Page 34 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 34

11-24 ประวตั ศิ าสตรไ์ ทย

เร่ืองท่ี 11.2.1
สภาพเศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2

       ภายหลังสงครามโลกคร้ังที่ 2 ยุติลง รัฐบาลมีภารกิจท่ีต้องด�ำเนินนโยบายเพ่ือการแก้ไขปัญหา
เศรษฐกจิ ภายหลงั สงคราม ทง้ั เรอ่ื งการสรา้ งเสถยี รภาพทางการเงนิ คา่ ครองชพี ของประชาชน ในระยะแรก
การบรหิ ารประเทศภายใตร้ ฐั บาลพลเรอื นไมม่ เี สถยี รภาพมากนกั และนำ� ไปสกู่ ารรฐั ประหารโดยคณะ-ทหาร
ใน พ.ศ. 2490 และจอมพล ป.พบิ ูลสงคราม ไดก้ ลบั เข้ามาด�ำรงต�ำแหนง่ นายกรัฐมนตรีอีกคร้งั ตงั้ แต่ พ.ศ.
2491-2500 รัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยมโดยรัฐ” ที่ยังเน้น
บทบาทของรัฐในการควบคุมระบบเศรษฐกิจสืบเน่ืองจากนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจในช่วงก่อน
สงครามโลกครงั้ ที่ 2

ปัญหาเงินเฟ้อและเงินทุนส�ำรองระหว่างประเทศของไทย

       ปัญหาเงินเฟ้อเป็นผลสืบเนื่องตั้งแต่ในสมัยสงคราม กล่าวคือ ญ่ีปุ่นก�ำหนดให้รัฐบาลไทยปรับ
อตั ราแลกเปลีย่ นระหวา่ งเงินเยนญป่ี ่นุ กับบาทไทย จากเดิม 100 บาท เทา่ กบั 155.70 เยน มาเป็น 100
บาท เท่ากับ 100 เยน และยังกดดันจะไทยให้เปล่ียนมาตรฐานการเงินอิงกับมาตราฐานเงินเยนและ
ทุนส�ำรองเงินตราส�ำรองไว้ท่ีธนาคารญ่ีปุ่น42 เมื่อญ่ีปุ่นแพ้สงครามส่งผลให้ดุลเงินเยนของไทยไร้ค่าและ
ปริมาณเงินหมุนเวียนไม่มีอะไรหนุนหลังยกเว้นทองและโลหะเงินจ�ำนวนเล็กน้อยในประเทศกับทองค�ำ 
157,000 ออนซ์ในธนาคารแหง่ รฐั นวิ ยอรก์ ใน พ.ศ. 2489 อังกฤษยอมปลอ่ ยเงิน 1 ลา้ นปอนด์ซงึ่ เปน็ เงิน
สำ� รองกอ่ นสงคราม แตส่ ว่ นทเ่ี หลอื ยงั คงถกู ยดึ ไวใ้ นองั กฤษถอื เปน็ ดอกเบยี้ และเงนิ ตน้ ของเงนิ กขู้ องรฐั บาล
ไทย เงนิ คา่ ชดเชยแกเ่ จา้ หนา้ ทข่ี ององั กฤษในรฐั บาลไทย และคา่ เรยี กรอ้ งจากสมั พนั ธมติ ร (เงนิ ทนุ สำ� รอง
ในเดือนธนั วาคม พ.ศ. 2484 มีจ�ำนวน 13 ลา้ นปอนด)์ 43

       จากปญั หาขา้ งตน้ เมอ่ื ไทยตอ้ งเผชญิ กบั ภาระการฟน้ื ฟกู ารเงนิ ของประเทศเพอื่ ใหก้ ลบั เขา้ สภู่ าวะ
ปกติแต่ไทยไม่มีเงินตราต่างประเทศส�ำรองเพียงพอ ขณะเดียวกันมีความต้องการอย่างมากต่อสินค้าเพ่ือ
การบรโิ ภคจากต่างประเทศและมปี ริมาณเงินมากมายในกระแสหมนุ เวยี น ดงั นั้น ทางออกทด่ี ที ี่สดุ คอื การ
ทำ� ใหก้ ารสง่ ออกฟน้ื ตวั อยา่ งรวดเรว็ แตท่ างปฏบิ ตั แิ ละสถานการณข์ ณะนน้ั การฟน้ื ตวั ของการสง่ ออกจำ� เปน็
ต้องใช้เวลา ในระยะแรกชว่ งหลังสงคราม การท่ีไทยต้องส่งข้าวโดยไม่คิดมลู คา่ ถือเป็นอปุ สรรคสำ� คญั ของ
การฟนื้ ฟูการส่งออกข้าว กระทัง่ เมอ่ื การส่งมอบขา้ วยตุ ิช่วงปลาย พ.ศ. 2490 การสง่ ออกจงึ เร่ิมฟ้นื ตวั ใน

         42 อดศิ ร หมวกพมิ าย และปิยฉตั ร สนิ ธสุ อาด. (2547). “สภาพเศรษฐกจิ ไทย ช่วง พ.ศ. 2389–2500.” ใน เอกสาร
การสอนชุดวชิ าประวัติศาสตรไ์ ทย. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช. น. 38.	

         43 เจมส์ ซี อินแกรม. (2552). การเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทย 1850-1970. ชูศรี มณีพฤกษ์ และ
เฉลิมพจน์ เอย่ี มกมลา (ผแู้ ปล). กรุงเทพฯ: มูลนธิ โิ ครงการตำ� ราสังคมศาสตร์และมนษุ ยศาสตร.์ น. 244-245.
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39