนเทศที่บุคคลหรือหน่วยงานได้กำ�หนดไว้อะไรบ้าง มีโมเดลใดที่จะเหมาะสมกับ	
การวิจัยในครั้งนั้น เมื่อเลือกโมเดลได้แล้วต้องศึกษาอย่างละเอียดว่าโมเดลดังกล่าวกำ�หนดมาตรฐานไว้อย่างไรบ้าง	
มีตัวดรรชนีชี้วัดอะไรบ้าง 2) เมื่อได้โมเดลชัดเจนแล้วต้องพิจารณาต่อไปว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการวัดการรู้
สารสนเทศ ซึง่ เครือ่ งมอื ทีเ่ หมาะสมคอื แบบทดสอบ 3) นยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะคำ�วา่ “การรสู้ ารสนเทศ” ใหช้ ดั เจนวา่ คอื อะไร
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจะศึกษามาตรฐานใดบ้าง (บางมาตรฐานอาจไม่สามารถวัดได้ด้วยแบบทดสอบ) ครอบคลุมตัว
ชี้วัดอะไรบ้าง นิยามนี้จะนำ�ไปสู่การสร้างเครื่องมือวิจัย คือการออกข้อสอบให้เป็นไปตามนิยามศัพท์เฉพาะนี้
       2.3 	ศกึ ษาวา่ มผี ใู้ ดเคยวจิ ยั เรอ่ื งนแี้ ละใชโ้ มเดลทไ่ี ดเ้ ลอื กไวบ้ า้ ง หากมีให้นำ�มาศึกษาว่ามีแนวการออกข้อสอบ
อย่างไร นำ�แนวข้อสอบมาปรับให้เข้ากับบริบทของกลุ่มตัวอย่างที่จะวิจัย
       2.4 	สร้างเครอื่ งมือการวจิ ัยใหม้ ีสว่ นต่างๆ ครบถ้วน เครื่องมือการวิจัยจะมีส่วนประกอบ ดังนี้

            2.4.1 ส่วนนำ� ประกอบด้วย
                1) 	จดหมายน�ำ จากผวู้ จิ ยั ถงึ ผตู้ อบ เปน็ การแนะนำ�ตวั ผูว้ จิ ยั ชีแ้ จงวตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั ค�ำ ขอ

ความร่วมมือจากผู้ตอบ คำ�ขอบคุณจากการที่ได้รับความร่วมมือในการตอบ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30