Page 30 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 30

11-20 ประวตั ิศาสตร์ไทย
       8) พระราชบัญญตั กิ ารประมง พ.ศ. 2482 สงวนสิทธใ์ิ นการจับปลาในเขตนา่ นนำ�้ ไทยไวใ้ ห้แกผ่ ู้ท่ี

มสี ัญชาตเิ ป็นไทยโดยเฉพาะเท่าน้นั
       9) พระราชบญั ญตั นิ ำ้� มนั เชอ้ื เพลงิ เปน็ พระราชบญั ญตั ทิ มี่ งุ่ ใหร้ ฐั บาลเขา้ ควบคมุ วธิ แี ละตลาดของ

น้�ำมันแกซ๊ โซลินและท�ำนำ้� มนั หลอ่ ลน่ื ตา่ งๆ
       จะเห็นได้ว่า เป้าหมายที่ส�ำคัญของนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ คือ การขจัดอิทธิพลทาง

เศรษฐกจิ ของตา่ งชาตแิ ละสนบั สนนุ ผปู้ ระกอบการทเี่ ปน็ คนไทย นอกจากนี้ คณะราษฎรในฐานะกลมุ่ ผนู้ ำ� ใหม่
ที่ข้ึนมามีอ�ำนาจในการบริหารประเทศต้องการสร้างฐานอ�ำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มตน ประกอบกับ
อทิ ธพิ ลความคดิ เรอื่ งชาตนิ ยิ มจากชาตติ ะวนั ตก ทำ� ใหช้ ว่ งเวลาดงั กลา่ วเกดิ นโยบายชาตนิ ยิ มทเ่ี รยี กกนั วา่
“ทุนนิยมโดยรัฐ” โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมส�ำคัญ แต่ยังคงอนุญาตให้
เอกชนประกอบธุรกิจหรืออาชีพอิสระได้ด้วย ตามนโยบายของคณะราษฎร แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1) รัฐวิสาหกจิ และบรษิ ทั กึง่ ราชการ 2) การถือหุ้นบรษิ ทั โดยสมาชิกคณะราษฎรหรอื วิสาหกจิ ส่วนตวั ของ
สมาชกิ คณะราษฎร และ 3) การอุปถมั ภบ์ รษิ ัทตา่ งๆ ของสมาชกิ คณะราษฎร มรี ายละเอียด ดงั น้ี39

       - 	 รัฐวิสาหกิจและบริษัทกึ่งราชการ รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กิจการของบริษัทอยู่ภายใต้
การบรหิ ารงานของขา้ ราชการทมี่ าจากคณะราษฎรหรอื บคุ คลใกลช้ ดิ ของคณะรฐั บาล ซงึ่ รปู แบบรฐั วสิ าหกจิ
และบริษัทกึง่ ราชการมีทัง้ กจิ การในภาคการเงนิ อตุ สาหกรรม ประกนั ภัย การเดินเรือ และพาณชิ ยกรรม
รัฐบาลจะถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้เกินกว่าร้อยละ 51 (ยกเว้นบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัยและบริษัทพืช
กสิกรรมท่ีรัฐบาลถือหุ้นร้อยละ 41 และร้อยละ 47 ตามล�ำดับ) โดยก�ำไรจากการด�ำเนินงานของกิจการ
จะถกู กระจายในรปู เงนิ เดอื น เบยี้ ประชมุ เงนิ โบนสั และเงนิ ปนั ผล เชน่ บรษิ ทั ขา้ วไทย จำ� กดั (พ.ศ. 2481)
บริษทั ค้าพชื ผลไทย จำ� กดั (พ.ศ. 2482) บริษัท ประมงไทย จำ� กัด (พ.ศ. 2483) บรษิ ทั เดนิ เรอื ไทย
จ�ำกัด (พ.ศ. 2483) บริษัท ค้าพืชผลเหนือ จ�ำกัด (พ.ศ. 2484) ธนาคารมณฑล จ�ำกัด (พ.ศ. 2484)
บริษทั ไทยเศรษฐกจิ ประกันภยั จำ� กัด (พ.ศ. 2485) บริษัท พืชกสกิ รรม จ�ำกดั (พ.ศ. 2486) เปน็ ตน้

       - 	 การถือหุ้นบริษัทโดยสมาชิกคณะราษฎรหรือวิสาหกิจส่วนตัวของสมาชิกคณะราษฎร เปน็
วสิ าหกจิ ของคณะราษฎรโดยตรง คณะราษฎรเขา้ ถอื หนุ้ รายใหญใ่ นบรษิ ทั ถอื เปน็ ฐานอำ� นาจทางเศรษฐกจิ
ท่ีส�ำคัญ เช่น บริษัท ไทยนิยมพาณิชย์ จ�ำกัด (พ.ศ. 2482) บริษัท ไทยนิยมประกันภัย (พ.ศ. 2483)
ธนาคารนครหลวงแหง่ ประเทศไทย จำ� กดั (พ.ศ. 2484) บรษิ ัท ไทยนยิ มผา่ นฟา้ จำ� กัด บริษทั ไทยนิยม
บางรัก จ�ำกัด บริษัท เกษตรนิยมผ่านศึก จ�ำกัด เป็นต้น กิจการในรูปแบบน้ีส่วนใหญ่เน้นทางด้าน
พาณิชยกรรม และเพ่ือตอบสนองนโยบายชาตินิยมของคณะราษฎรท่ีส่งเสริมการค้าภายในประเทศ
เปลี่ยนจากชาวต่างชาติมาเป็นชาวไทย ฝึกฝนให้คนไทยเกิดความช�ำนาญทางการค้าและเผยแพร่สินค้า
พื้นเมอื งโดยไมผ่ ่านพ่อค้าคนกลาง เชน่ การก่อตัง้ บรษิ ทั พาณชิ ย์จงั หวัดขน้ึ ในจงั หวดั ตา่ งๆ ท่วั ประเทศ

       - 	 การอุปถัมภ์บริษัทต่าง ๆ ของสมาชิกคณะราษฎร เป็นการพึ่งพิงหรืออาศัยผู้ปกครองท่ีมี
อ�ำนาจมาอุปถมั ภใ์ นธรุ กิจการคา้ ซงึ่ มที ้ังการลงทนุ ของสมาชกิ คณะราษฎรกบั ผปู้ ระกอบการชาวจีน หรอื
มีพ่อค้าจีนบางคนเชิญสมาชิกคณะราษฎรมาเป็นประธานหรือกรรมการของบริษัท โดยบรรดาข้าราชการ

         39 สงั ศิต พริ ิยะรงั สรรค.์ (2526). ทนุ นยิ มขุนนางไทย (พ.ศ. 2475-2500). กรุงเทพฯ: สถาบนั วิจัยสังคม. น. 78-167.
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35